สำหรับคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจกำลังสงสัยและไม่แน่ใจว่าตัวเองมีโอกาสตั้งครรภ์แค่ไหน แล้วผู้หญิงแต่ละวัยมีโอกาสแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ถ้าจะวางแผนมีลูกควรเริ่มต้นตอนอายุเท่าไหร่ดี แล้วถ้าไม่พร้อมในช่วงวัยนั้นจะมีวิธีแก้หรือดูแลตัวเองอย่างไรให้พร้อมต่อการมีลูกบ้าง ครูก้อยมีคำตอบมาฝากค่ะ
โอกาสตั้งครรภ์ของผู้หญิงแต่ละวัยมีเท่าไหร่บ้าง
แม้ว่าการนับวันตกไข่จะช่วยเพิ่มโอกาให้คุณแม่อยากมีลูกได้ท้องสมใจได้ก็จริง แต่อีกปัจจัยสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้นั่นคือสุขภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละวัย ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้หญิงแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างในเรื่องของฮอร์โมนซึ่งมีผลกับร่างกายโดยตรง ยิ่งอายุมากเท่าไหร่ ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับร่างกายของคุณแม่ก็จะผลิตออกมาน้อยลงด้วย สำหรับช่วงอายุที่ร่างกายพร้อมต่อการตั้งครรภ์จะอยู่ที่ 20-35 ปี หรือหลังจากมีประจำเดือนแล้วประมาณ 7 ปี แต่ผู้หญิงบางคนอาจมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากถึงอายุ 40 ปี ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคุณแม่แต่ละคนด้วยนะคะ
มีลูกอายุเท่าไหร่ดีที่สุด
อายุ 20-35 ปี ถือเป็นช่วงวัยที่เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์มากที่สุด เนื่องจากเป็นวัยเจริญพันธุ์ เซลล์ไข่มีจำนวนมาก อีกทั้งฮอร์โมนเพศยังผลิตออกมาได้เรื่อย ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโอกาสแท้งลูกและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุเยอะ
ตั้งครรภ์อายุมาก เสี่ยงอย่างไร?
สำหรับเซลล์ไข่ของผู้หญิงโดยทั่วไปแล้วจะมีติดตัวหลังจากคลอดจากท้องแม่เหลือประมาณ 1-2 ล้านใบ และเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธ์จะเหลือเพียง 7 แสนใบ เมื่อคุณแม่มีอายุมากขึ้น จำนวนเซลล์ไข่ก็ลดลงตาม ส่งผลให้โครโมโซมมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงขึ้น นั่นหมายความว่า นอกจากจะตั้งครรภ์ยากแล้วยังเสี่ยงต่อการแท้งบุตรง่ายขึ้นจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นง่ายกว่าผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า สำหรับโอกาสที่โครโมโซมจะคลาดเคลื่อนนั้นสามารถคิดตามช่วงอายุ ดังต่อไปนี้
อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%
อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%
อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%
สำหรับความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่อายุเยอะ มีดังนี้ค่ะ
โพรงมดลูกเจริญผิดที่
ตัวอ่อนผิดปกติ
ภาวะครรภ์เป็นพิษ
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
รกเสื่อมสภาพ ฝังตัวได้ไม่ดี
สำหรับความเสี่ยงของลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่อายุเยอะ มีดังนี้ค่ะ
มีโอกาสแท้งสูงกว่าผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์
มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด
ลูกมีน้ำหนักต่ำว่าเกณฑ์มาตรฐาน
ลูกมีโอกาสเป็นดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) ง่ายขึ้น
ลูกมีโอกาสเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่
อายุ 40 มีลูกได้มั้ย?
แม้ว่าจะเป็นช่วงที่รังไข่เริ่มเสื่อมสภาพและมีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง ฯลฯ แต่หากคุณแม่ดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองดี ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้เช่นกันค่ะ เพียงแต่ต้องระวังลูกที่เกิดมาอาจมีภาวะดาวน์ซินโดรม (Down syndrome), พาทัวซินโดรม (Patau Syndrome) และเอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Edward's Syndrome) ได้ด้วยนะคะ เนื่องจากภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ในคุณแม่ที่มีอายุเยอะ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีอายุ 40 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงที่มีอายุ 25-35 ปีมากถึง 2 เท่าเลยค่ะ
แต่เนื่องจากสังคมปัจจุบันที่ทำให้ผู้หญิงหลายคนมีลูกในช่วงวัยที่มากขึ้น ดังนั้นหากต้องการมีลูกจริง ๆ แนะนำให้วางแผนการตั้งครรภ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการมีลูกให้มากขึ้นค่ะ ทั้งนี้แพทย์จะดูความเป็นไปได้ว่าคุณแม่ท่านนั้นเข้าสู่วัยทองหรือยัง? มีประจำเดือนอยู่ไหม? มีเซลล์ไข่และรังไข่ปริมาณมากพอต่อการตั้งครรภ์หรือไม่? ท่อรังไข่ตันไหม? มีเนื้องอกหรือก้อนเนื้อมาบดบังท่อรังไข่และมดลูกหรือเปล่า? หากไม่พบความผิดปกติใด ๆ ก็สามารถเตรียมตัวตั้งครรภ์ได้เลยค่ะ
อยากมีลูกทั้งที ทำไมต้องเติมไขมันดีให้ร่างกาย
การเติมไขมันชนิดดี หรือ High Density Lipoprotein (HDL) ให้แก่ร่างกาย จะช่วยขับไขมันชนิดเลว (Low-Density Lipoprotein หรือ LDL) ที่สะสมตามเลือดหลายร้อยโมเลกุลและส่งไปให้ตับกำจัดออกจากร่างกาย ข้อดีของไขมันชนิดดีจะช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในร่างกายไม่ให้สะสมมากเกินไป เป็นผลทำให้ร่างกายมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักมากเกินไปจะไปรบกวนการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์โดยตรง ส่งผลให้คุณแม่มีลูกยากขึ้นนั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ไขมันดียังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันความเสื่อมของสมรรถภาพทางเพศ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะเพศ จึงกระตุ้นการตกไข่และเพิ่มโอกาสให้มีลูกมากขึ้น สำหรับไขมันดีที่ครูก้อยแนะนำจะเป็นไขมันดีจากธัญพืชทั้ง 9 ชนิดที่อุดมไปด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ได้แก่ น้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower oil), น้ำมันกระเทียม (Garlic oil), น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed oil), น้ำมันฟักข้าว (Gac oil), น้ำมันอะโวคาโด (Avocado oil), น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla oil), น้ำมันมะกอก (Olive Oil), น้ำมันสาหร่าย (Algae Oil) และน้ำมันงา (Sesame oil)
댓글