Coenzyme Q10 ตัวช่วยผู้หญิงอายุมากไข่แก่
ให้มีโอกาสเป็นแม่
แม่ๆรู้ไหม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คู่ของเรามีบุตรยาก คือ "อายุของฝ่ายหญิง" ค่ะ อายุที่มากขึ้นส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่ พลังงานในการแบ่งเซลล์ของเซลล์ไข่ลดลง อัตราความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่สูงขึ้น โดยในทางการแพทย์ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปเป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์
🧬เซลล์ร่างกายประกอบด้วยโครโมโซมทั้งหมด 46 ชิ้นหรือ 23 คู่ การที่ทารกจะลืมตาดูโลกนั้นมีจุดเริ่มต้นจากเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิงและใายชาย
ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์นี้ก็จะนำเอาสารพันธุกรรมของพ่อและแม่ไปรวมกันเกิดขึ้นเป็นชีวิตใหม่ขึ้นมา ดังนั้นการที่แต่ละฝ่ายต้องส่งเซลล์สืบพันธุ์ไปปฏิสนธิกันให้เป็นชีวิตใหม่จะต้องส่งไปเพียง 23 ชิ้นเพื่อให้รวม
กันเป็น 46 ชิ้น ซึ่งเป็นจำนวนปกติของเซลล์มนุษย์
🧬อย่างไรก็ตามกลไกการแบ่งโครโมโซมจาก 46 ชิ้นในเซลล์ร่างกายปกติไปเป็น 23 ชิ้นในไข่นั้น ไม่ได้สมบูรณ์แบบทุกครั้งไข่บางใบอาจแบ่งโครโมโซมได้ 23 ชิ้น หรืออาจมากไปเป็น 24 ชิ้น หรืออาจขาดไปเหลือแค่ 22 ชิ้น
🧬ดังนั้น เมื่อไข่ใบที่มีจำนวน "โครโมโซมไม่ปกติ" แม้ไปผสมกับอสุจิที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะมีจำนวนโครโมโซมไม่ปกติ คือ อาจมีโครโมโซมมากกว่าหรือน้อยกว่า 46 ชิ้น ทำให้ตัวอ่อนแสดงความผิดปกติในหลายรูปแบบ ได้แก่
✔ตัวอ่อนหยุดการแบ่งเซลล์ตั้งแต่ยังไม่ฝังตัว
✔ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้
✔ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่ไม่สามารถสร้างอวัยวะและเนื้อเยื่อได้ตามปกติหรือท้องลม
✔ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่แท้งในระยะต่อมา
✔หรือตัวอ่อนเติบโตจนคลอดออกมา แต่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือสติปัญญา
ซึ่งอัตราความคลาดเคลื่อนของโครโมโซมในไข่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อ "ผู้หญิงอายุมากขึ้น" ในแต่ละปี จึงทำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากตั้งครรภ์ยากและมีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้น
.
อัตราความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์ไข่สัมพันธุ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นดังนี้
โดยสถิติความผิดปกติของโครโซมของเซลล์ไข่ในแต่ละช่วงอายุปรากฏตามข้อมูล ดังนี้
🔹️อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%
🔹️อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%
🔹️อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%
.
อายุมากขึ้นพลังงานในเซลล์ไข่ลดลง
เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น "พลังงานในเซลล์ไข่" จะด้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนมีประสิทธิภาพด้อยลง "แบ่งเซลล์ได้ช้า" "ไม่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นบลาสโตซิสต์" หรือบางครั้ง "หยุดโตกลางทาง" หรือไปหยุดการเจริญเติบโตหลังจากใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้ไม่เกิดการฝังตัวอ่อน จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์❗
.
🧬ในเซลล์ไข่นั้นจะมี "ไมโตคอนเดรีย" (Mitochondria) ซึ่งไมโตคอนเดรียนี้ทำหน้าที่ในการ "ผลิตพลังงานให้กับเซลล์ไข่" โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์
ซึ่งเปรียบเสมือน "โรงงานไฟฟ้า" ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น และทำให้เซลล์ไข่มีพลังในการแบ่งตัวได้อย่างเป็นปกตินั่นเอง
.
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology amd Endocrinology เมื่อปี 2018
ศึกษาพบว่า...เมื่อผู้หญิงอายุเพิ่มมากขึ้นประสิทธิภาพในการทำงานของ Mitocondria ลดลง ทำให้เซลล์ไข่ไร้พลัง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงอายุมากมีบุตรยาก
#เราจะเพิ่มพลังงานในเซลล์ไข่ได้อย่างไร❓
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2009
ศึกษาพบว่า... Co-enzyme Q10 ช่วยเพิ่ม "ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่" ทำให้ "ไข่มีคุณภาพมากขึ้น" โดยได้ทำการทดลองในหนูทดลองที่มีอายุมาก และสรุปผลว่า การทาน Co-enzyme Q10 อาจช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอายุมาก
📚อีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology and Endocrinology เมื่อปี 2018 ทำการทดลองให้ผู้หญิงที่รังไข่เสื่อมได้รับ Coenzyme Q10 เป็นเวลา 60 วัน ก่อนเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ( IVF, ICSI)
ศึกษาพบว่า...ผู้หญิงที่ได้รับ Q10
✔รังไข่ตอบสนองดีขึ้น
✔เก็บไข่ได้มากขึ้น
✔อัตราปฏิสนธิสูงขึ้น
✔ตัวอ่อนมีคุณภาพมากกว่า
👉โดยกลุ่มที่ไม่ได้รับ Q10 มีอัตราการย้ายตัวอ่อนไม่ได้เพราะตัวอ่อนไม่มีคุณภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ Q10
👉และเมื่อย้ายตัวอ่อนแล้ว กลุ่มที่ได้รับ Q10 มีอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงกว่า
.
📚 อีกงานวิจัยอีกหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2020 ได้ทำการทดลองให้ผู้หญิงอายุมาก (อายุ 38-46 ปี)
ศึกษาพบว่า...การรับประทาน Q10 ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่รวมถึง ลดอัตราการแบ่งเซลล์และโครโมโซมผิดปกติของเซลล์ไข่อีกด้วย
.
Coenzyme Q10 คืออะไร❓
CoQ10 คือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามินซึ่งร่างกายสามารถผลิตเองได้ในปริมาณหนึ่ง พบในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย
Co-enzyme Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง และพบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รวมไป
ถึง "เซลล์ไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์"
ไมโตคอนเดรียมีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างพลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย มีคุณสมบัติ "ช่วยเพิ่มพลังงาน" ซึ่ง Co-enzyme Q10 ทำงานโดยช่วยเพิ่มพลังให้กับ Mitocondria ของเซล์ไข่นั่นเองค่ะ
.
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Free radical Biology and Medicine เมื่อปี 2019
ศึกษาพบว่า...ระดับ Q10ในร่างกายจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้ญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์หรือเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วควรได้รับ Q10 ในปริมาณที่เพียงพอเพื่อทำให้ไมโตคอนเดรียทำงานได้ดียิ่งขึ้นซึ่งปัจจุบันสามารถหาทานได้จากวิตามินเสริม
.
ดังนั้นแม่ๆที่มีอายุมาก โดยเฉพาะวัย 35+
ต้องเพิ่มพลังงงานให้กับเซลล์ไข่ได้แบ่งตัวอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจากงานวิจัยการได้รับ Q10 เสริมให้เพียงพอ ส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่
Q10 ช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์ไข่แบ่งตัวได้อย่างสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มโอกาสได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพและส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นค่ะ
Comments