Checklist ตรวจร่างกายทั้งชาย - หญิง
เตรียมตั้งครรภ์ ตรวจอะไรบ้างต้องรู้!
การตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ ปลอดภัยทั้งแม่และลูกตลอดจนการคลอดเจ้าตัวน้อยออกมาสมบูรณ์แข็งแรงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้เป็นปกติสำหรับทุกคู่นะคะ
ดังนั้นในการตั้งครรภ์คู่สมรสต้องมีการวางแผนและตรวจร่างกายล่วงหน้าก่อนค่ะ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ทราบถึงสุขภาพโดยรวมของทั้งคุณพ่อและคุณแม่ รวมไปถึงหมู่เลือด โรคทางพันธุกรรมต่างๆ หรือความผิดปกติใดๆก็ตามที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์หรือทารกในครรภ์ได้
👩⚕️การพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายก่อนตั้งครรภ์จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญมากค่ะ แม่ๆ จะได้รู้ล่วงหน้าว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร หรือรักษาโรคใดให้หายก่อนตั้งครรภ์...เพื่อท้ายที่สุดเราจะได้ไม่มาเสียใจในภายหลังหากเกิดสาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์ต้องหยุดลง หรือ เจ้าตัวน้อยไม่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น
อย่างแน่นอนค่ะ
💗วันนี้ครูก้อยนำข้อมูลเรื่องการตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์มาฝากแม่ๆ ไปดูกันค่ะว่าต้องตรวจอะไรบ้าง แม่ๆ จะได้เตรียมตัวให้พร้อม เพื่อการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์และความปลอดภัยของเจ้าตัวน้อยค่ะ
.
1.#การซักประวัติ
จะเป็นการสอบถามทั่วไป หรือสอบถามถึงปัญหาในปัจจุบัน โดยสิ่งที่หมอจะซักถาม ได้แก่
(1) ประวัติการคุมกำเนิด
- การใช้ยาคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ
- ประวัติการตรวจมะเร็งปากมดลูก
- ความผิดปกติเกี่ยวกับรอบประจำเดือน ประจำเดือนมาสม่ำเสมอหรือไม่ และประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาเมื่อไหร่ หากยังไม่ได้บันทึกก็ให้เริ่มทำ
ตั้งแต่วันนี้ได้เลยค่ะ เพราะประวัติประจำเดือนจะช่วยทำให้เราทราบอายุครรภ์และวันคลอดได้ค่ะ
โดยหากเราประจำเดือนขาดและคาดว่าตั้งครรภ์ หากตรวจพบว่าตั้งครรภ์ อายุครรภ์จะนับจากวันแรกของประจำเดือนที่มาครั้งสุดท้าย
(2) ประวัติการเจ็บป่วย การรับประทานยา โรคประจำตัว
การทราบประวัติเหล่านี้แพทย์จะได้ทราบว่าเรามีโรคประจำตัวอะไรที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์ หรือยาที่เราทานอยู่จะส่งผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่
การใช้ยานี้ ทั้งจากที่แพทย์สั่งหรือการซื้อยามารับประทานเอง รวมไปถึงการแพ้ยา (จะต้องจำให้ได้ค่ะว่าแพ้ยาอะไร อาการเป็นอย่างไร ถ้าจำไม่ได้ก็จดชื่อยาไว้ติดตัวตลอดเวลาก็จะดีที่สุด) เพราะยาบางชนิดมีผลต่อการตั้งครรภ์ค่ะ
(3) ประวัติทางสูติกรรม
แพทย์จะสอบถามว่า เคยตั้งครรภ์มาก่อนหรือไม่ จำนวนการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์เป็นพิษ เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด การผ่าตัดทำคลอด การตั้งครรภ์แฝด การแท้งบุตร หรือให้กำเนิดเด็กพิการ คุณแม่ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อม
รวมถึงประวัติการรับประทานกรดโฟลิกด้วยค่ะ เพราะแพทย์จะได้วางแผนการดูแลคุณแม่ได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งการรับประทานกรดโฟลิกนั้นมีความสำคัญมาก ต้องรับประทานล่วงหน้าก่อนท้องอย่างน้อย 3 เดือน จะช่วยป้องกันทารกพิการ ป้องกันโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ช่วยพัฒนาระบบสมองและประสาท ซึ่งหัวใจสำคัญคือ "ต้องทานก่อนท้อง" และทานต่อไปอีกหลังเริ่มตั้งครรภ์ยาวไปจนอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ เพราะหากรอจนทราบว่าตั้งครรภ์ก่อนแล้วค่อยทานอาจจะสายเกินไป เพราะในช่วงอายุครรภ์ที่ 3-4 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ จะเป็นช่วงที่พัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารกจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลอด
