top of page
ค้นหา

ผลตัวอ่อน Day1: หลังใส่ตัวอ่อนระยะ Full Blast (เลี้ยง 5 วัน)



ผลตัวอ่อน Day1 หลังย้ายเข้ามดลูก ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นสำหรับครูก้อยมากค่ะ และเชื่อเหลือเกินกว่าคุณแม่หลายๆ คนก็คงคิดเช่นเดียวกัน โดยในบทความนี้จะเป็นประสบการณ์หลังการย้ายตัวอ่อนของครูก้อยในวันแรกที่อยากมาแชร์ให้เหล่าคุณแม่มือใหม่ได้อ่านกันค่ะ


"ผลตัวอ่อน Day1" มาดูกัน หลังย้ายตัวอ่อนเข้ามดลูก มีพัฒนาการณ์อย่างไรบ้าง จากประสบการณ์ของ ครูก้อย


แม่ๆที่ทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) อาจรู้จักกับตัวอ่อนระยะต่างๆจากที่คุณหมอแจ้ง และอาจพอทราบว่าตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ หรือ Day5 เป็นตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่สุดที่เหมาะสมในการใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก


อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าแม่ๆที่ทำเด็กหลอดแก้วต้องใส่ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์เท่านั้นจึงจะประสบความสำเร็จ เพราะการตั้งครรภ์ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นร่วมด้วย ทั้งเรื่องความแข็งแรงของผนังมดลูก โครโมโซมของตัวอ่อน และสุขภาพของแม่ เป็นต้น


ตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ มีกี่ระยะ อะไรบ้าง?


อย่างไรก็ตามวันนี้ครูก้อยจะพาไปทำความรู้จักกับตัวอ่อนบลาสโตซิสต์ ซึ่งการประเมินบลาสโตซิสต์จะขึ้นอยู่กับ expansion state (รูปร่างของเซลล์ของตัวอ่อน) ซึ่งมี 6 ระยะ ดังนี้ค่ะ


1. Early Blastocyst

จะมีบลาสโทซีล (Blastocoel) น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาตรตัวอ่อน (ในระยะ Blastocyst จะมีการเคลื่อนที่ของเซลล์เพื่อให้ได้ช่องว่างในตัวอ่อน เรียกช่องว่างนี้ว่า Blastocoel)


2. Blastocyst

จะมีบลาสโทซีลมากกว่าครึ่งหนึ่งของขนาดตัวอ่อน


3. Full Blastocyst

มีบลาสโทซีลเจริญเต็มที่อยู่ในตัวอ่อน และขนาดตัวอ่อนเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น


4. Expanded Blastocyst

ปริมาตรของบลาสโทซีลมีขนาดใหญ่กว่า 3 ระยะแรกของตัวอ่อน เปลือกไข่ หรือ Zona pellucida จะ

บางลงครึ่งหนึ่ง รวมทั้งขนาดตัวอ่อนจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น


5. Hatching Blastocyst

ส่วนที่จะเติบโตไปเป็นรกหรือ Trophectoderm เริ่มโผล่ออกมาจากเปลือกแล้ว


6. Hatched Blastocyst

ตัวอ่อนฟักตัวหลุดออกมาจากเปลือกแล้ว


จาก 6 ระยะนี้จะเห็นว่าระยะที่ 6 เหมาะสมในการย้าย และเป็นตัวอ่อนเกรดที่ดีเพราะตัวอ่อนฟักออกจากเปลือกพร้อมฝังตัวนั่นเอง


นอกจากนี้การประเมินเกรดตัวอ่อนยังต้องพิจารณา Inner Cell Mass (เซลล์ที่จะเจริญเติบตัวไปเป็นตัวอ่อน) และ Trophectoderm (เซลล์ที่จะเจริญเติบโตไปเป็นรก) ประกอบด้วยค่ะ


การปฏิบัติตัวหลังการใส่ตัวอ่อน


1. นอนพักหลังการใส่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นสามารถเดิน ทางกลับบ้านได้

2. สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้ (การขึ้นเครื่องไม่มีผลเสีย)

3. งดเพศสัมพันธ์และไม่สวนล้างช่องคลอด

4. สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุว่าการจำกัดกิจกรรมจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ นอนพักนิ่งๆไม่ช่วยเพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน

5. งดการออกกำลังกายหนักๆ เช่น ปีนเขา วิ่งมาราธอน เทนนิส เป็นต้น

6. ไม่รับประทานยานอกเหนือจากที่แพทย์กำหนด หรือปรึกษาแพทย์ ก่อนรับประทานยานั้นๆ


อย่างไรก็ดีค่ะ ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ชิ้นใดระบุถึงอาหารหรือการปฏิบัติตัว ที่จะมีผลสำเร็จต่อการตั้งครรภ์ โดยธรรมชาติจะอนุญาตให้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่รอด โดยทารกที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มีโอกาสพบความผิดปกติไม่ต่างจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ


สำหรับการใช้ฮอร์โมนหลังการย้ายตัวอ่อนมีความจำเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องใช้ตามแพทย์กำหนด

อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด เช่น มีภาวะรังไข่ถูกกระตุ้น มากเกินไป (อาการท้องอืดมาก ปัสสาวะออกน้อยลง) ปวดท้องมากมีเลือดออกทางช่องคลอด


บันทึกการตั้งครรภ์ของ ครูก้อย #Day1 : (หลังใส่ตัวอ่อนระยะ Full Blast ;เลี้ยง 5 วัน)


วันนี้ตัวอ่อนน้อยของแม่กำลังเจาะเปลือกไข่ออกมา คงออกไม่ยากใช่มั้ยลูก เพราะคุณหมอได้ใช้เลเซอร์เจาะเปลือกไข่นำทางไว้ให้แล้ว



ภาพนี้จำลองระยะ “hatching blastocyst” ตัวอ่อนกำลังเจาะเปลือกไข่ออกมาฝังตัวที่ผนังเยื่อบุโพรงมดลูก


ตัวอ่อนที่แข็งแรงดี..จะออกจากเปลือก..เมื่อสิ้นสุดวันที่ 6 นับจากวันปฏิสนธิ และภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากที่เจาะออกจากเปลือกแล้ว..ก็จะเริ่มฝังตัวลงไปบนเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่


บทความที่น่าสนใจ

ดู 3,764 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page