หากพูดถึงการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงแล้วหลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก หรือบางคนอาจคิดว่าต้องพึ่งการรักษาทางการแพทย์เพียงอย่างเดียว จนละเลยในการดูแลสุขภาพตัวเองและลดโอกาสมีลูกให้น้อยลง รวมถึงเกิดปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาวเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่หากสาว ๆ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นแล้วล่ะก็ วันนี้ครูก้อยจะมาแนะนำวิธีปรับสมดุลฮอร์โมนเพศแบบง่าย ๆ กันค่ะ
วิธีปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิงแบบง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
1. ออกกำลังกาย
แม้ว่าวิธีนี้อาจจะเหนื่อยสักหน่อย แต่ครูก้อยรับรองว่าคุ้มแน่นอน นั่นคือการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่ออกน้อย ทิ้งระยะห่างนานจนเกินไปหรือไม่ออกแบบหักโหม กะว่าเล่นวันนี้วันเดียวแล้วร่างกายแข็งแรงเลย แบบนี้ก็ไม่เอานะคะ สำหรับข้อดีของการออกกำลังกายนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อีกทั้งช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนได้ด้วยนะคะ
นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ให้มากขึ้นอีกด้วยนะคะ เพราะการออกกำลังจะกระตุ้นการเพิ่มระดับฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) ในสมอง ช่วยให้สาว ๆ รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียดได้เป็นอย่างดี, ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน (Serotonin) ช่วยให้สาว ๆ หลับสบายตลอดทั้งคืน ส่งผลให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายฟื้นฟูและทำงานได้เต็มประสิทธิภาพโดยเฉพาะระบบย่อยอาหาร และเมื่อระบบย่อยอาหารทำงานดีก็จะทำให้ร่างกายใช้ไขมันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณไขมันชนิดไม่ดีสะสมในร่างกายน้อยลง น้ำหนักจึงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และที่สำคัญการออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติอีกด้วยค่ะ สำหรับการออกกำลังกายที่ครูก้อยแนะนำได้แก่ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เล่นโยคะ เป็นต้น
2. รับประทานอาหารเตรียมท้อง
สำหรับอาหารเตรียมท้องที่ครูก้อยแนะนำจะเป็นอาหารที่เสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ์และเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกาย มีดังนี้
โปรตีน ช่วยบำรุงเซลล์และซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย บำรุงเซลล์ไข่ให้แข็งแรงสมบูรณ์และเสริมสร้างความแข็งแรงของผนังมดลูก โปรตีนพบได้ถั่วเหลือง, งาดำ, ไข่, ปลา, นมแพะ, อกไก่ไม่ติดมัน
ผักใบเขียว อุดมไปด้วยกรดโฟลิก (Folic) หรือวิตามิน B9 ที่มีส่วนช่วยในการสร้างและแบ่งเซลล์ในตัวอ่อนสมบูรณ์ตั้งแต่หลังการปฏิสนธิภายใน 28 วัน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างตัวอ่อน สร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกน้อยในครรภ์ ป้องกันและลดโอกาสเกิดความผิดปกติของระบบประสาท รวมถึงช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม และควบคุมการสร้างกรดอะมิโนจำเป็นในการแบ่งเซลล์อีกด้วย สำหรับผักใบเขียวที่ครูก้อยแนะนำ ได้แก่ ผักโขม, ผักคะน้า, บรอกโคลี, แครอท เป็นต้น
อาหารทะเล อุดมไปด้วยโอเมก้า 3, สังกะสี และวิตามิน C, D, B12, ธาตุเหล็ก, เซเลเนียม และทองแดง ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ กระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่สำหรับการตั้งครรภ์ และปรับสมดุลของฮอร์โมนเพศ สำหรับอาหารทะเลที่ครูก้อยแนะนำ ได้แก่ ปลาทะเลอย่างปลาแซลมอน
ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามิน C สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสียหายของเซลล์สืบพันธุ์ ส่งผลให้คุณภาพไข่แข็งแรงพร้อมต่อการตั้งครรภ์ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่ครูก้อยแนะนำได้แก่ สตรอว์เบอร์รี มัลเบอร์รี แบล็กเบอร์รี เป็นต้น
