top of page
คัมภีร์บำรุงก่อนไปทำ IUI, IVF, ICSI (เด็กหลอดแก้ว)

โดย ครูก้อย ผู้ก่อตั้ง BabyAndMom.co.th

ไขข้อข้องใจ_IUI,_IVF,_ICSI.jpg
เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์_เหมาะกับใคร.png
6_สิ่งที่ควรเตรียมตัวเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำ_IUI.jpg
13_อาหารที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพไข่.jpg

การรักษาภาวะมีบุตรยากโดยวิธีการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI)

คือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรงโดยใช้ท่อพลาสติกเล็ก ๆ สอดผ่านปากมดลูกแล้วฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในช่วงที่ใกล้กับเวลาไข่ตก วิธีนี้จะมีการเตรียมน้ำอสุจิ โดยคัดเอาเฉพาะตัวอสุจิที่ยังมีชีวิตและเคลื่อนที่ได้ดีแล้วนำไปฉีดในโพรงมดลูก โดยที่ตัวอสุจิไม่ต้องว่ายผ่านปากมดลูก ทำให้มีตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวจำนวนมาก เข้าไปในโพรงมดลูก และพร้อมที่จะผสมกับไข่ ดังนั้นการทำ IUI (Intrauterine insemination) จึงมักทำกับคู่สมรสที่หาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากไม่พบ ฝ่ายชายที่มีเชื้ออสุจิต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่งอสุจิในช่องคลอด หรือฝ่ายหญิงที่มีปัญหาเรื่องภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) มีปัญหาเรื่องการตกไข่ เป็นต้น ยกเว้นในกรณีมีการอุดตันของปีกมดลูกทั้งสองข้างหรือเชื้ออสุจิมีคุณภาพต่ำมาก

อัตราการประสบความสำเร็จของการทำ IUI

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักดังนี้

  1. อายุของฝ่ายหญิง

  2. จำนวนไข่ที่สมบูรณ์พอที่จะทำให้เกิดการปฏิสนธิได้

  3. ความเข้มข้นของจำนวนและความแข็งแรงของอสุจิที่ใช้ฉีด

  4. ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่ฉีดเชื้อ

การทำ ICSI (Intracytoplasmic sperminjection)

เป็นการปฏิสนธินอกร่างกายที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้มีบุตรยาก การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ต่างจากการทำ ICSI ตรงที่ การทำอิ๊กซี่ (ICSI) จะไม่ต้องรอให้เกิดการปฏิสนธิกันเอง

ICSI คือการที่แพทย์จะให้ยาฉีดกระตุ้นไข่แก่ฝ่ายหญิงเพื่อให้ได้ไข่หลายใบ และมีการเก็บไข่ออกมาภายนอก จากนั้นคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ผ่านด้วยวิธีการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และฉีดเข้าไปเพื่อให้ผสมกับไข่แบบเจาะจง ด้วยเข็มขนาดเล็ก พอผสมกันแล้วจะนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ 3-5 วัน จากนั้นเมื่อตัวอ่อนพัฒนาไปอยู่ในระยะที่เหมาะสมแล้ว (นิยมเลี้ยงถึง day5 ระยะบลาสโตซีสต์) ก็จะย้ายตัวอ่อนเข้าไปใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป

อัตราการประสบความสำเร็จของการทำ ICSI

ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักดังนี้

  1. อายุของฝ่ายหญิง

  2. จำนวนไข่ที่สมบูรณ์พอที่จะทำให้เกิดการปฏิสนธิได้

  3. คุณภาพของไข่ (ส่งผลให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพ)

  4. ความแข็งแรง และรูปร่างของอสุจิที่ปกติ

  5. ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่มีการย้ายตัวอ่อน

02.jpg

พร้อมสำหรับ IUI, ICSI 

อยากเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

จงให้ความสำคัญกับ 3 สิ่งนี้

ไข่ + มดลูก + ฮอร์โมน

ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งนั้นเป็นกระบวนการธรรมชาติที่ต้องการความสมดุลระหว่างอสุจิและไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิและเติบโตในมดลูกของฝ่ายหญิงจนถึงวันที่คลอดลูก

ผู้หญิงเกิดมาพร้อมเซลล์ไข่จำนวนมาก แต่ไข่จะเสื่อมไปตามอายุและการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ การรักษาและดูแลไข่ให้แข็งแรงจึงมีความสำคัญมาก

หลักการสำคัญในการส่งเสริมการตั้งครรภ์

  1. ไข่ที่สมบูรณ์

  2. ผนังมดลูกที่พร้อมฝังตัว

  3. ความสมดุลฮอร์โมน

 

คลิปบำรุงตามคัมภีร์ใน 1 วัน

เคล็ดลับเตรียมพร้อม

เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์_แนะนำให้ทานใน_1_วันดังนี้.jpg

นอกจากนี้ ครูก้อยขอแนะนำให้ทานอาหารตามคัมภีร์อื่นๆ ดังนี้นะคะ

 

  1. ไข่ต้มวันละ 2 ฟอง

  2. อะโวคาโด้ราดน้ำผึ้งชันโรงครึ่งผลทุกวัน แทนของว่าง แทนเบเกอร์รี่

  3. ทานปลาวันละ 1 ตัว งดพวกเนื้อสัตว์ติดมัน

  4. น้ำเปล่าไม่เย็น 2-3 ลิตร ตลอดวัน

  5. ข้าวไม่ขัดสี ทานแค่ 1 ถ้วยน้ำจิ้ม ต่อวัน ให้ไปเน้นที่โปรตีนจากพืชมากๆ

  6. ผักสดวันละ 1 ถ้วย 

ข้อห้ามในช่วงบำรุงไข่ เพื่อคุณภาพไข่ที่ดี และฮอร์โมนสมดุล

 

  1. งดหวานเด็ดขาด !!!!  ไม่งั้นไข่ไม่สวย – ไข่ไม่ตก – ไข่ไม่โต ท้องยาก !!!

  2. งดน้ำเย็น

  3. งดชา กาแฟ  เครื่องดื่มคาเฟอีน

  4. งดไขมันทรานส์

  5. งดอาหารแปรรูป

  6. ไม่ออกหนักเกินไป ออกกำลังกายเบาๆ 3 วันต่อสัปดาห์

  7. ห้ามนอนดึก นอนไม่เกิน 4 ทุ่ม 

คลิปและ LIVE ที่เกี่ยวข้อง

รีวิวท้อง IUI, IVF, ICSI (เด็กหลอดแก้ว)

02.jpg

สั่งซื้อสินค้าผ่าน LINE@ เท่านั้น

ครูก้อย.jpg

ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์

สวัสดีค่ะ ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page