อยากท้องเร็ว...ทำไมเบบี๋ยังไม่มา❓ มาดู 7 วิธีพิชิต ติดลูกเร็วกันค่ะ
แม่ๆ ต้องหันมาดูแลตัวเอง บำรุงให้ถูกจุด ลดพฤติกรรมเสี่ยงทำลายไข่และสเปิร์มนะคะ ครูก้อยมี 7 วิธีพิชิต..ติดลูกเร็วมาฝาก ปฏิบัติตามนี้เพื่อสร้างร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ไข่สวย สเปิร์มดี ฮอร์โมนสมดุล...เบบี๋อาจมาไม่ทันตั้งตัวนะคะ👶
.
1. #รู้วันไข่ตก
การปฏิบัติภารกิจปั๊มเบบี๋ช่วงเวลาที่มีโอกาสติดลูกมากที่สุดคือ ช่วง 2 วันก่อนไข่ตกยาวไปจนถึง 2 วันหลังไข่ตก
ดังนั้นหากนับวันไข่ตกเป็น ช่วง 5 วันก่อนไข่ตกรวมถึงวันไข่ตกและหลังวันไข่ตก ให้ทำการบ้านยาวไปได้เลยค่ะ ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีโอกาสท้องมากที่สุด (Fertile Window) ทำยาวไปจนเลยช่วงวันไข่ตกไปด้วยเพื่อเพิ่มโอกาสให้มากที่สุด
ไข่ของผู้หญิงเมื่อตกแล้วจะอยู่ได้แค่ 12-24 ชม. จากนั้นก็จะฝ่อสลายไป แต่สเปิร์มของผู้ชายอยู่ในร่างกายผู้หญิงได้ถึง 3-5 วัน
ดังนั้นปฏิบัติภารกิจล่วงหน้าก่อนวันไข่ตกไปเลยค่ะ สเปิร์มไปรออยู่ได้ ไข่ตกปุ๊บจะได้เจาะปั๊บค่ะ
#สอนนับวันไข่ตก
การนับไข่ตกนั้นให้แม่ๆ นับรอบเดือนของตัวเองให้เป็นก่อนว่าเป็นคนมีรอบเดือนกี่วัน ซึ่งรอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคนจะสั้น-ยาวไม่เท่ากันค่ะ โดยปกติรอบเดือนจะอยู่ที่ 28 วัน ให้นับวันที่ประจำเดือนมาครั้งแรกเป็นวันที่ 1 และวันสุดท้ายคือวันก่อนที่มีประจำเดือนรอบถัดไป
เช่น ประจำเดือนมาวันแรกวันที่ 1 มีนาคม และ มาอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม แสดงว่า มีรอบเดือน ตั้งแต่วันที่ 1-28 มีนาคม คือ 28 วัน
#ทีนี้มาดูกันต่อว่าไข่ตกวันไหนของรอบเดือน❓
โดยปกติไข่จะตกในวันที่ 14 ของรอบเดือน ดังนั้นหาก
คุณมีรอบเดือน 28 วัน ไข่ก็จะตกในวันที่ 14 ของรอบเดือน (คิดง่ายๆคือให้เอาจำนวนรอบเดือน - 14 ก็จะได้วันไข่ตกค่ะ)
เช่น ถ้ามีรอบเดือน 30 วัน ไข่จะตกในวันที่ 16 ของรอบเดือน
ถ้ามีรอบเดือน 21 วัน ไข่จะตกในวันที่ 7 ของรอบเดือนค่ะ
อย่างไรก็ตามรอบเดือนที่สั้นหรือยาวกว่าปกติ ไข่ที่ตกลงมาอาจไม่มีคุณภาพเท่ารอบปกตินะคะ และการนับวันไข่ตกนี้จะแม่นยำก็ต่อเมื่อคุณมีรอบเดือนที่สม่ำเสมอค่ะ
แม่ๆสารมาถเช็คให้ชัวร์ด้วยการเช็คจากปัสสาวะโดยใช้แถบวัดฮอร์โมนไข่ตก หรือ LH หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปค่ะ
Tips❗เมื่อนับไข่ตกเป็นแล้ว จากตัวอย่างหากไข่ตกใน Day14 ให้ทำการบ้านตั้งแต่ Day11-Day15 คร่อมหน้าคร่อมหลังไว้เลยค่ะ...เพื่อความชัวร์!
.
