top of page
ค้นหา

ไขมันเลวคืออะไร ส่งผลต่อคุณแม่เตรียมท้องอย่างไร

สำหรับคุณแม่หลายคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการมีลูกนั้น อาจมองว่าไขมันเป็นต้นตอของปัญหาสุขภาพต่าง ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วไขมันมีทั้งชนิดดีและเลว ซึ่งไขมันทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้ครูก้อยจะพามาทำความรู้จักกับไขมันเลวกันว่ามันคืออะไร มาจากไหนบ้าง แล้วมีวิธีรับมือกับไขมันชนิดนี้อย่างไรไม่ให้มาเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์อีกต่อไป ตามมาอ่านกันเลยค่ะ


ไขมันเลวคืออะไร


LDL หรือ Low density lipoprotein เป็นไขมันในหลอดเลือด (Cholesterol) ที่นำพาไขมันคอเลสเตอรอลไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้งาน แต่หากร่างกายได้รับไขมันชนิดนี้มากเกินไป จะทำให้เกิดการสะสมของ LDL ตามผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลงและเกิดการอุดตันในเส้นเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบแข็งและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ


ไขมันเลวมาจากไหนบ้าง


  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูปอย่างไส้กรอก แฮม แหนม กุนเชียง

  • อาหารทอดด้วยน้ำมันสัตว์ เช่น ไก่ทอด หมูกรอบ

  • อาหารหรือของหวานที่มีส่วนผสมของกะทิ เช่น พะแนง กล้วยบวชชี

  • อาหารที่มีไขมันทรานส์ปริมาณมาก เช่น เฟรนช์ฟรายส์ คุกกี้ โดนัท ครีมเทียม นมข้นจืด เนยขาว เนยเทียม

  • เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้า สาเก


ภาวะแทรกซ้อนจากไขมันเลว


1. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)


หรือที่ใครหลายคนรู้จักกันในชื่อว่า PCOS เกิดจากต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติและผลิตถุงน้ำหลายใบ หรือบางรายอาจเกิดซีสต์ในรังไข่และทำให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยกว่าคนทั่วไปหรืออาจไม่มีประจำเดือนเลย นอกจากจะลดโอกาสการตั้งครรภ์แล้ว หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้อีกด้วยค่ะ


2. โรคเบาหวาน


เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง อันเนื่องมาจากการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) จากตับทำงานบกพร่อง ร่างกายจึงนำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ ทำให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง เป็นผลทำให้ไตดูดน้ำตาลกลับไปได้ไม่หมดและมีน้ำตาลเล็ดลอดออกมาพร้อมกับปัสสาวะ หากปล่อยไว้นานอาจก่อใก้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น ภาวะต้อกระจก, ภาวะไตวายเรื้อรัง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ภาวะเส้นเลือดอุดตัน และอื่น ๆ อีกมาก โดยทั่วไปแล้วโรคเบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ แต่หากคุณแม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก่อนตั้งครรภ์อาจทำให้ความเสี่ยงต่อการแท้งลูกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทั้งนี้คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถมีลูกได้เพียงแต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลเป็นพิเศษ


3. ความดันโลหิตสูง


เป็นภาวะที่ร่างกายมีความดันโลหิตในระดับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับความดันโลหิตของคนทั่วไป โดยภาวะดังกล่าวจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวและรูหดเล็กลง เลือดจึงไหลเวียนอวัยวะต่าง ๆ น้อยลง อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายจึงทำงานผิดปกติ และหากหลอดเลือดและหัวใจได้รับความเสียหายเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น นอกจากนี้ความดันโลหิตสูงยังมีผลต่อการตั้งครรภ์ด้วยนะคะ แม้ว่าจะตั้งครรภ์ได้แต่โอกาสที่ลูกน้อยจะเสียชีวิตในครรภ์นั้นมีสูงมาก เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารและออกซิเจนน้อยลง แถมยังมีผลต่อพัฒนาการผิดปกติของทารกอีกด้วย อีกทั้งเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่เองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ภาวะความดันโลหิตสูงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์นะคะ หากตั้งครรภ์ขณะมีภาวะดังกล่าวให้รีบพบแพทย์


