top of page
ค้นหา

35+ ก็ท้องได้ แต่ด้วยอายุจะท้องยาก มาประเมินความพร้อม!!



35+ ก็ท้องได้ แต่ด้วยอายุจะท้องยาก มาประเมินความพร้อม สิ่งที่ต้องรู้กันค่ะ จะได้เตรียมตัว บำรุงให้ถูกจุด!


(1) อายุมากขึ้นจำนวนฟองไข่ลดลง


ข้อนี้เป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าฟองไข่หมดก็คือท้องไม่ได้ ทำเด็กหลอดแก้วก็กระตุ้นไข่ไม่ขึ้น ไม่มีไข่ให้เอามาปฏิสนธิ


ดังนั้นอายุมากแล้ว ทำการบ้านกันมา 1 ปียังไม่ท้อง อย่ารอ ให้ไปหาหมอมีบุตรยาก ขอตรวจฮอร์โมน AMH ค่ะ


AMH หรือ Anti-Mullerian Hormone เป็นฮอร์โมนหนึ่งของผู้หญิง จะมีปริมาณสัมพันธ์กับจำนวนไข่ใบเล็ก ๆ (antral follicles) ในรังไข่ แพทย์จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในการตรวจวัดปริมาณของไข่ในรังไข่ได้


การรู้ผลจำนวนฟองไข่ตั้งต้นจะช่วยในการทำนายการตอบสนองของรังไข่ว่าจะตอบสนองมากน้อย


เพียงใดหากเข้ารับการกระตุ้นรังไข่ และใช้ทำนายการตอบสนองรังไข่ว่าจะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปหรือไม่ได้อีกด้วย


โดยการทำเด็กหลอดแก้วนั้น จำนวนของไข่มีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยไข่ตั้งต้นควรมีจำนวนพอสมควร เนื่องจากโดยกระบวนการการรักษานั้นทำให้เหลือตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีพอจะตั้งครรภ์ได้ไม่มาก ซึ่งอาจจะเหลือเพียงน้อยกว่า 30% ของไข่ที่กระตุ้นได้


เมื่อเรารู้จำนวนฟองไข่ตั้งต้นแล้วก็จัได้กลับมสพิจารณาว่าจะรอแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ หรือต้องรีบมีลูก ต้องรีบพบแพทย์และบำรุงอย่างจริงจังแล้ว เพราะไข่มันไปไม่รอแล้วค่ะ


.



การตรวจ AMH มีวิธีการตรวจง่าย ๆ เพียงแค่เจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับ Anti-Mullerian hormone (AMH) และส่งตัวอย่างเลือดไปยังห้องแล็บ ซึ่งจะ


ทราบผลการตรวจได้ภายใน 1-2 วัน


โดยการตรวจฮอร์โมน AMH นั้นสามารถตรวจตอนก็ได้โดยไม่ต้องตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน


●การอ่านผล AMH


👉หากระดับ AMH #สูง แสดงว่า #ไข่มีปริมาณมาก

👉ถ้าระดับค่า AMH #ต่ำ แปลว่า #ไข่เหลือในปริมาณน้อย

👉โดยปกติควรอยู่ที่ 1.5 ขึ้นไป หากค่าต่ำกว่า 1 อาจเข้าข่ายท้องยาก กระตุ้นไข่ยาก


หากได้ 1 ยังพอเห็นแนวโน้มว่ายังมีจำนวนฟองไข่ที่สามารถตั้งครรภ์ได้


แต่ถ้าน้อยมากแค่ 0.1-0.2 โอกาสที่จะกระตุ้นไข่ได้ไข่ที่มีคุณภาพจะน้อยมากๆ ค่ะ ซึ่งใรกรณีนี้หากกระตุ้นไข่ไม่ได้เลย อาจต้องใช้ไข่บริจาคเพื่อทำ ICSI ต่อไปค่ะ


.