2. #ทานอาหารตามหลักโภชนาการ
การทานอาหารที่ครบ 5 หมู่ ได้ "สารอาหาร" ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ สเปิร์ม ปรับสมดุลฮอร์โมนช่วยให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ เมื่อร่างกายสมบูรณ์พร้อม เซลล์ไข่มีคุณภาพ สเปิร์มแข็งแรง...โอกาสท้องก็มีสูงขึ้นค่ะ
การทานอาหารไม่ใช่ว่าจะทานอะไรก็ได้...แต่ต้องเลือกทานให้ได้สารอาหาร มีวินัยในการกิน
📚จากงานวิจัยที่ศึกษาถึง "ผลจากการทานอาหารต่อภาวะเจริญพันธุ์" ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Public Health, Population, Reproductive and Sexual Health เมื่อปี 2018
ศึกษาพบว่า... การรับประทานอาหารส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของทั้งหญิงและชาย โดยการหลีกเลี่ยงการทานไขมันอิ่มตัว (ไขมันทรานส์ ) เน้นทานพวกธัญพืชไม่ขัดสี ผักผลไม้ และ โปรตีนจากปลา ส่งผลต่อดีต่อภาวะเจริญพันธุ์
ของผู้หญิงและส่งผลให้สปิร์มมีคุณภาพมากขึ้นในผู้ชาย
ในขณะที่แอลกอฮอล์ คาเฟอีน ของหวาน(น้ำตาล) และไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) คือตัวร้ายที่ทำให้มีบุตรยาก (Infertility)เพราะทำให้เซล์เสื่อมและแก่
ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัย ยังชี้เฉพาะเจาะจงไปถึงการรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ และการเน้นโปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) โดยผู้หญิงที่เน้นทานโปรตีนจากพืช ทานผักผลไม้ ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืชต่างๆ) ทานไขมันดี (โอเมก้า 3 ) ทานแร่ธาตุที่สำคัญ อันได้แก่ โฟเลต สังกะสี และธาตุเหล็ก พบว่ามีความเสี่ยงที่อยู่ในภาวะมีบุตรยากน้อยลงถึง 66% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ทานอาหารตามรูปแบบข้างต้น
ดังนั้นการทานอาหารจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อ Fertility ค่ะ ต้องทานให้เพียงพอ ทานให้
ครบ ทานที่มีประโยชน์เท่านั้น (ถ้าอยากท้อง)
❌ไม่ใช่แค่กินอะไรก็ได้
✔แต่ต้องกินให้ได้สารอาหารให้ครบ 5 หมู่ อันได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุ
ถึงเวลาพิจารณาแล้วค่ะ ว่าแต่ละมื้อเราทานอาหารครบ 5 หมู่ ได้สารอาหารตามหลักโภชนาการหรือไม่❓
🎯ครูก้อยสรุปหลักโภชนาการตามงานวิจัยสำหรับคนเตรียมท้อง เป็น #สูตรสำเร็จ 5 Keys to Success มาให้แล้ว ดังนี้ค่ะ
1. เพิ่มโปรตีน : เน้นโปรตีนจากพืช
2. ลดคาร์บ : ลดคาร์บขัดสี แป้งขาว ข้าวขาว
3. งดหวาน : งดหวานเด็ดขาด
4. ทานกรดไขมันดี : น้ำมันมะกอก ปลาแซลมอน อโวคาโด งาดำ แฟล็กซีด เมล็ดฟักทอง และ Fish oil เป็นต้น
5. เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ : จากผักผลไม้สด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ หรือ น้ำมะกรูดสด🍋
➕1 เสริมวิตามินบำรุงก่อนตั้งครรภ์ล่วงหน้า 3 เดือน 💊💊💊💊
💓ศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์โปรตีน Ferty
โปรตีนเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ (คลิกอ่านเลยค่ะ)
👇👇👇👇👇
https://www.babyandmom.co.th/protein-preg-enhancing
.
