ESR ร่างกายอักเสบ (Inflammation) คำนี้แม่ๆ อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร เหตุใดร่างกายเราถึงเกิดการอักเสบ และการอักเสบนี้..รู้ไหมคะว่ามันเป็นภัยเงียบที่ซ่อนอยู่และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราท้องยาก
ESR ค่าบอกร่างกายอักเสบ หากค่านี้ยิ่งสูงโอกาสตั้งครรภ์ก็ยิ่งยากไปด้วย
แม่ๆ หลายคนอาจผ่านการเจาะเลือดเพื่อตรวจฮอร์โมนต่างๆในการเช็คหาสาเหตุการมีบุตรยาก บางกรณีแม่ๆ พบว่าค่าฮอร์โมนทุกอย่างปกติ แต่ทำไมถึงยังไม่ท้องสักที...สาเหตุอาจมาจากร่างกายอักเสบก็เป็นได้ค่ะ ซึ่งแม่ๆ หลายคนอาจไม่เคยตรวจค่า ESR ซึ่งเป็นค่าที่บอกร่างกายอักเสบ
วันนี้ครูก้อยสืบค้นข้อมูลเรื่องการอักเสบและผลกระทบของการอักเสบต่อภาวะเจริญพันธุ์มาฝาก
ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ
การอักเสบคืออะไร?
การอักเสบเป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อให้กลับมาเป็นปกติ การอักเสบจะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันการทำลายเซลล์ หรือ การบาดเจ็บในร่างกายซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ความเครียด ความเจ็บป่วย การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมไปถึงสภาวะทางจิตที่ไม่ปกติ ร่างกายจะตอบสนองกับภัยคุกคามนี้โดยการปล่อยสารมาควมคุมให้ร่างกายคงสภาวะสมดุลเอาไว้เรียกว่าสภาวะ Homeostasis โดยร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดขาวมาต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเมื่อร่างกายมีการอักเสบมาก สภาวะในร่างกายจะมีสารโปรตีนที่หลั่งจากเซลล์ต่างๆในระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่า Cytokine ออกมามาก ซึ่งสามารถตรวจหาโปรตีนชนิดนี้เพื่อเช็คความอักเสบในร่างกายได้
กระบวนการอักเสบเป็นกลไกในการป้องกันสิ่งแปลกปลอม แต่หากมีการอักเสบมากเกินไปก็จะเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้
การตรวจ ESR หาค่าการอักเสบคืออะไร?
การตรวจ ESR นั้นย่อมาจาก Erythrocyte Sedimentation Rate ซึ่งไม่ได้ใช้ในการวินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะช่วยบอกข้อมูลว่าคุณกำลังมีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกายหรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจ ESR ร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งการตรวจอื่นๆ นั้นก็จะขึ้นกับอาการที่คุณมี นอกจากนั้นการตรวจนี้ยังอาจจะใช้ติดตามโรคที่มีการอักเสบก็ได้
ในการทดสอบนี้จะต้องใช้การเจาะเลือดก่อนนำไปดูอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือด การอักเสบในร่างกายนั้นจะทำให้มีโปรตีนผิดปกติเกิดขึ้นในเลือด ซึ่งอาจทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นเกาะตัวกันและตกตะกอนเร็วกว่าปกติ ซึ่งค่า ESR ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 20 mm/hr
การอักเสบสัมพันธ์กับการมีบุตรยากอย่างไร?
การอักเสบที่เกิดขึ้นในระยะสั้นถือว่าเป็นกลไกที่ปกติของร่างกาย แต่หากมีการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ก็จะนำไปสู่การเจ็บป่วยต่างๆ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอักเสบของร่างกาย มีอะไรบ้าง?
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Science เมื่อปี 2011 ศึกษาพบว่า...
การอักเสบเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคทางสูติศาสตร์ (Gyneological disease) ซึ่งการอักเสบ (Inflammation) ส่งผลต่อการตกไข่และการสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรนั้นการอักเสบมี
ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะต่างๆ ดังนี้
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ
ซีสต์รังไข่ หรือ เนื้องอกในโพรงมดลูก
รังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย
เซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์มที่ด้อยคุณภาพ
การที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้น
เมื่อร่างกายอาจเข้าข่ายภาวะอักเสบจนมีบุตรยาก ควรบำรุงตนเองอย่างไร?
สาวๆ หลายท่านอาจกำลังคิดว่าในการบำรุงร่างกายในช่วงที่ตนเองมีความเสี่ยงที่จะมีร่างกายอักเสบต้องทานแต่ยาและของที่หายากๆ แน่ๆ แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่เลยค่ะ จริงอยู่ที่การทานยาก็เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาแต่การเลือกรับประทานอาหารในเมนูที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ก็สามารถช่วยไดเช่นกัน ดังนี้ค่ะ
ในบ้านเราน้ำมะกรูด ถือเป็นสมุนไพรที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูงมากค่ะ โดยเฉพาะ "เควอซิทีน" ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระจะทำหน้าที่ปกป้องเซลล์และเนื้อเยื่อจากการถูกทำลายจากกระบวนการอักเสบ
นอกจากนี้ควรทานไขมันดีจากปลาแซลมอน หรือจากธัญพืช เช่น เมล็ดฟักทอง งาดำ แซลม่อน และ คาร์โบไฮเดรตเขิงซ้อนที่ไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ก็จะส่งให้ร่างกายไม่อักเสบเพิ่มมากขึ้น
อาหารที่ลดการอักเสบในร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกชนิดหนึ่ง คือ "ขิงดำ" ค่ะ ในขิงดำมีสารที่ช่วยต้านการอักเสบ (anti-inflammation) ได้แก่ shogaol, paradol และ zingerone
แม่ๆสามารถชงขิงดำดื่มวันละ 1 แก้ว หรือ ใส่ขิงดำลงในน้ำปั่นผักผลไม้ดื่มได้ทุกวัน เพื่อลดการอักเสบในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายกลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ค่ะ
การอักเสบอาจเกิดขึ้นในร่างกายโดยอาจจะแสดงหรือไม่แสดงอาการ แม่ๆ สามารถป้องกันร่างกายจากการอักเสบที่มากเกินไปด้วยการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เน้นหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ หากพบอาการผิดปกติใดๆในร่างกายควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะทำการวินิจฉัยและอาจตรวจค่า ESR เพื่อประเมินค่าการอักเสบในร่างกายและประเมินแนวทางรักษาต่อไปค่ะ
Comments