บำรุงก่อนตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากค่ะ เพราะการบำรุงเตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะผู้มีบุตรยาก ไม่ว่าจะเตรียมตัวทำ IUI, IVF, ICSI หรือวางแผนท้องธรรมชาติ หัวใจหลักคือต้องเตรียมตัว “บำรุงก่อนตั้งครรภ์” ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน” ก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์
บำรุงก่อนตั้งครรภ์ ต้องเริ่มอย่างไร ให้มีบุตรได้สำเร็จ
การเตรียมสุขภาพให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อร่างกายพร้อมอย่างเต็มที่แถมมีสุขภาพจิตที่ดี ก็ย่อมส่งผลให้การให้กำเนิดและการเติบโตของชีวิตน้อยๆ ในครรภ์มารดาสมบูรณ์ไปด้วย
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่คำถาม “อยากท้องต้องเตรียมตัวอย่างไร?” จะเกิดขึ้นในหญิงสาวหลายๆ คน เพราะจากที่กล่าวไปว่าการเตรียมสุขภาพให้พร้อมเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อร่างกายพร้อมอย่างเต็มที่แถมมีสุขภาพจิตที่ดี ก็ย่อมส่งผลให้การให้กำเนิดและการเติบโตของชีวิตน้อยๆ ในครรภ์มารดาสมบูรณ์ไปด้วย เพื่อช่วยให้ว่าที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ง่ายและมีครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรง ครูก้อยจึงมีวิธีเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์มาฝากกันค่ะ
สาเหตุหลักของการตั้งครรภ์ยาก
จากที่ได้กล่าวไปว่า
1. ไข่ไม่สมบูรณ์
ไข่ คือ วัตถุดิบตั้งต้นที่จะทำให้เราท้อง ไข่ใบน้อยๆใบนี้จะกลายไปเป็นลูกของเราในอนาคต ในร่างกายเรามีเซลล์หลายล้านเซลล์ ไข่ก็คือเซลล์ และมันเป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย แถมยังเซนซิทีฟต่ออนุมูลอิสระมากๆ อีกด้วย เสื่อมง่าย เสียหายง่าย ฝ่อง่าย มันจึงเป็นปัญหาที่ทำให้เราพยายามเท่าไหร่ ก็ไม่สำเร็จเสียที ตราบใดที่วัตถุดิบตั้งต้นเรายังไม่สมบูรณ์ ไข่เรายังไม่สวย ยังมีขยะเซลล์ ยังฝ่อเสียหาย พยายามครั้งที่เท่าไหร่ก็ไม่ติด!
2. ผนังมดลูกไม่พร้อมฝังตัว
มดลูก คือ บ้านหลังแรกของลูก เมื่อไข่ที่สมบูรณ์ปฏิสนธิกับสเปิร์มที่แข็งแรง เกิดเป็นตัวอ่อนคุณภาพดี ค่อยๆแบ่งเซลล์และเดินทางเข้ามาฝังตัวที่บ้านหลังนี้ บ้านที่ดีต้องอุ่น มีเลือดไหลเวียนดี มีความหนาตัว โปร่ง ฟู และแข็งแรง พร้อมโอบอุ้มตัวอ่อนไม่ให้หลุดหรือแท้งไป
3. ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล
ฮอร์โมนที่สมดุล เปรียบเสมือนน้ำที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิต ฮอร์โมนเป็นตัวควบคุม และกระตุ้นกิจกรรมต่างๆของร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติ โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศต้องสมดุลจึงจะส่งผลให้มีลูกง่าย ฮอร์โมนมีผลตั้งแต่การผลิตไข่ การกระตุ้นไข่ให้มีการเจริญเติบโต ฮอร์โมนทำให้ไข่ตกออกจากถุงไข่ รวมถึงการทำให้ผนังมดลูกฟอร์มหนาตัวขึ้นเพื่อเพิ่มความพร้อมให้ตัวอ่อนฝังตัว
อยากตั้งครรภ์ ต้องบำรุงอะไรบ้าง?