3.ทานวิตามินบำรุงล่วงหน้า 💊💊💊
การรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวอาจทำให้เราได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน เพราะเรารับประทานในปริมาณน้อย และสารอาหาร หรือ วิตามินบางชนิดร่างกายสามารถดูดซึมได้น้อยในรูปแบบของอาหาร และเราไม่
สามารถมั่นใจได้ว่าในอาหารแต่ละมื้อเราได้รับวิตามินที่เพียงพอตามปริมาณที่ร่างกายต้องการได้รับหรือไม่
🎯ดังนั้น หลักในการบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ของครูก้อย คือ ทานวิตามิน 30% ค่ะ ครูก้อยจะ "เน้นเรื่องโภชนาการเป็นหลัก" เพราะอาหารสำคัญที่สุดค่ะ แต่ก็ไม่ขาดเรื่องวิตามินเสริมที่จะทำให้ร่างกายเราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและจำเป็นสำหรับคนที่เตรียมตัวเป็นคุณแม่ค่ะ
🔑ครูก้อยใช้สูตรนี้ค่ะ อาหาร 70% วิตามิน 30%
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Medicine Insight Womens Health เมื่อปี 2019
ได้รวบรวมผลการศึกษา ถึงความสำคัญของ micronutrients ซึ่งได้แก่ "วิตามินและแร่ธาตุ" ที่จำเป็นที่ผู้หญิงวางแผนท้องที่ควรได้รับล่วงหน้าก่อนตั้งครรภ์
งานวิจัยศึกษาพบว่า...สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
นอกจากการทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการแล้ว การขาดวิตามินและแร่ธาตุก็เป็นสาเหตุหลักประการหนึ่ง เพราะวิตามินและแร่ธาตุมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานได้อย่างปกติและสมบูรณ์ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วย
การได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอนอกจากจะส่งผลให้ผู้หญิงมีลูกง่ายขึ้นแล้ว
✔ยังช่วยลดความเสี่ยงทารกพิการแต่กำเนิด
✔ส่งผลต่อคุณภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ (oocyte quality and maturation)
✔การปฏิสนธิ ( fertilization)
✔การฝังตัวของตัวอ่อน (implantation)
✔การเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo development)
✔ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูตัวร้ายของภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วย
❤โดยหัวใจสำคัญคือ ต้องทานอย่างต่อเนื่องล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ค่ะ เป็น "prenatal vitamins" หรือ "วิตามินเตรียมตั้งครรภ์" ที่จะเสริมสารอาหารให้กับร่างกายแม่ๆเตรียมพร้อมก่อนเกิดการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของตัวอ่อน
💊โดยเฉพาะ "โฟลิก" มีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ทุกคน ต้องได้รัยล่วงหน้า 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์
🚑องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ผู้หญิงวางแผนตั้งครรภ์ได้รับกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวัน
ยังมีความเข้าใจที่ผิดว่าเมื่อตั้งครรภ์ถึงจะรับประทานวิตามินโฟลิก แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องกินก่อนท้อง เพราะวิตามินโฟลิก ช่วยในการสร้างและแบ่งเซลล์ใน
ตัวอ่อนให้สมบูรณ์ตั้งแต่หลังปฏิสนธิภายใน 28 วัน
ดังนั้นการเสริมกรดโฟลิกสามารถทำได้ตั้งแต่วางแผนมีบุตร หรือก่อนตั้งครรภ์ 1-3 เดือน เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลอดประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นอาจช้าเกินไปที่จะแก้ไขความผิดปกติ
และทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์เพราะความต้องการโฟเลตหรือกรดโฟลิกจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ตัวอ่อน (embryo) กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
🔑บำรุงเตรียมท้อง "อาหารก็ต้องกิน วิตามินก็ห้ามขาด"
ต้องเน้นอาหาร 70% วิตามิน 30% บำรุงก่อนท้องล่วงหน้า 3 เดือน ยิ่งบำรุงอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และต่อเนื่อง โอกาสประสบความสำเร็จก็จะมีมากขึ้นเท่านั้นค่ะ
🟣ศึกษารายละเอียดผลิตภัณฑ์ OvaAll วิตามินตัวจบ สยบทุกปัญหาท้องยาก วิตามินบำรุงไข่ที่ครบที่สุด เพื่อผู้มีบุตรยาก (คลิกอ่านเลยค่ะ) 👇👇👇👇
https://www.babyandmom.co.th/product/ovaall/
.
4. #ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
อยากท้องเร็วต้องออกกำลังกายควบคุมน้ำหนักให้อยู่ใน "เกณฑ์ปกติ" ไม่อ้วนไป หรือ ผอมไป
น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไข่ไม่ตกได้ค่ะ
สำหรับเคสที่อ้วน หรือ น้ำหนักเกิน มีข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน #ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า‼
#อ้วนไป❓คือ แค่ไหน วัดอย่างไร❓
ความอ้วนสามารถวัดได้ตามหลักของการวัดค่าดรรชนีมวลกายดังนี้
🎯วิธีการหาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า "ดัชนีมวลกาย" หรือ "บีเอ็มไอ" (BMI - Body Mass Index) มีสูตรคือ
"BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / ส่วนสูงเป็นเมตร x
ส่วนสูงเป็นเมตร"
👉ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 169 เซนติเมตร ต้องนำส่วนสูงมาคิดเป็นเมตรก่อน คือ 169 เซนติเมตร จะเท่ากับ 1.69 เมตร แล้วนำมาคูณด้วยส่วนสูงที่คิดเป็นเมตรอีกครั้ง คือ 1.69 x 1.69 = 2.856 จากนั้นให้เอาน้ำหนักคือ 58 กิโลกรัม เป็นตัวตั้ง แล้วจึงหารด้วยค่าส่วนสูงที่คำนวณได้คือ 2.856 ก็จะได้ค่า BMI เท่ากับ 20.308
🎯ซึ่งผู้ที่มีค่า BMI อยู่ในระหว่าง 18.5-24.9 (มาตรฐานสากล) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
🔸️ถ้าน้อยกว่า 18.5 ก็ถือว่าผอมไป
🔸️ถ้ามากกว่า 24.9 คือมีค่า 25.0 ขึ้นไปก็จะถือว่าอ้วน
🔸️แต่สำหรับมาตรฐานคนเอเชียแล้วเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9
#ความอ้วนทำให้ท้องยากได้อย่างไร❓
ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศ
หญิงอาจเกิดความผิดปกติ
🔸️ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่
🔸️ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย
🔸️ประจำเดือนขาดหายไป
#กรณีที่ผอมไปล่ะ❓
สังเกตุมั้ยคะ คนที่ผอมไป ลีนเกินไป หรือนักกีฬา เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำเกินไปจะท้องยาก เพราะไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศค่ะ (แต่เน้นไขมันดีนะ ไม่ใช่พวกทรานส์แฟท หรือ คอเลสเตอรอลที่สูงเกินไป) นายแพทย์ Robert จาก Corado for Reproductive Medicine เผยว่า ผู้หญิงที่สุขภาพดีและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่าหากมีค่า body fat อยู่ที่อย่างน้อย 17-19 อันนี้คือดูที่ body fat นะคะ ไม่ใช่ค่า BMI บางครั้งเราดูที่ค่า BMI โอเค แต่ body fat สูงหรือ ต่ำไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพค่ะ
.