4. ภาวะเครียด


เมื่อคุณแม่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไป ส่งผลให้คุณแม่รู้สึดลดความมั่นใจในตัวเอง บางทีอาจนำมาสู่ภาวะความเครียดที่ทำให้ฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) และฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) อาจไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะตกไข่ผิดปกติและลดโอกาสตั้งครรภ์ให้น้อยลงด้วย ดังนั้นหากรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะเครียดมากเกินไป แนะนำให้หาทางความเครียดโดยด่วนด้วยการฝึกสมาธิ เล่นโยคะ นั่งหนังสือ หรือฟังดนตรีบำบัด


ไขมันเลว กำจัดได้ด้วยการดูแลตัวเอง


1. รับประทานอาหารเตรียมท้อง

  • โปรตีนจากพืชและสัตว์ ช่วยซ่อมแซมเซลล์ส่วนสึกหรอของร่างกาย อีกทั้งบำรุงเซลล์ไข่ให้อ้วนโตสมบูรณ์และสร้างผนังมดลูกให้แข็งแรง ได้แก่ ไข่, ปลา, อกไก่ไม่ติดมัน, ถั่วเหลือง, งาดำ

  • ผักใบเขียว ช่วยลดการอักเสบและปกป้องเซลล์ไข่ไม่ให้ถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระ ช่วยเร่งการตกไข่ กระตุ้นให้รอบประจำเดือนเป็นปกติ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการตกไข่ ไข่สุกพร้อมปฏิสนธิ ได้แก่ บร็อคโคลี, วีทกราส, คะน้าใบหยัก หรือผักเคล, หน่อไม้ฝรั่ง, อาโวคาโด

  • อาหารทะเล ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ได้ดี, ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศ, เพิ่มความต้องการทางเพศ, กระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่สำหรับปฏิสนธิ ได้แก่ ปลาทู ปลาอินทรี ปลาแซลมอน หอยนางรม

  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์สืบพันธุ์เสียหายและชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ได้แก่ สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี แบล็คเบอร์รี

  • ข้าวกล้องและขนมปังไม่ขัดสี ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและขับถ่ายอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีของเสียตกค้างอยู่ในร่างกาย, มีช่วยเสริมประสิทธิภาพในการสร้างตัวอ่อน ได้แก่ ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลวีต

  • ไขมันดี หรือ HDL (High Density Lipoprotein) เป็นไขมันชนิดดีที่คอยรวบรวมไขมันเลว หรือ LDL (Low-Density Lipoprotein) ที่สะสมอยู่ในเลือดเพื่อขับออกจากร่างกาย นอกจากจะช่วยลดน้ำหนักจากไขมันเลวได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุโพรงมดลูก, เสริมประสิทธิภาพของการผลิตไข่, กระตุ้นการตกไข่, ป้องกันเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ, ป้องกันภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและป้องกันการปฏิสนธิล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการมีลูกยาก (อ่านเพิ่มเติม: ไขมันดีคนท้อง ดีอย่างไร ทำไมคุณแม่อยากท้องต้องทาน)


2. ควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี


น้ำหนักตัวมากเกินไปมีผลทำให้โอกาสมีลูกน้อยกว่าคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐานถึง 20% และหากต่อให้ตั้งครรภ์แล้วก็ตาม แต่มีความเสี่ยงต่อการแท้งลูกในช่วง 3 เดือนแรกอีกด้วยค่ะ ทั้งนี้ครูก้อยขอแนะนำให้ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที เพราะนอกจากจะช่วยลดไขมันเลวแล้ว ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย อีกทั้งช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจทำให้มีลูกยากอีกด้วยค่ะ


3. จัดการความเครียดให้ได้


อย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่า เมื่อคุณแม่รู้สึกเครียดก็จะทำให้ฮอร์โมนแห่งความเครียดอย่างคอร์ติซอล (Cortisol) ถูกผลิตออกมาจำนวนมาก ส่งผลให้คอร์ติซอลสูงขึ้นจนระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เป็นสาเหตุให้ท้องยาก ดังนั้นหากรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะเครียดมากเกินไป แนะนำให้หาทางความเครียดโดยด่วนด้วยการฝึกสมาธิ เล่นโยคะ นั่งหนังสือ หรือฟังดนตรีบำบัด เป็นต้น


บทความที่น่าสนใจ

  • ไขมันดีคนท้อง ดีอย่างไร ทำไมคุณแม่อยากท้องต้องทาน

  • อยากมีน้องต้องกินไขมัน! อ๊ะๆ ไขมันดีเท่านั้นนะคะ

  • รู้จัก "ไขมันดี"ที่ดีต่อสตรีอยากท้องแม่ๆที่บำรุงเตรียมตั้งครรภ์การทาน




ดู 44 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page