สำหรับผู้หญิงเรานั้น มีประเด็นหลักๆ อยู่ 3 เรื่อง ที่ส่งเสริมต่อการตั้งครรภ์
ไข่ที่สวย สมบูรณ์
ผู้หญิงเราเกิดมาพร้อมเซลล์ไข่กว่า 7 ล้านเซลล์ ฟังดูเหมือนไข่ของเราเยอะมาก และไม่มีวันหมดแน่ๆใช่มั้ยคะ แต่ความจริงแล้ว…ตามธรรมชาติไข่จะฝ่อไปเรื่อยๆ ทั้งจากอายุที่มากขึ้น และจากการถูกทำลายจากเจ้าอนุมูลอิสระตัวร้าย จนเมื่อถึงเราเข้าวัยมีประจำเดือน ไข่เราจะเหลือแค่ประมาณ 7 แสนใบ แต่ทั้งนี้จะมีไข่ที่มีผลทำให้ตั้งครรภ์ได้เพียงแค่ 400-500 ฟองเท่านั้น เพราะการตกไข่แต่ละครั้งจะมีไข่เพียงฟองเดียวที่สมบูรณ์ ดังนั้น การบำรุงไข่ให้มีสุขภาพแข็งแรงจึงสำคัญมาก
มดลูกที่พร้อมฝังตัว
หนึ่งในกระบวนการสำคัญของการตั้งครรภ์ คือ การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้ดีก่อนย้ายตัวอ่อน หากเยื่อบุโพรงมดลูก หรือผนังมดลูก พร้อมเหมาะสำหรับการตั้งครรภ์ โอกาสฝังตัวของตัวอ่อนก็จะมากขึ้น แน่นอนโอกาสตั้งครรภ์ก็จะสูงขึ้นด้วย โดยเยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน จะต้องมีความหนา 8-12 มิลลิเมตร และเรียงตัวเป็นสามชั้น หากต้องการให้เยื่อบุโพรงมดลูกเหมาะสม ต้องเริ่มต้นจากฮอร์โมนที่สมดุลซึ่งต้องอาศัยการดูแลสุขภาพ และการบำรุงที่ดี
ความสมดุลฮอร์โมน
ฮอร์โมน (Hormone) คือสารเคมีที่ถูกสร้างขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อ (Edocrine Gland) แล้วส่งไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อกระตุ้น หรือยับยั้งกระบวนการต่างๆ รวมถึงการสืบพันธุ์ด้วย การมีฮอร์โมนที่ไม่สมดุลจะส่งผลต่อ ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ไข่ไม่ตก ไข่ด้อยคุณภาพ รังไข่เสื่อมก่อนวัย ผนังมดลูกไม่หนาตัวพร้อมรับการฝังตัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องยากนั่นเอง ดังนั้น จึงควรดูแลตนเองให้มีภาวะฮอร์โมนสมดุลกันเพื่อร่างกายที่พร้อมกับการเป็นคุณแม่มือใหม่นะคะ
แนวทางการบำรุงก่อนตั้งครรภ์จากครูก้อย
สำหรับแนวทางการดูแลตนเองและบำรุงก่อนช่วงตั้งครรภ์สามารถทำได้หลากหลายวิธีค่ะ เช่น
1.เพิ่มโปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ การบำรุงไข่ให้ได้ไข่โตสวยสมบูรณ์ ไข่ตกตามปกติ และผนังมดลูกที่แข็งแรงนั้น ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ต้องทานโปรตีนให้เพียงพอต่อวัน คือ 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยควรเลือกทานโปรตีนจากแหล่งที่ให้โปรตีนชั้นดี ให้โปรตีนสูง และปลอดภัย โปรตีนจากสัตว์ เช่น ไข่ เนื้อปลา นมแพะ อกไก่ โปรตีนจากพืช (Plant-Based Protein) เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ งาดำ ควินัว เมล็ดฟักทอง เป็นต้น
2.ลดคาร์บ
ลดคาร์บ หรือ คาร์โบไฮเดรต คนไทยนั้นทานข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ถ้าเน้นข้าวขาวเยอะไป เมื่อทานเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล เมื่อร่างกายเผาผลาญไม่หมด จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งการทำงานของร่างกายนั้นจะเปลี่ยนกลูโคสที่มีมากเกินไปให้กลายเป็นไขมัน มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคอ้วน ซึ่ง โรคเหล่านี้ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ยากทั้งสิ้น