ประสาทจะปิดอย่างสมบูรณ์แล้ว ซึ่งนั่นอาจช้าเกินไปที่จะแก้ไขความผิดปกติ
(4) ประวัติการฉีดวัคซีน
แม่ๆ ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมว่าเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่อาจจะติดต่อไปยังทารกหรือไม่ เช่น โรคหัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบ ไข้อีสุกอีใส บาดทะยัก
หากไม่เคยฉีดก็ต้องฉีดค่ะ เพราะหากเป็นโรคเหล่านี้ขึ้นมาขณะตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกพิการได้ และวัคซีนบางตัวหากฉีดแล้วต้องเว้นระยะ 3-6 เดือนก่อนเริ่มตั้งครรภ์
คลิกศึกษาเพิ่มเติม👉 https://youtu.be/nHdQXcBdh8o
(5) ประวัติทางครอบครัว
เป็นการสอบถามว่ามีใครเป็นโรคทางพันธุกรรม โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเลือด ฯลฯ หรือไม่
เพื่อจะได้ประเมินความเสี่ยงของแม่ค่ะ
(6) ประวัติส่วนตัว เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน สิ่งแวดล้อมของที่อยู่อาศัย สัตว์เลี้ยงในบ้านประวัติการออกกำลังกาย (วิธีการออกกำลังกาย ระยะเวลาและความแรงในการออกกำลังกาย เผื่อมีข้อห้ามที่ควรลดการออกกำลังกายลงหากออกหักโหมเกินไป)
รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน การใช้ยาเสพติด เพื่อแพทย์จะได้พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจมีผลต่อทารกในครรภ์
.
2. #การตรวจร่างกายทั่วไป
จะเป็นการตรวจดูความสมบูรณ์ของร่างกายทั้งพ่อและแม่ โดยคุณหมอจะตรวจดูว่า มีโรคบางอย่างที่เป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ ได้แก่
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- โรคหัวใจ
- โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
โดยสิ่งที่หมอจะตรวจก็ได้แก่.....
✅ การวัดส่วนสูง
✅ ชั่งน้ำหนัก
✅ ตรวจปัสสาวะ
✅ เอ็กซเรย์ปอด
✅ วัดความดันโลหิต
✅ ตรวจเลือด เช็คฮอรโมน เช็คไขมัน เช็คระดับน้ำตาลในเลือด
✅ ตรวจระบบหายใจ
✅ ตรวจระบบหัวใจ
👉หากตรวจว่าพบความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ทั้งแพทย์เฉพาะทางและสูตินรีแพทย์ ซึ่งจะต้องพิจารณาร่วมกันว่าสมควรให้มีการตั้งครรภ์ได้หรือไม่
👉นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย อย่างโรคที่พบบ่อย ๆ เช่น โรคหนองใน โรคซิฟิลิส แผลริมอ่อนและแข็ง ไวรัสตับอักเสบบี ถ้าจะป้องกันเอาไว้ก่อนก็จะดีกว่ามารักษาทีหลัง
👉ส่วนโรคเอดส์นั้น ถ้าคุณแม่ติดเชื้อจะมีโอกาสถ่ายทอดไปสู่ลูกได้มากถึงร้อยละ 20-30 (ถ้าได้รับยาระหว่างตั้งครรภ์ จะลดโอกาสการถ่ายทอดไปสู่ลูกน้อยกว่าร้อยละ 10) หากพ่อหรือแม่ติดเชื้อเอดส์ ก็ไม่ควรจะปล่อยให้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น
.
3.#การเจาะเลือดตรวจอย่างละเอียด
👉คุณพ่อคุณแม่ควรได้รับการตรวจเลือดอย่างละเอียด เพื่อดูว่ามีโอกาสตั้งครรภ์โดยที่ #ภาวะแม่ลูกกลุ่มเลือดไม่เข้ากันหรือไม่ หากเกิดภาวะนี้ขึ้น หมอจะได้ให้คำแนะนำเพื่อให้การตั้งครรภ์ผ่านพ้นไปอย่างปลอดภัยได้ ในขั้นตอนนี้โดยรวมแล้วจะ
เป็นการตรวจเพื่อ....
- ดูความเข้มข้นของเลือด
- โรคเลือด
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- โรคติดต่อทางพันธุกรรม
- ธาลัสซีเมีย
- ตรวจภูมิคุ้มกันโรค เช่น หัดเยอรมัน ไวรัสตับอักเสบบี และซิฟิลิส
👉 #สำหรับการตรวจโรคทางพันธุกรรม หากพบว่าทั้งพ่อและแม่ต่างก็มีโรคทางพันธุกรรมแฝงอยู่ในตัว โดยทั่วไปแล้วจะมีโอกาสถ่ายทอดไปยังลูกได้ 1 ใน 4 คน โดยจะมี 1 คนที่ปกติ มี 2 คนที่ปกติแต่มีโรคแฝง ส่วนอีก 1 คนนั้นจะผิดปกติหรือมีโรคปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน ยิ่งถ้าพ่อแม่เป็นโรคเลือดธาลัสซีเมียทั้งคู่ หมอจะไม่แนะนำให้มีลูกเลยค่ะ
.