(2) อายุมากขึ้นรังไข่เสื่อม


รังไข่ก็คือโรงงานผลิตไข่ เราแก่ขึ้นโรงงานก็เสื่อมลง ฮอร์โมนเพศหญิงก็เริ่มลด รังไข่เริ่มฝ่อ เมนส์เริ่มรอบยาว นี่แหละสัญญาณวัยทอง หากพบในวัยก่อน 40 คือวัยทองก่อนวัย หากปล่อยไว้โรงงานพัง กู้ไม่ได้ ไข่ก็ไม่ตก ไม่ท้องค่ะ


เช่นเดียวกันให้ไปเช็คฮอร์โมนตัวนี้ค่ะ FSH

FSH: Follicle Stimulating Hormone

เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมากระตุ้นการทำงานของรังไข่ จะหลั่งมาเพื่อให้ไข่โตสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้น ฮอร์โมน LH (ฮอร์โมนไข่ตก) ก็จะถูกหลั่งออกมาเพื่อให้ไข่ตก ซึ่งฮอร์โมนสองตัวนี้ต้องตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน


ระดับของ FSH ในร่างกายจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรังไข่สำรองที่มีอยู่ (ovarial reserve รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่)


ซึ่งทำให้การตรวจวัดระดับ FSH สามารถนำมาใช้ทำนายได้ว่าแม่ๆ มีภาวะเจริญพันธุ์อยู่ในระดับใด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือฮอร์โมน FSH เป็นฮอร์โมนที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพใน "การทำงานของรังไข่"


เมื่อมีจำนวนไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้นเพื่อเป็นชดเชยและจะได้กระตุ้นให้ Follicle หรือฟองไข่ มีการเจริญเติบโตมากขึ้น


การตรวจฮอร์โมน FSH จะเจาะเลือดตอนช่วงมีประจำเดือน 1-3 วันแรก โดยค่า FSH ปกติ ไม่ควรต่ำกว่า 3 และไม่ควรเกิน 10 ถ้าสูงเกินไปแสดงว่ารังไข่เริ่มเสื่อม ถ้า FSH สูงกว่า 40 และ ฮอร์โมน Estradiol (เอสโตรเจน) ต่ำกว่า 5 แสดงว่ารังไข่เสื่อมแล้วค่ะ


ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูงอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว หรือ ถ้าเกิดขึ้นในวัยที่ยังอยู่ในภาวะเจริญพันธุ์อาจหมายความว่าแม่ๆ อาจเข้าสู่ "วัยทองก่อนวัย"


หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้

(มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของภาวะ Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS)


.


(3) อายุมากขึ้นพลังงานในเซลล์ไข่ลดลง


เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น พลังงานในเซลล์ไข่จะด้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนมีประสิทธิภาพด้อยลง แบ่งเซลล์ได้ช้า ไม่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นบลาสโตซิสต์ หรือบางครั้งหยุดโตกลางทาง หรือไปหยุดการเจริญเติบโตหลังจากใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้ไม่เกิดการฝังตัวอ่อน จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์


ในเซลล์ไข่นั้นจะมีไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งไมโตคอนเดรียนี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ไข่ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์


ซึ่งเปรียบเสมือนโรงงานไฟฟ้าที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น และทำให้เซลล์ไข่มีพลังในการแบ่งตัวได้อย่างเป็นปกตินั่นเอง


📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology amd Endocrinology เมื่อปี 2018

ศึกษาพบว่าเมื่อผู้หญิงอายุเพิ่มมากขึ้นประสิทธิภาพในการทำงานของ Mitocondria ลดลง ทำให้เซลล์ไข่ไร้พลัง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงอายุมากมีบุตรยาก


👉เราจะเพิ่มพลังงานในเซลล์ไข่ได้อย่างไร?


📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2009 ศึกษาพบว่า Co-enzyme Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ทำให้ไข่มีคุณภาพมากขึ้น โดยได้ทำการทดลองในหนูทดลองที่มีอายุมาก และสรุปผลว่า การทาน Co-enzyme Q10 อาจช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอายุมาก


📚 อีกงานวิจัยอีกหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility


and Sterility เมื่อปี 2020 ได้ทำการทดลองให้ผู้หญิงอายุมาก (อายุ 38-46 ปี) พบว่าการรับประทาน Q10 ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่รวมถึง ลดอัตราการแบ่งเซลล์และโครโมโซมผิดปกติของเซลล์ไข่อีกด้วย


👉Coenzyme Q10 คืออะไร?


CoQ10 คือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามินซึ่งร่างกายสามารถผลิตเองได้ในปริมาณหนึ่ง พบในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย


Co-enzyme Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง และพบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงเซลล์ไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ ไมโตคอนเดรียมีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างพลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย

มีคุณสมบัติ ช่วยเพิ่มพลังงาน ซึ่ง Co-enzyme Q10 ทำงานโดยช่วยเพิ่มพลังให้กับ mitocondria


ของเซล์ไข่นั่นเองค่ะ


📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Free radical Biology and Medicine เมื่อปี 2019 ศึกษาพบว่า Q10 จะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น


ดังนั้นผู้ญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์หรือเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วควรได้รับ Q10 ในปริมาณที่เพียงพอเพื่อทำให้ไมโตคอนเดรียทำงานได้ดียิ่งขึ้นซึ่งปัจจุบันสามารถหาทานได้จากวิตามินเสริม💊 Q10 ช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์ไข่แบ่งตัวได้อย่างสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มโอกาสได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพและส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นค่ะ


.


