top of page
ค้นหา

📣7 สาเหตุ ทำไม? ท้อง แล้ว แท้ง!!



📣7 สาเหตุ ทำไม? ท้อง แล้ว แท้ง


🔴แท้ง (Miscarriage)


การแท้งถือเป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยการแท้งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์)


การแท้งนั้น ในทางการแพทย์ถือว่าเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคนแต่เป็นเรื่องที่ยากจะทำใจสำหรับคนเป็นพ่อแม่.... ครูก้อยขอเป็นกำลังใจให้คุณแม่ที่เคยสูญเสียลูกน้อยไป อย่าเพิ่งท้อนะคะ เราแท้งได้แสดงว่าเราท้องได้ กลับมาดูแลตัวเองให้ดี บำรุงร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่บำรุงวัตถุดิบตั้งต้นคือเซลล์ไข่ของเราให้มีคุณภาพ บำรุงมดลูกให้พร้อม เริ่มใหม่ได้เสมอค่ะ


วันนี้เราไปดู 7 สาเหตุของการแท้งกันค่ะ



1. โครโมโซมทารกผิดปกติ


เป็นสาเหตุของการแท้งในช่วง 3 เดือนแรกที่พบได้บ่อยที่สุด โดยโครโมโซมนี้เป็นการจัดเรียงตัวกันของดีเอ็นเอ ซึ่งจะควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ตั้งแต่พัฒนาการของเซลล์ในร่างกาย หรือแม้แต่สีตาของทารก


ความผิดปกติที่เกิดขึ้นอาจเป็นการมีจำนวนโครโมโซมมากเกินปกติหรือมีจำนวนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ทารกไม่สามารถพัฒนาได้อย่างปกติและมีการแท้งเกิดขึ้นได้ในที่สุด ซึ่งการแท้งจากโครโมโซมที่ผิดปกติในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นี้มีอัตราถึง 2 ใน 3


การตรวจปัสสาวะพบว่ายังให้ผลบวก แสดงว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้วแต่ไม่มีตัวทารก เพราะมีแต่รกเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ต่อไปสักระยะหนึ่งแล้วคุณแม่จึงมีเลือดออก หรือทารกอาจมีความพิการบางอย่างก็เลยถูกขับออกมาเองตามกลไกธรรมชาติ ก่อนที่จะปล่อยให้มีเด็กพิการเกิดขึ้น


ทารกที่มีโครโมโซมปกติเป็นผลมาจากเซลล์ไข่ของแม่มีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งแม่ที่มีอายุมากจะพบอัตราความผิดปกของโครโมโซมในเซลล์ไข่เพิ่มมากขึ้น โดยผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปี โครโมโซมเซลล์ไข่ผิดปกติไปแล้วถึง 50% ซึ่งไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติ ส่งผลต่ออัตราการปฏิสนธิต่ำ ตัวอ่อนไม่พัฒนา และแท้งในระยะเริ่มต้น


2. ปัญหาจากรก


รกมีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างมารดากับทารกเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ดังนั้นปัญหาที่ส่งผลต่อการพัฒนาของรกจึงสามารถนำไปสู่การแท้งบุตรได้เช่นกัน


3. อายุของคุณแม่


คุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือมีอายุน้อยกว่า 15 ปี จากข้อมูลพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรได้มากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อย


โดยเฉพาะแม่ที่มีอายุมากเซลล์ไข่จะมีความผิดปกติทางโครโมโซมสูง

📚โดยสถิติความผิดปกติของโครโซมของเซลล์ไข่ในแต่ละช่วงอายุปรากฏตามข้อมูล ดังนี้


🔹️อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%

🔹️อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%

🔹️อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%


ซึ่งไข่ที่มีโครโมโซมผิดปกติอาจส่งผลให้


🔸️อัตราการปฏิสนธิต่ำ (low fertilization rate)

🔸️ตัวอ่อนไม่สมบูรณ์ ตัวอ่อนไม่ฝังตัว (embryo fails to implant in the uterus)

🔸️แท้งในระยะเริ่มแรก (early miscarriage)

🔸️ทารกเป็นดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)


4. มดลูกมีปัญหา


มดลูกมีความผิดปกติ เช่น มีความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิดหรือมดลูกมีรูปร่างผิดปกติ ในโพรงมดลูกมีก้อนเนื้องอกหรือมีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก


บางกรณีสาเหตุการแท้งมาจากรูปร่างของมดลูก ทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัวในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้เลือดและสารอาหารส่งไปเลี้ยงให้ทารกในครรภ์เติบโตแข็งแรง ดังนั้นการเตรียมมดลูกให้พร้อม


ก่อนตั้งครรภ์จึงสำคัญอย่างมาก ต้องมีการตรวจสภาพมดลูก กำจัดติ่งเนื้อ หรือ ผ่าตัดเนื้องอกให้เรียบร้อย ทานอาหารที่มีฤทธิ์อุ่นเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดี เช่นน้ำมะกรูด ขิงดำ ดื่มชาดอกคำฝอยเพื่อขับลิ่มเลือดเก่าที่คั่งค้าง ทานอาหารเน้นโปรตีนให้เพื่อสร้างผนังมดลูกให้หนาแข็งแรง พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน



5. ฮอร์โมนไม่สมดุล


ผู้หญิงบางคนมีปัญหาระบบการทำงานของรังไข่และฮอร์โมนผิดปกติ มักเกิดจากรังไข่ผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนไม่เพียงพอเพื่อที่จะสนับสนุนให้ตัวอ่อนในระยะแรกเติบโตต่อได้ หากฮอร์โมนการตั้งครรภ์อาจเสี่ยงแท้งลูกได้ง่าย ร่างกายต้องมีสมดุลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนเอสโตรเจน


และฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ซึ่งจำเป็นมากในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก ถ้ามีมากไปหรือน้อยไปจะส่งผลทำให้แท้งลูกได้


ซึ่งตามธรรมชาติระยะหลังไข่ตก เรียกว่า "ระยะลูเตียลเฟส" ระยะเวลาหลังการตกไข่ที่ร่างกายจะสร้างระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น โดยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะส่งผลให้มดลูกหนาขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน


หากมีความบกพร่องของระยะนี้หมายความว่า ร่างกายแม่ๆ #มีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนน้อยเกินไป #ทำให้เยื่อบุมดลูกไม่หนาตัว ทำให้ช่วงระยะ Luteal Phase สั้น #ส่งผลให้โอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนมีน้อยลง หรือ ผนังมดลูกไม่หนาพอที่จะโอบอุ้มตัวอ่อน ส่งผลให้แท้งได้ค่ะ



6. โรคประจำตัวของคุณแม่


คุณแม่ที่มีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก และมีความเครียดสูง ก็จะทำให้แท้งบุตรได้ง่ายขึ้น


มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคเอสแอลอี (SLE) โรคพีซีโอเอส (PCOS) โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE) หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ (เช่น หัด หัดเยอรมัน มาลาเรีย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)


7. การใช้ยาบางชนิด หรือ การได้รับสารเคมี


เช่น ยารักษาไข้มาลาเรียในกลุ่มควินิน อาจทำให้แท้งได้เพราะมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว ยารักษาโรคมะเร็งหรือการได้รับสารตะกั่ว มีผลทำให้ทารกเสียชีวิตและแท้งได้


การได้รับสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะสูดดมหรือสัมผัส ย่อมเป็นสาเหตุให้

เกิดการแท้งได้เช่นกัน รวมไปถึงคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือติดยาเสพติดด้วยค่ะ






ดู 11,130 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Opmerkingen


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page