5. #พักผ่อนให้เพียงพอ
เพราะการนอนหลับที่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ปรับสมดุลฮอร์โมนของร่างกายรวมไปถึงควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเพศที่เป็นสิ่งสำคัญต่อการตั้งครรภ์ด้วย
รู้ไหม❓ การนอนไม่พอส่งผลต่อฮอร์โมนสืบพันธุ์ไม่สมดุล
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดัง
นั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และ ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย
โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเองค่ะ
โดยนักวิจัยแนะนำว่าควรนอนพักผ่อนให้ได้ 7-8 ชม.ต่อวัน
.
6. #ลดพฤติกรรมทำลายไข่และสเปิร์ม
อยากท้องเร็วต้องลด ละ เลิก พฤติกรรมที่ทำลายไข่และสเปิร์ม นอกจากต้องหันมาทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ งดหวาน งดของมัน ของทอด ปรับการกินเน้นโปรตีน ทานผักผลไม้สด ออกกำลังกาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว ควรเลิกสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟคาเฟอีนต่างๆ ด้วยค่ะ
- งดสูบบุหรี่ : คนสูบบุหรี่ส่งผลต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 60% สำหรับผู้ชายที่สูบบุหรี่จะทำให้สเปิร์มด้อยคุณภาพ เชื้อน้อยลง สเปิร์มไม่ว่าย
- งดคาเฟอีน : ดื่มคาเฟอีนมากกว่า 250 mg ต่อวันส่งผลต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 45%
- งดแอลกอฮอล์ : ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวันส่งผลต่อการมีบุตรยากเพิ่มขึ้น 60%
สำหรับผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮออล์ ส่งผลต่อการผลิตอสุจิ
ที่มีคุณภาพต่ำ อสุจิรูปร่างผิดปกติ
.
7. #ถึงเวลาต้องปรึกษาแพทย์แล้วล่ะ
ให้ประเมินคู่ของเราตามเกณฑ์ดังนี้
✅มีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมอ (2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
✅โดยไม่คุมกำเนิด
✅เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี แต่สำหรับฝ่ายหญิงที่อายุ 35 ปี ขึ้นไป แค่ 6 เดือนพอค่ะ
ประเมินแบบนี้แล้ว พบว่าถูกทุกข้อแล้วยังไม่ท้อง ในทางการแพทย์ คือ คู่ของคุณกำลังเข้าสู่ "ภาวะมีบุตรยาก" แล้วค่ะ อาจมีความผิดปกติบางอย่างไม่ว่าจะมาจากฝ่ายหญิง หรือ ฝ่ายชาย หรือ ทั้งคู่
ดังนั้นควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจโดยละเอียดหาความผิดปกติและรักษาให้หายเพื่อสามารถกลับมามีโอกาสตั้งครรภ์ธรรมชาติได้ แต่ถ้าหากมีความผิดปกติขั้นรุนแรง ก็ไม่ต้องตกใจไปค่ะยังอาจสามารถใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อช่วยให้ตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ
.
.
ครูก้อยขอเป็นกำลังใจให้ทุกคู่มีเบบี๋ในเร็ววันนะคะ หากดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง บำรุงไข่ บำรุงสเปิร์มให้สมบูรณ์ มีคุณภาพ เจ้าตัวน้อยก็จะมาอีกไม่นานเกินรอค่ะ
______________________________________________
📱ชมคลิป 7 วิธีพิชิต ติดลูกเร็ว
คลิกชมเลยค่ะ →
https://youtu.be/-7mimbdzUHQ
תגובות