นมแพะ อุดมไปด้วยกรดไลโนเลอิก เป็นไขมันไม่อิ่มตัวที่ย่อยได้ง่ายกว่านมวัว ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ดี เซลล์ได้รับสารอาหารมากขึ้น, มีวิตามิน A ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์ดักจับเชื้อโรค, มีวิตามิน C ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน, มีวิตามิน E ช่วยเสริมสร้างการทำงานของทีเซลล์ (T-cell) และป้องกันการติดเชื้อร่วมกับบีเซลล์ (B-cell), มีวิตามิน B6 กระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้สำหรับป้องกันเชื้อโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้ร่างกายอ่อนแอและมีลูกได้ยาก
3. นอนหลับเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
สำหรับการนอนหลับพักที่ดีต่อร่างกายมากที่สุดจะอยู่ที่ประมาณ 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากจะช่วยฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ในร่างกายแล้ว การนอนหลับยังช่วยลดความเครียดที่มีสาเหตุมาจากการนอนน้อยได้อีกด้วยค่ะ สำหรับช่วงเวลาพักผ่อนที่ดีที่สุดคือเวลา 20.00 - 22.00 น. และตื่นนอนเวลา 05.30 - 06.00 น. แต่ในกรณีที่คุณไม่เคยนอนช่วงเวลานี้มาก่อน ครูก้อยแนะนำให้งดเล่นมือถือบนเตียงนอน เพื่อให้ร่างกายจดจำว่าเตียงนอนมีไว้นอนเท่านั้น ก่อนนอนทุกครั้งอย่าลืมปิดเครื่องมือหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีแสงบลูไลท์ด้วยนะคะ เพราะแสงบลูไลท์จะกระตุ้นให้สมองตื่นตัว ส่งผลให้นอนหลับยาก รวมถึงดดื่มน้ำก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการปวดปัสสาวะกลางดึกด้วยค่ะ
4. จัดการความเครียดไม่ให้รบกวนจิตใจ
ความเครียดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณแม่เตรียมท้องหลายคนไม่ตั้งครรภ์สักที เพราะเมื่อเราเครียดมาก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนแห่งความเครียดออกมา ส่งผลให้เกิดการตกไข่ผิดปกติ โอกาสตั้งครรภ์จึงน้อยลงนั่นเอง ดังนั้นหากรู้สึกเครียด ครูก้อยขอแนะนำให้หากิจกรรมทำแก้เครียด เพราะการได้ทำงานอดิเรก เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เดินเล่น หรือลองทำอะไรใหม่ ๆ ถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยเติมเต็มความรู้สึกทางใจได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หากคุณแม่รู้สึกไม่สบาย อยากระบาย แนะนำให้พูดคุยกับคนในครอบครัวให้มากขึ้น อาจพูดคุยปรับทุกข์กับสามีหรือเพื่อนสนิทก็ดีไม่น้อยเลย
ในกรณีที่คุณแม่เตรียมท้องเครียดเรื่องน้องไม่มาสักที ครูก้อยแนะนำให้ลองพูดคุยในกลุ่มแม่ ๆ เตรียมตั้งครรภ์ในช่องทางออนไลน์ดูนะคะ นอกจากจะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ให้กันแล้ว ยังมีแม่ ๆ อีกหลายคนที่ต้องการกำลังใจเหมือนกันค่ะ
แต่เนื่องจากการดูแลตัวเองและเลือกรับประทานอาหารนั้นอาจทำให้ร่างกายเราแข็งแรงก็จริง แต่อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน ครูก้อยจึงขอแนะนำหลักการบำรุงเตรียมตั้งครรภ์ที่เป็นสูตรอาหารหมู่หลัก Macronutrients 70% บวกกับวิตามินและแร่ธาตุ Micronutrients อีก 30% ค่ะ โดยเน้นไปที่การเพิ่มโปรตีน, ลดคาร์บ, งดหวาน, ทานกรดไขมันดี, เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ และเสริมวิตามินบำรุงด้วย OvaAll
OvaAll อุดมไปด้วยโฟลิก (Folic), มีมัลติวิตามินและแร่ธาตุรวมกว่า 20 ชนิด (Multivitamin & Minerals) เพิ่มธาตุเหล็ก (Iron) บำรุงเลือด และสารบำรุงไข่ “อิโนซิทอล” (Inositol) รวมถึงวิตามิน D3 เข้มข้นที่ช่วยเรื่องการฝังตัวของตัวอ่อน, มีน้ำมันปลา, โคเอ็นไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10) และน้ำมันจมูกข้าว มีสรรพคุณช่วยเสริมการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิงให้มีประสิทธิภาพ บำรุงเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพและนำไปสู่ตัวอ่อนที่สมบูรณ์ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศและปรับวงจรการตกไข่ให้เป็นปกติเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ในผู้ที่มีบุตรยาก นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เตรียมทำ IUI, IVF และ ICSI อีกด้วยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: คลิก
Commentaires