top of page
ค้นหา

8 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต

โดยทั่วไปการตั้งครรภ์ระยะต้นของตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตอยู่ภายในโพรงมดลูกอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นช่วงที่ตัวอ่อนจะได้รับสารอาหารเกือบทั้งหมดมาจากถุงไข่แดง จนกระทั่งเติบโตขึ้นจนอายุครรภ์ถึง 12 สัปดาห์ หลังจากสร้างรกสมบูรณ์ทารกจึงได้รับสารอาหารและขับของเสียออกผ่านทางรก ถ้าหากอัลตร้าซาวด์พบสัญญาณหัวใจเต้นจังหวะปกติในสัปดาห์ที่ 6 พบว่าร้อยละ 90 จะสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อได้ตามปกติ แต่หากไม่มีพบสัญญาณหัวใจเต้นนั้นแสดงว่าตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโตและเสียชีวิตในครรภ์ (หรือที่หลายคนเรียกว่า แท้งค้าง) ซึ่งภาวะแท้งค้างเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ



8 สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโต


1. ตัวอ่อนผิดปกติเองตั้งแต่ต้น


ส่วนใหญ่อาจเกิดตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ โดยตัวอ่อนมีโครโมโซมผิดปกติสูงถึงร้อยละ 60 ส่วนใหญ่มีผลมาจากอายุของคุณแม่เป็นหลัก โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป หรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดไปยังทารกในครรภ์ได้ เช่น ธาลัสซีเมีย, ดาวน์ซินโดรม, ลูคิเมีย ฯลฯ มีผลทำให้ตัวอ่อนมีโครโมโซมผิดปกติ


2. คุณแม่มีโรคประจำตัว


ได้แก่ โรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากมีเลือดไหลเวียนไปยังรกไม่เพียงพอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดสูงกว่าทั่วไปถึง 12% ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ภาวะครรภ์แฝดน้ำที่ทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด หากอยู่ในระดับรุนแรงมากอาจทำให้ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโตและคุณแม่เกิดอาการช็อก ส่วนโรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาจมีสาเหตุมาจากรกพัฒนาผิดปกติ หากปล่อยไว้อาจเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษจนคุณแม่เสียชีวิตได้


3. มีก้อนเนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูกขนาดใหญ่


เป็นเนื้องอกที่พบได้บ่อยในคุณแม่ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์จากคนในครอบครัว, ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติและสร้างเซลล์ผิดปกติตามมา, การทานยาคุมกำเนิดที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกในมดลูก แม้จะไม่มีอันตรายจนพัฒนากลายเป็นมะเร็งแต่หากปล่อยไว้นานอาจทำให้ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ, มีเลือดออกมากระหว่างรอบเดือน, ปัสสาวะถี่กว่าเดิม, รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงอ่อนเพลียง่ายขึ้นด้วย หากมีก้อนเนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูกให้รีบรักษาด้วยการส่องกล้องทางโพรงมดลูกซึ่งเป็นวิธีการรักษาโดยไม่ต้องตัดมดลูกทิ้ง เหมาะสำหรับแม่ๆ ที่อยากมีลูก


4. การตั้งครรภ์จากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์


กรณีของการทำเด็กหลอดแก้วนั้น สิ่งสำคัญคือห้ามเกร็งมดลูกเพราะอาจมีผลทำให้ตัวอ่อนหลุดและไหลออกมา จนเกิดภาวะแท้งคุกคาม เริ่มจากงดทานอาหารที่ผิดแผกจากเดิม ป้องกันอาการท้องเสียที่จะทำให้ลำไส้บิดตัว, งดการขึ้น-ลงบันได, ไม่ไอ-จามแรงเกินไป รวมถึงห้ามเครียดเกินไปเพราะอาจส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุลจนประสิทธิภาพการยึดเกาะตัวอ่อนลดลง นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการแบ่งเซลล์ผิดปกติอีกด้วย


5. คุณแม่ทานยาบางชนิด

  • ยาในกลุ่ม Androgen เช่น Testosterone, Norethindrone, Ethisterone

  • ยาในกลุ่ม Ankalating Agent เช่น Cychophosophamide, Amphoteracin B

  • ยาในกลุ่ม Antimetabolites เช่น Amethopterin, Fluouracil, 6-Azauridine

  • ยาในกลุ่ม Anticonvulsants เช่น Dilantin, Phenytoin

  • ยาในกลุ่ม Ergometrine

  • ยาในกลุ่ม Estrogen เช่น Diethylstilbestrol

  • ยาในกลุ่ม Polychlorinated biphenyls (PCBs)

  • ยาในกลุ่ม Thalidomide

  • ยาในกลุ่ม Warfarin


6. ประสบอุบัติเหตุ


หากคุณแม่ประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนบริเวณมดลูกหรือท้องน้อยก็ตาม อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนด้วยเช่นกัน หากบาดเจ็บจากการกระแทกอาจเกิดรกลอกตัว สังเกตได้จากอาการปวดท้องหรือท้องแข็ง จนเป็นอันตรายต่อคุณแม่และนำไปสู่ภาวะช็อกได้เช่นกัน


7. ติดเชื้อในโพรงมดลูก


เมื่อคุณแม่ติดเชื้อบริเวณช่องคลอดเข้าไปยังปากมดลูกจนถึงโพรงมดลูกและท่อรังไข่ จนเกิดภาวะปีกมดลูกอักเสบ ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นได้กับปีกมดลูกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยสาเหตุอาจเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ไส้ติ่งอักเสบ, ล้างช่องคลอดด้วยการสวนโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์, การทำแท้ง, การใส่ห่วงคุมกำเนิด ฯลฯ หากปล่อยไว้นานนอกจากจะทำให้มีลูกยากแล้ว ยังอาจปวดท้องน้อยหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์, ประจำเดือนมาผิดปกติ, เลือดออกกะปริดกะปรอยบริเวณช่องคลอด หากรุนแรงอาจเกิดหนองก้อนใหญ่ในท่อนำไข่หรือรังไข่อีกด้วย ทั้งนี้สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาในเบื้องต้น หากพบอาการรุนแรง แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะหยดเข้าทางหลอดเลือดดำเพื่อการรักษาแบบถาวร


8. ภาวะรกเสื่อม


เกิดขึ้นได้ในคุณแม่ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรืออาจตั้งครรภ์มามากกว่า 2 ครั้ง รวมถึงมีมดลูกขนาดใหญ่ผิดปกติ, มีแผลที่ผนังมดลูก, เนื้องอกบริเวณกล้ามเนื้อมดลูก, การขูดมดลูกจากการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนด ไปจนถึงการสูบบุหรี่ด้วย ส่งผลให้มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดแต่ไม่มีอาการเจ็บ แต่คุณแม่บางคนอาจมีอาการเจ็บแปลบหรือมดลูกบีบตัว หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้คุณแม่เกิดภาวะช็อกจนเสียเลือดมากและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้หากอายุครรภ์ก่อนกำหนดอาจใช้ยาระงับการบีบตัวของมดลูกและยากระตุ้นปอดทารกเพื่อการรักษา


บทความที่น่าสนใจ

ดู 36,739 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page