(4) อายุมากขึ้นเซลล์ไข่มีแนวโน้มผิดปกติสูงขึ้น


อายุที่มากขึ้นส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่

โดยในทางการแพทย์ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปเป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์


🧬เซลล์ร่างกายประกอบด้วยโครโมโซมทั้งหมด 46 ชิ้นหรือ 23 คู่ การที่ทารกจะลืมตาดูโลกนั้นมีจุดเริ่มต้นจากเซลล์สืบพันธุ์ (Gamete) ของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์นี้ก็จะนำเอาสารพันธุกรรมของพ่อและแม่ไปรวมกันเกิดขึ้นเป็นชีวิตใหม่ขึ้นมา ดังนั้นการที่แต่ละฝ่ายต้องส่งเซลล์สืบพันธุ์ไปปฏิสนธิกันให้เป็นชีวิตใหม่จะต้องส่งไปเพียง 23 ชิ้นเพื่อให้รวมกันเป็น 46 ชิ้น ซึ่งเป็นจำนวนปกติของเซลล์มนุษย์


🧬กลไกการแบ่งโครโมโซมจาก 46 ชิ้นในเซลล์ร่างกายปกติไปเป็น 23 ชิ้นในไข่นั้น ไม่ได้สมบูรณ์แบบทุกครั้ง หมายความว่าไข่บางใบอาจแบ่งโครโมโซมได้ 23 ชิ้น หรืออาจมากไปเป็น 24 ชิ้น หรืออาจขาดไปเหลือแค่ 22 ชิ้น


🧬ดังนั้น เมื่อไข่ใบที่มีจำนวน "โครโมโซมไม่ปกติ" แม้ไปผสมกับอสุจิที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะมีจำนวนโครโมโซมไม่ปกติ อาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 46 ชิ้น ทำให้ตัวอ่อนแสดงความผิดปกติในหลายรูปแบบ ได้แก่


✔ตัวอ่อนหยุดการแบ่งเซลล์ตั้งแต่ยังไม่ฝังตัว

✔ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้

✔ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่ไม่สามารถสร้างอวัยวะและเนื้อเยื่อได้ตามปกติหรือท้องลม

✔ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่แท้งในระยะต่อมา

✔หรือตัวอ่อนเติบโตจนคลอดออกมา แต่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือสติปัญญา


ซึ่งอัตราความคลาดเคลื่อนของโครโมโซมในไข่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้นในแต่ละปี จึงทำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากตั้งครรภ์ยากและมีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้น


👉อัตราความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์ไข่สัมพันธุ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นดังนี้


โดยสถิติความผิดปกติของโครโซมของเซลล์ไข่ในแต่ละช่วงอายุปรากฏตามข้อมูล ดังนี้


🔹️อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%

🔹️อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%

🔹️อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%



รู้ไหม? #อนุมูลอิสระ ส่งผลต่อความเสื่อมของเซลล์ไข่ และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้โครโมโซมเซลล์ไข่ผิดปกติ


โดยทั่วไปแล้วในร่างกายมีการสร้างอนุมูลอิสระออกมาตลอดเวลาจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร อนุมูลอิสระส่วนใหญ่มีอะตอมของออกซิเจนที่ไวต่อการทำปฏิกริยาออกซิเดชัน หรือเรียกว่า Reactive Oxygen Species (ROS) ซึ่งสร้างความเสียหายแก่เซลล์ หากร่างกายเรามีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ที่จะมาจัดการกับ ROS ไม่เพียงพอจะทำให้เซลล์ต่างๆถูกทำลายจนเสื่อมไปเรื่อยๆ รวมถึงเซลล์ไข่ของผู้หญิงด้วย


📚มีงานวิจัยศึกษาพบว่า สาเหตุหลักของการทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จมาจากตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ (รองลงมาคือปัญหาเรื่องผนังมดลูก) ซึ่ง ตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์อาจมาจากโครโมโซมผิดปกติ สืบเนื่องมาจากเซลล์ไข่มีความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ หรือไข่ที่ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นนั่นเอง เมื่อเกิดการรวมตัวกับ DNA แล้วทำให้


โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนไป ส่งผลให้โครโมโซมเสียหาย หรือเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ชั้น lipid ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ทำให้เซลล์ไข่เสื่อมสภาพ (Oocyte aging)


นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้นไปอีก


👉เราจะลดความเสื่อมของเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระได้อย่างไร?


