หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากมีลูกมาก แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไร เจ้าตัวน้อยก็ยังไม่มาสักที ส่วนหนึ่งอาจเป็นปัญหามาจากการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีพอต่อร่างกาย ส่งผลให้ระบบสีบพันธุ์ไม่พร้อมต่อการมีลูกนั่นเองค่ะ และวันนี้คณูก้อยจะมาแนะนำอาหารที่เหมาะต่อการเตรียมความรพ้อมในการมีลูกกันค่ะ
ปรับสมดุลร่างกายให้พร้อมมีลูก ด้วยอาหารดังต่อไปนี้
1. ไขมันดี
เป็นไขมันคอเลสเตอรอลชนิดหนึ่งที่ช่วยปรับสมดุลไขมันในร่างกายด้วยการรวบรวมไขมันชนิดไม่ดีหรือ LDL (Low-Density Lipoprotein) จำนวนหลายร้อยโมเลกุลที่เกาะอยู่ตามเลือดทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด โดยไขมันดีจะขนส่งไขมัน LDL ไปให้ตับกำจัดออกจากร่างกาย ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันดีเป็นประจำ
นอกจากนี้ยังช่วยเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยนะคะ เนื่องจากไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศ หากผู้หญิงอย่างเรามีสุขภาพที่ดี มีไขมันชนิดดีในระดับที่เหมาะสม โอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่า แต่หากเราไม่ทานไขมันดีเลย ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อย ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศไม่สมดุลละนำมาสู่การมีลูกยากนั่นเองค่ะ สำหรับอาหารที่มีไขมันดีประกอบไปด้วยน้ำมันดอกทานตะวัน (Sunflower oil), น้ำมันกระเทียม (Garlic oil), น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed oil), น้ำมันฟักข้าว (Gac oil), น้ำมันอะโวคาโด (Avocado oil), น้ำมันงาขี้ม้อน (Perilla oil), น้ำมันมะกอก (Olive Oil), น้ำมันสาหร่าย (Algae Oil) และน้ำมันงา (Sesame oil)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: คลิก
2. ผักใบเขียว
อุดมไปด้วยกรดโฟลิก (Folic) หรือวิตามิน B9 ที่มีส่วนช่วยในการสร้างและแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนสมบูรณ์ตั้งแต่หลังการปฏิสนธิภายใน 28 วัน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างตัวอ่อน สร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ ป้องกันและลดโอกาสเกิดความผิดปกติของระบบประสาท รวมถึงช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม และควบคุมการสร้างกรดอะมิโนจำเป็นในการแบ่งเซลล์อีกด้วย สำหรับผักใบเขียวที่ครูก้อยแนะนำ ได้แก่ ผักโขม, ผักคะน้า, บรอกโคลี, แครอท เป็นต้น
3. อาหารทะเล
อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โปรตีน และที่สำคัญมีกรดไขมันโอเมก้า 3 อีกทั้งยังช่วยในการเสริมสร้างสมองของทารก ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและทักษะด้านการพูดของลูกน้อย แม้ว่าอาหารทะเลจะมีประโยชน์ต่อคุณแม่ แต่เราก็แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคปลาและหอยบางประเภทที่มีสารปรอทสูง เพราะอาจทำลายระบบประสาทของทารก ได้แก่ ปลาอินทรี, ปลาแซลมอน, ปลาฉนาก (ปลาดาบ), ปลากระโทงแทง ส่วนอาหารทะเลที่ควรรับประทานได้แก่ กุ้ง, ปลาแซลม่อน,ปลาดุก โดยรับประทานได้สัปดาห์ละ 12 ออนซ์ (ประมาณอาหาร 2 มื้อ) และอย่าลืมปรุงให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่นำมาสู่ภาวะร่างกายอ่อนแอและลดโอกาสการตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ
4.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามิน C สูงที่มีส่วนช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์สืบพันธุ์ไม่ให้ได้รับความเสียหาย ส่งผลให้คุณภาพไข่ของคุณผู้หญิงแข็งแรง พร้อมต่อการตั้งครรภ์ อีกทั้งกระตุ้นอารมณ์ทางเพศให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันภาวะสมองผิดปกติของลูกน้อยในครรภ์ได้อีกด้วยค่ะ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่ครูก้อยแนะนำได้แก่ สตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี แบล็กเบอร์รี มัลเบอร์รี เป็นต้น
5. นมสด
อุดมไปด้วยแคลเซียมที่มีส่วนช่วยเร่งให้มดลูกตกไข่ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น สำหรับนมที่ครูก้อยแนะนำให้คุณแม่เตรียมท้องดื่มนั้นจะเป็นนมแพะค่ะ เนื่องจากมีกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่ย่อยได้ง่ายกว่านมวัว ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดี เซลล์ได้รับสารอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารอาหารสำคัญอย่างวิตามิน A ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ที่ดักจับเชื้อโรคได้ดีกว่านมวัว, วิตามิน C เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง, วิตามิน E ช่วยเสริมสร้างการทำงานของทีเซลล์ (T-cell) และป้องกันการติดเชื้อร่วมกับบีเซลล์ (B-cell), วิตามิน B6 ช่วยกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้ ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ดีและลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: คลิก
6. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
นอกจากจะเป็นอาหารที่ใช้เวลาในการย่อยนาน จึงช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินให้คงที่ ช่วยให้อิ่มง่าย แก้หิวได้นานกว่าคาร์โบไฮเดรตแบบทั่วไปแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้มีมากเกินไปจนเข้าไปรบกวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ซึ่งภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงนี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้วงจรการตกไข่ผิดปกติและนำไปสู่การมีลูกยาก สำหรับคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ครูก้อยแนะนำได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ธัญพืช เป็นต้น
สุดท้ายนี้ต่อให้คุณรับประทานตามที่ครูก้อยบอกทุกอย่าง แต่นั่นเป็นเพียงแค่ตัวช่วยหนึ่งเท่านั้น เพราะหากคุณยังไม่งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ ก็อาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ยากได้เหมือนเดิม เนื่องจากสารพิษจากสองสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศที่ผิดปกติจนเกิดภาวะไข่ไม่ตก เป็นเหตุทำให้คุณภาพไข่ลดลง โอกาสตั้งครรภ์ก็ยากขึ้น รวมไปถึงความเคยชินที่แม่ ๆ หลายคนทำกันบ่อย ๆ อย่างการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือจัดการความเครียดได้ไม่ดีพอ อาจทำให้การปล่อยไข่น้อยลง โอกาสตั้งครรภ์ก็น้อยลงด้วยเช่นกันค่ะ
Comments