top of page
ค้นหา

การแช่แข็งตัวอ่อนทำได้นานสุดกี่ปี

ยังมีคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อีกหลายคนที่ยังสงสัยว่าการแช่แข็งตัวอ่อนทำได้นานสุดกี่ปี แล้วทำไมถึงเป็นทางเลือกในการรักษาที่คุณหมอต่างยอมรับแล้วว่าไม่มีข้อเสียเลย เรามาดูกันเลยค่ะ

กระบวนการแช่แข็งตัวอ่อนคืออะไร

การเก็บไข่และการเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ ถ้ามีการปฏิสนธิของไข่หรือตัวอ่อนมากกว่า 4 ตัว และไม่สามารถใส่กลับเข้าโพรงมดลูกในรอบนั้น คุณหมอจะแช่แข็งตัวอ่อนด้วยวิธีที่ใช้กันใน IVF Center หลายแห่ง โดยจะควบคุมการแช่แข็งและละลายตัวอ่อนที่ให้ความสำเร็จสูง ตัวอ่อนจะอยู่ในหลอดพลาสติกและเก็บรักษาไว้ในไนโตรเจนเหลวซึ่งมีความเย็นจัด เป็นวิธีมาตรฐานในการเก็บรักษาตัวอ่อน ในรอบการเตรียมตัวใส่ตัวอ่อนที่แช่แข็ง คุณแม่อาจจะทำในรอบตกไข่ธรรมชาติซึ่งจะได้รับการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงและวัดค่า LH เพื่อบ่งชี้ว่ามีการตกไข่เมื่อไหร่ หลังจากนั้นจะละลายตัวอ่อนและใส่กลับเข้าโพรงมดลูกในเวลาที่เหมาะสมหลังจากตกไข่ ซึ่งต้องสัมพันธ์กันระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อนกับเยื่อบุโพรงมดลูกด้วย หรือคุณแม่อาจไม่ต้องรอรอบการตกไข่ธรรมชาติแต่จะได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ควรทานทุกวันจนกระทั่งตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์หรือเมื่อผลทดสอบพบว่าไม่ตั้งครรภ์ ส่วนขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งจะคล้ายกับการย้ายตัวอ่อนปกติ


การแช่แข็งตัวอ่อนเหมาะกับใครบ้าง

  • ผู้ที่ได้ตัวอ่อนเกินกว่าจำนวนที่จะย้ายเข้าโพรงมดลูก

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS)

  • ผู้ที่ย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกไม่ได้ในรอบการกระตุ้นไข่ เนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ

  • ผู้ที่เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์จากการใส่ตัวอ่อนที่ดี ในรอบที่มีระดับฮอร์โมนเหมาะสม


แช่แข็งตัวอ่อนได้นานสุดกี่ปี


สำหรับคำถามที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนสงสัยนี้ ครูก้อยขอตอบเลยว่าการเก็บตัวอ่อนแช่แข็งมักจะมีระยะเวลามากที่สุด 5 ปี หลังจากนั้นคุณหมอจะให้คู่สมรสเป็นผู้พิจารณาว่าจะแช่แข็งต่อหรือให้ทำลายทิ้ง

สรุปข้อดีการแช่แข็งตัวอ่อน

  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดแฝด 3 หรือ แฝด 4 โดยการแช่แข็งตัวอ่อนที่เหลือจากการใส่กลับเข้าโพรงมดลูก

  • เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ โดยใส่ตัวอ่อนที่ละลายแล้วในรอบที่เกิดการตกไข่เอง หรือรอบที่มีระดับ Estrogen และ Progesterone ไม่มากเกิน

  • ลดจำนวนรอบการกระตุ้นไข่ที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ทำให้ลดค่ากระตุ้นไข่และการเจาะไข่

  • ในขั้นตอนการแช่แข็งตัวอ่อน ย่อมมีการสูญเสียตัวอ่อนจากความเสียหายที่เกิดจาการแช่แข็ง นั่นคือ ตัวอ่อนบางส่วนอาจไม่รอดชีวิตจากการแช่แข็งหรือละลาย ปัจจุบันการสูญเสียตัวอ่อนจากการแช่แข็ง ยังไม่มีตัวเลขที่แท้จริง แต่เป็นสาเหตุให้สูญเสียตัวอ่อนได้มากถึง 30 – 50 %

  • เด็กที่เกิดจากตัวอ่อนแช่แข็งยังไม่มีความเสี่ยงที่จะมีความผิดปกติ ซึ่งในสัตว์ การแช่แข็งตัวอ่อนและการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งไม่มีผลต่อการเพิ่มความผิดปกติแรกเกิด ในปี 1994 มีรายงานความเสี่ยงความผิดปกติแรกเกิดไม่เพิ่มขึ้นในเด็กที่เกิดจากการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งเมื่อเทียบกับเด็กที่เกิดจากแม่ที่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง


บทความที่น่าสนใจ

ดู 533 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page