สำหรับผู้หญิงที่มีบุตรยาก ที่ต้องใช้วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) การมีเซลล์ไข่ที่มีคุณภาพเป็นการเพิ่มโอกาสในการได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ส่งผลต่อโอกาสในความสำเร็จ อย่างไรก็ตามการทำเด็กหลอดแก้วเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการคัดเลือกไข่และอสุจิตัวที่ดีที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีช่วยในการคัดเลือก ไข่ที่ดีได้ แต่ ไม่


สามารถทำให้ไข่มีคุณภาพได้


"คุณภาพของไข่" นั้นอยู่ที่การบำรุงและสภาพความสมบูรณ์ของร่างกายของแม่ๆ เอง ที่ต้องเตรียมบำรุง "วัตถุดิบตั้งต้น" ไปให้พร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด และถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ด้วยการทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอค่ะ เน้นอาหารที่ให้สารอนุมูลอิสระสูง เช่นผลไม้รสเปรี้ยวตระกูลเบอร์รี่ มะนาวและมะกรูดของไทย


🍋โดยเฉพาะน้ำมะกรูดมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ทั้งวิตามินซี ไบโอฟลาโวนอยด์ และ เควอซิทีน ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาพบว่า ช่วยลดอัตราไข่ฝ่อได้ถึง 80% และเพิ่มอัตราตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสต์ได้อีกเท่าตัว


.


(5) เซลล์ไข่บำรุงได้ 35+ แล้วไง หากบำรุงดีก็มี


โอกาสท้องได้


ถึงจะอายุเยอะ ก็อย่าท้อค่ะ เพราะแม่ๆ สามารถบำรุงเซลล์ไข่ที่มีให้เป็นไข่ที่มีคุณภาพ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ธรรมชาติได้


เช่นเดียวกัน หากต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการทำเด็กหลอดแก้ว การบำรุงไข่ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนไปเก็บไข่เป็นปัจจัยในการเพิ่มโอกาสสำเร็จค่ะ


แม่ๆ รู้ไหม เซลล์ไข่บำรุงได้ด้วยหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ครูก้อยศึกษาค้นคว้างานวิจัย แล้วนำมาสรุปเป็น #สูตรสำเร็จ #คัมภีร์อาหารของคนอยากท้อง มาให้แม่ๆ แล้ว เป็น 5 Keys to Success ดังนี้ค่ะ


(1) เพิ่มโปรตีน : โดยเน้นโปรตีนจากพืช และต้องทานเพิ่มจากความต้องการที่ร่างกายได้รับต่อวัน ปกติจะอยู่ที่โปรตีน 1 กรัมต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่ผู้หญิงบำรุงไข่ควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน


และควรเน้นที่โปรตีนจากพืช ได้แก่ ถั่ว ควินัว งาดำ นมอัลมอนด์ หรือ โปรตีนจากสัตว์ที่ไม่มีไขมัน ไม่มีฮอร์โมนเร่งเนื้อแดงแฝง เช่น ปลาแซลมอน ไข่ นมแพะ


(2) ลดคาร์บ : ให้ลดคาร์บเชิงเดี่ยว พวก ข้าวขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว แต่ให้เน้นคาร์บเชิงซ้อนจากธัญพืชต่างๆ เช่น งาดำ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง ข้าวกล้อง เพราะคาร์บเชิงซ้อนจะย่อยนาน เปลี่ยน

แป้งเป็นน้ำตาลช้า ไม่ไปกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ร่างกายอักเสบ เบาหวาน PCOS หรือ ไข่ไม่ตกเรื้อรัง


(3) งดหวาน : งดเด็ดขาด เพราะน้ำตาลทำลายเซลล์ไข่ เป็นอนุมูลอิสระที่ทำให้เซลล์เสื่อม ร่างกายอักเสบ


(4) ทานกรดไขมันดี : งดไขมันเลย พวกไขมันทรานส์ อาหาร junk food กมูกระทะ ชาบูเนื้อติดทัน ให้ทานไขมันดีจากพืช เช่น เมล็ดฟักทอง แฟล็กซีด อัลมอนด์ งาดำ น้ำมันมะกอก อะโวคาโด หรือจากสัตว์ เช่น ปลาแซลมอนด์ ซาร์ดีน ไขมันดี