4.#การตรวจภายใน
เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ โดยจะเป็นการตรวจ.....
🔸️มดลูกและรังไข่ว่าปกติดีหรือไม่
🔸️ช่องคลอด ว่ามีการอักเสบหรือไม่ เพราะมีผลโดยตรงต่อการตั้งครรภ์และการคลอด ปากมดลูกตีบหรือไม่
🔸️มีเนื้องอกของมดลูก หรือ รังไข่หรือไม่
🔸️มีพังผืดหรือมีถุงน้ำในรังไข่หรือไม่
🔸️มะเร็งปากมดลูก
👉ส่วนคุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนแล้วมักปวดท้องมาก ๆ จนทำอะไรไม่ได้เลย และต้องกินยาแก้ปวดหรือต้องหยุดงานเป็นประจำ อย่างนี้จะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกหรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ได้ค่ะ ควรรีบไปหาหมอเพื่อตรวจดู หากเป็นขึ้นมาจะได้รักษา เพราะโรคนี้ถ้าเป็นแล้วจะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น หากได้รับการรักษาแล้ว โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็มีมากขึ้นค่ะ
.
5. #ตรวจฮอร์โมน
โดยเฉพาะคนที่เข้าข่ายภาวะพรุ่งนี้บุตรยากและต้องการเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการทำเด็กหลอดแก้ว มักจะต้องตรวจเลือดเพื่อเช็คฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เพื่อประเมินโอกาสความสำเร็จร่วมด้วย เช่น
👉FSH ฮอร์โมนการทำงานของรังไข่
👉LH ฮอร์โมนเร่งไข่ตก
👉AMH ฮอร์โมนประเมินไข่ตั้งต้น
👉Estradiol (E2) ฮอร์โมนเพศหญิง
📱ชมคลิปตรวจฮอร์โมนอะไร ก่อนไป ICSI ทำเด็กหลอดแก้ว
คลิกชมเลยค่ะ →
https://youtu.be/HcQ1E9zBxgo
.
6. #การตรวจพิเศษอื่น ๆ
หลังจากที่ตรวจร่างกายและตรวจภายในไปแล้ว
หากแพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติบางอย่าง ก็อาจจะต้องให้ตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย เช่น ตรวจอัลตราซาวด์ในช่องท้อง หรือส่องกล้องตรวจในอุ้งเชิงกราน
.
#สำหรับว่าที่คุณพ่อ🧑
ก็ต้องตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดต่อต่างๆตามที่กล่าวมาข้างต้น อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับฝ่ายชาย คือ การตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิ หรือที่เรียกว่าตรวจวิเคราะห์อสุจิ (Semen Analysis)
เพราะหากอสุจิไม่แข็งแรง ไม่มีคุณภาพ รูปร่างผิดปกติ ก็จะได้รับคำแนะนำให้บำรุงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำร้ายสเปิร์มตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้เตรียมอสุจิให้สมบูรณ์ที่สุด เตรียมพร้อมในการตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ
โดยการวิเคราะห์คุณภาพอสุจิมีเกณฑ์ ดังนี้
(1) ปริมาตรของน้ำเชื้อที่หลั่ง (Volume)
ต้องหลั่งได้ไม่น้อยกว่า 1.5 cc. ต่อการหลั่ง
1 ครั้ง
(2) จำนวนสเปิร์ม (Concentration)
ต่อการหลั่ง 1 ครั้ง ต้องไม่น้อยกว่า 15 ล้านตัวต่อ 1 cc.
(3) อัตราการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม (Motility)
ต้องมีเปอร์เซ็นการเคลื่อนไหวไม่ต่ำกว่า 40%
(4) รูปร่างของสเปิร์ม (Morphology)
ต้องมีรูปร่างสมบูรณ์ ปกติ ไม่น้อยกว่า 4%
.
.
การเตรียมตัวที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เมื่อวางแผนตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย รักษาโรคที่อาจเป็นอุปสรรคในการตั้งครรภ์ให้เรียบร้อย พร้อมกับบำรุงร่างกายให้แข็งแรงทั้งคุณพ่อคุณแม่ ทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอเป็นการบำรุงไข่ บำรุงสเปิร์มและปรับฮอร์โมนให้สมดุล เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ค่ะ
Comments