top of page
ค้นหา

ภูมิคุ้มกันตก มีลูกยากไหม เสริมภูมิคุ้มกันได้ด้วยวิธีไหนบ้าง



ระบบภูมิคุ้มกันเป็นระบบหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าหากระบบทำงานผิดปกติหรือภูมิคุ้มกันตกก็อาจส่งผลต่อการทำงานของระบบอื่น ๆ ในร่างกายที่ผิดปกติไปจากเดิม และหากปล่อยให้อาการรุนแรงมากก็อาจมีผลถึงแก่ชีวิตได้เลยนะคะ และวันนี้ครูก้อยจะพามาทำความรู้จักกับภาวะภูมิคุ้มกันตกกันว่าคืออะไร มีผลต่อการมีลูกอย่างไรบ้าง แล้วเราจะเสริมระบบภูมิคุ้มกันอย่างไรให้แข็งแรงได้บ้าง มาอ่านไปด้วยกันเลยค่ะ


ภูมิคุ้มกันตกคืออะไร


เป็นภาวะความผิดปกติของภูมิคุ้มกันที่ลดลง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำงานผิดปกติและด้อยประสิทธิภาพลง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อร้ายง่ายขึ้นและรุนแรงมากขึ้น บางรายอาจเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disease) ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติและย้อนมาทำร้ายเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ ภายในร่างกาย หากติดเชื้อเพียงเล็กน้อยก็อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว แม้ว่าภาวะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะดังกล่าวได้เช่นกัน


สาเหตุของภูมิคุ้มกันตก


1. เป็นผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องจากกรรมพันธุ์


หากคุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวป่วยเป็นผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจส่งผลมีถึงลูกหลานได้ด้วยเช่นกัน หากผู้ป่วยดูแลสุขภาพร่างกายไม่ดี อาจทำให้ร่างกายอ่อนแอและป่วยง่ายกว่าคนทั่วไป


2. พักผ่อนไม่เพียงพอ


โดยทั่วไปแล้วหากเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ คุณแม่เตรียมท้องควรนอนพักผ่อนประมาณ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่หากคุณแม่นอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ไม่เต็มที่ ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) น้อยกว่าเดิม นอกจากจะทำให้ร่างกายซ่อมแซมเนื้อเยื้อส่วนต่าง ๆ ได้น้อยลงแล้ว ยังกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดหรือคอร์ติซอล (Cortisol) เข้าไปรบกวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง เป็นเหตุทำให้การตกไข่ผิดปกติและไม่เกิดการตั้งครรภ์ หากปล่อยไว้นานอาจเสี่ยงต่อภาวะวัยทองก่อนวัยอันควรอีกด้วยค่ะ


3. รับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ


โดยทั่วไปแล้วใคร ๆ ก็อยากมีสุขภาพดีกันทั้งนั้นใช่มั้ยล่ะคะ แต่ด้วยวิถีชีวิตในแต่ละวันที่ทำให้ใครหลายรีบเร่งและรับประทานอาหารที่ทำง่ายอย่างอาหารผัด อาหารทอด อาหารแปรรูป ฯลฯ หากเรารับประทานอาหารเหล่านี้เป็นเวลานานอาจทำให้ร่างกายสะสมไขมันหรือน้ำตาลมากเกินไป อาจรบกวนระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ


4. ออกกำลังกายน้อยเกินไป


ใคร ๆ ก็รู้อยู่แล้วว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย เพราะนอกจากจะช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยป้องกันการอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation) ที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน, โรคหัวใจ, โรคไตอักเสบ, โรคทางเดินหายในส่วนล่างอักเสบ, โรคสมองถูกทำลายจากการขาดเลือด, ข้อกระดูกอักเสบ รวมถึงโรคมะเร็งอีกด้วยค่ะ แต่ในความเป็นจริงแล้วหลายคนกลับไม่มีเวลามากพอหรือเหนื่อยล้าจากกิจวัตรประจำวันจนไม่มีแรงออกกำลังกาย บางคนอาจออกกกำลังกายเพียงครั้งเดียวก็ถอดใจ ไม่ออกต่อแล้ว เมื่อร่างกายไม่ได้ออกแรงเป็นเวลานาน ภูมิต้านทานในร่างกายก็อ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมานั่นเองค่ะ


5. ภาวะความเครียด


หากคุณเป็นคนหนึ่งที่จัดการภาวะความเครียดได้ไม่ดีเท่าที่ควร ครูก้อยขอแนะนำให้หาวิธีจัดการความเครียดโดยด่วนค่ะ เพราะความเครียดนั้น นอกจากจะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลอันเป็นผลทำให้นอนหลับยากขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างยิ่ง เพราะฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่องและเกิดโรคเรื้อรังอื่น ๆ ตามมา อย่างเช่น โรคหัวใจ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคกระดูกพรุน ฯลฯ


แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าภูมิตก

  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย อยากนอนตลอดเวลา

  • แพ้อากาศ คัดจมูก แสบจมูก

  • ไอจามบ่อยเกินไป

  • มีผื่นแพ้ กลาก เกลื้อน ผิวหนังอักเสบง่าย

  • เป็นหวัดง่ายและบ่อยกว่าปกติ

  • ท้องเสียเรื้อรังจากภาวะติดเชื้อง่าย

  • เป็นแผลง่ายแต่หายช้า

  • เบื่ออาหาร


ภูมิคุ้มกันตกมีผลต่อการมีลูกอย่างไร


เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่และป้องกันเชื้อโรคจากภายนอกร่างกายได้น้อยลง เป็นผลทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ป่วยง่ายหายยาก รวมถึงมีภาวะเครียดสูงและเครียดเรื้อรังจนกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีลูกยากขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนความเครียดจะเข้าไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ขัดขวางการทำงานของสมองและรังไข่ เป็นเหตุทำให้การตกไข่ผิดปกติและตั้งครรภ์ยากนั่นเองค่ะ


ภูมิคุ้มกันตกแก้ได้อย่างไรบ้าง


1. รับประทานอาหารให้ถูกโภชนาการ


แม้วิถีชีวิตของเราจะเร่งรีบแค่ไหน แต่อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารให้ถูกโภชนาการกันด้วยนะคะ โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่จะต้องมีความหลากหลาย​ โดยทั่วไปแล้วควรทานข้าวเป็นอาหารหลัก แต่สลับกับอาหารประเภทแป้งชนิดอื่นบ้างเป็นบางมื้อ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บญวน ฯลฯ รวมถึงทานผักให้มากขึ้นและทานผลไม้เป็นประจำ​ ส่วนเนื้อสัตว์จะเน้นไปที่เนื้อสัตว์ไม่ติดมันหรือปลาก็ดีอาหารที่มีไขมันและน้ำมันก็กินได้นะคะ เพียงแต่ควรทานให้พอดี งดอาหารรสหวานและเค็มจัด​ก็ดีเหมือนกันค่ะ และที่สำคัญควรรับประทานอาหารปรุงสุกทุกครั้งเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากอาหารดิบซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายง่ายและทำให้ร่างกายอ่อนแอค่ะ


แต่หากใครยังไม่รู้ว่าจะเลือกรับประทานอาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกันชนิดไหนดี ครูก้อยขอแนะนำให้เลือกรับประทานอาหารหรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติกส์อย่าง Ferty Probiotics By KruKoy เฟอร์ตี้ โพรไบโอติกส์ บาย ครูก้อย ด้วยจะดีมากเลยค่ะ เพราะโพรไบโอติกส์เป็นกลุ่มแบคทีเรียชนิดดีที่อาศัยอยู่ตามระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินหายใจ ฯลฯ ทำหน้าที่ผลิตสารกำจัดเชื้อแบคทีเรียชนิดไม่ดีออกจากร่างกาย อีกทั้งมีส่วนช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพของการดูดซึมอาหาร, รักษาโรค ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีและป้องกันสภาวะผิดปกติของร่างกายอีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกายให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์, ผู้ที่มีไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้ และผู้ที่ต้องการให้ร่างกายมีฮอร์โมนที่สมดุล ทานได้ทุกวัน ทุกช่วงเวลา


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมคลิก: Ferty Probiotics By KruKoy เฟอร์ตี้ โพรไบโอติกส์ บาย ครูก้อย


2. นอนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย


นอกจากการนอนจะช่วยฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่นพร้อมทำกิจวัตรประจำวันแล้ว ยังช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนแห่งความเครียดที่รบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจนทำให้ภูมิคุ้มกันตก ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วยค่ะ สำหรับการนอนหลับพักผ่อนที่ดีควรนอนประมาณ 7 - 8 ชั่วโมง โดยนอนในช่วงเวลา 20.00 - 22.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายกำลังหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) เพื่อให้เรานอนหลับง่าย แต่หากไม่สามารถนอนในช่วงเวลาดังกล่าวได้ก็ควรนอนไม่เกิน 23.00 - 02.00 น.


3. จัดการความเครียดอย่างเหมาะสม


หากคุณรู้สึกเครียด ครูก้อยขอแนะนำให้หากิจกรรมทำแก้เครียด อย่างการดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เดินเล่น หรือลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ จะช่วยเติมเต็มความรู้สึกทางใจได้เป็นอย่างดี แต่หากคุณลองทำแล้วยังรู้สึกไม่สบาย แนะนำให้พูดคุยหรือระบายกับคนในครอบครัวให้มากขึ้นค่ะ แต่ในกรณีที่คุณแม่เตรียมท้องเครียดที่น้องยังไม่มาสักที ครูก้อยแนะนำให้ลองพูดคุยกับแม่ ๆ ในกลุ่มเตรียมตั้งครรภ์ตามช่องทางออนไลน์ดูนะคะ นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ให้กันและกันแล้ว ยังมีแม่ ๆ อีกหลายคนที่ต้องการกำลังใจเหมือนกันค่ะ


4. ออกกำลังกายแต่พอดี


การออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หักโหมหรือทิ้งช่วงนานเกินไป ออกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที (วันละ 30 - 45 นาที) นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์อีกด้วยนะคะ กรณีที่เป็นผู้หญิงที่มีภาวะโรคอ้วน การออกกำลังกายหนักเพื่อลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานนั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้มากขึ้น หรือหากเป็นผู้หญิงที่มีภาวะไข่ตกผิดปกติ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการตกไข่ผิดปกติได้เป็นอย่างดีค่ะ


บทความที่น่าสนใจ

ดู 174 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page