ช่วยให้ฮอร์โมนเพศสมดุล กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ทำให้ไข่โตสมบูรณ์ ไข่ตก


(5) เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ : ร่างกายเราผลิตอนุมูลอิสระออกมาตามธรรมชาติอยู่แล้วจากการใช้ชีวิต แต่ปัจจุบันเรายังได้รับจากสารพิษ มลภาวะ การรับประทานอาหารไร้ประโยชน์ และความเครียด ซึ่งยิ่งมีอนุมูลอิสระมากเท่าไหร่ มันก็จะทำลายเซลล์ให้เสื่อมลงเท่านั้น รวมถึงเซลล์ไขาด้วย แม่ๆอยากท้องจึงต้องเน้นทานสารต้านอนุมูลอิสระให้เพียงพอ ได้แก่ ผัก ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ น้ำมะกรูด วิตามินซี วิตามินอี เป็นต้น


➕เสริมวิตามินบำรุง : การทานอาหารอย่างเดียว อ่จทำให้เราได้รับสารอาหารไม่พอและอาดขาดวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ดังนั้นคนวางแผนท้องต้องใช้สูตรทานอาหาร 70% วิตามิน 30% เน้นทานอาหารตามที่กล่าวมาข้างต้น และเสริมด้วยวิตามินบำรุงไข่ ที่ขาดไม่ได้คือ โฟลิก fish oil, Co Q10 และ มัลติวิตามินและแร่ธาตุรวม ซึ่งคนเตรียมท้องต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุให้


เพียงพออย่างน้อยล่วงหน้า 3 เดือน จะเป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ และเป็นครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงค่ะ



ดูแลร่างกายให้ดี กินตามสูตรนี้ ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงค่ะ ดังนั้นต้องเริ่มบำรุงกันตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ!


ทั้งนี้การตั้งครรภ์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับไข่อย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่สำคัญได้แก่

"ความพร้อมของผนังมดลูก" และ "ฮอร์โมนที่สมดุล" ที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ให้เป็นปกติตั้งแต่การผลิตไข่ ความสมบูรณ์ของไข่ ประจำเดือน การตกไข่ ความหนาตัวของมดลูกที่พร้อมให้ตัวอ่อนฝังตัว


การทานตามหลักโภชนาการที่ครูก้อยแนะนำจะช่วยปรับสมดุลร่างกาย สร้างไข่แข็งแรงและเสริมสร้างผนังมดลูก และสุขภาพเฮลตี้ในองค์รวม

สุขภาพดีแบบนี้ เบบี๋มาสมใจในเร็ววันค่ะ


_____________________________________________



📱ชมครูก้อย live 40 ก็ท้องได้ หากบำรุงไข่ให้ถูกวิธี

คลิกชมเลยค่ะ →

https://youtu.be/WcrYhG1YS3s


📱ชมครูก้อย live 5 วิธีเพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่ในผู้หญิง 35+

คลิกชมเลยค่ะ →

https://youtu.be/lnmeDVONDTk




โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
📣 เคยสงสัยกันไหมคะ ? ยิ่งโลกเปลี่ยนไปผู้หญิงยุคใหม่ยิ่งมีลูกยาก!!!

หลายๆคนที่อยากมีลูกแต่ลูกก็ยังไม่มาสักทีคงตั้งคำถามกับเรื่องนี้ว่า ทำไมรุ่นแม่รุ่นย่ารุ่นยายถึงมีลูกกันง่ายและหลายๆบ้านก็มีลูกเยอะ ....

 
 
 
📣 ยิ่งผู้หญิงถึงจุดสุดยอด ยิ่งเพิ่มโอกาสท้องจริงหรือ?

การปฏิบัติภาระกิจปั๊มเบบี๋ อย่าเครียดโฟกัสว่าต้องท้องแต่ละเลยความรู้สึกของคู่ของเรานะคะ แน่นอนว่าฝ่ายชาย การหลั่งน้ำอสุจิคือการถึงจุดสุดย...

 
 
 
📣เช็คด่วน! ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง ภัยเงียบส่งผลมีบุตรยาก

ภาวะต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังเกิดขึ้นจากร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้น้อย ซึ่งส่งผลให้แม่ๆหลายคนประสบปัญหามีบุตรยาก...

 
 
 

コメント


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page