ดังนั้น “ครูก้อย ” จึงแนะนำผู้หญิงที่เตรียมตั้งครรภ์ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี (Complex Carb) ได้แก่ ข้าวกล้อง ควินัว ธัญพืชที่ช่วยเสริมภาวะเจริญพันธ์ (Fertility) เช่น อัลมอนด์ แฟล็กซีด และลูกเดือยให้คาร์บเชิงซ้อน และยังให้โปรตีนและกรดไขมันดี และงาดำ ซึ่งมี สาร “เซซามิน” สูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ให้สวย และทานเมล็ดฟักทองวันละละ 1 กำมือช่วยเพิ่ม Zinc บำรุงไข่ให้สุกและไข่ตกตามปกติ โปรตีนสูง ไฟเบอร์สูง ให้กรดไขมันดีและช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อีกด้วย
3. งดหวาน
น้ำตาล คือตัวร้ายทำลายเซลล์ รวมไปถึงเซลล์ไข่ของผู้หญิง มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2012 ศึกษาพบว่า การทานอาหารแบบเพิ่มโปรตีนและลดคาร์บลง (เนื่องจากร่างกายจะเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล)ส่งผลให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ การทานแบบลดน้ำตาลลงนี้มีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นจาก16.6% เป็น 83% เลยทีเดียว
โดย “ครูก้อย” แนะนำคนวางแผนท้องที่อยู่ในช่วงบำรุงไข่ต้องงดหวานโดยเด็ดขาด โดยหากต้องการความหวานควรเลือกทาน “น้ำผึ้งชันโรง” และ “น้ำอินทผลัม” เพราะเป็นความหวานที่มีประโยชน์ ปลอดภัย ไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
4. ทานกรดไขมันดี
ไขมันดี (HDL) หรือ ไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fat) หรือ โอเมก้า 3 มีความจำเป็นอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง โดยร่างกายต้องใช้ไขมันดีในการผลิตฮอร์โมนเพศ หากร่างกายไม่ได้รับไขมันดีอย่างเพียงพอร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้น้อยลง ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล ซึ่งมีในปลาทะเล Fish Oil อะโวคาโด ธัญพืชจำพวก งาดำ แฟล็กซีด และอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย เป็นต้น
5. เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์
สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) หมายถึงสารที่ช่วยต่อต้านหรือกำจัดอนุมูลอิสระ (Free Radicals) ในร่างกาย มีงานวิจัยศึกษาถึงประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ พบว่า การทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระจะเข้าไปขัดขวางการทำลายเซลล์จากอนุมูลอิสระ ยังช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ จึงช่วยลดความเสื่อมสภาพของร่างกาย ช่วยคงความอ่อนเยาว์ และมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น โดยอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ได้แก่ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม มะนาว มะกรูด ผักผลไม้ เช่น ผักเคล ผักโขม กะหล่ำม่วง มะเขือเทศ บีทรูท แครอท ทับทิม ธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ งาดำ ควินัว แฟล็กซีด โดยจากการศึกษาพบกว่า น้ำมะกรูดคั้นสด อุดมไปด้วย มีวิตามินซีสูง ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids) และสารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทีน (Quercetin) สูงที่สุดค่ะ
ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์แนะนำใน 1 วันให้ทานดังนี้
1. น้ำมะกรูด 2 SHOT (เช้า 1 - เย็น1)
2. วิตามินบำรุงไข่ OVaAll วันละ 1 ซอง พร้อมมื้ออาหาร มื้อใดก็ได้
3. โปรตีน Ferty วันละ 2 ซอง เช็คกับนมอัลมอนด์ (ใส่งาดำ 2 ซ้อนพูนๆ + Good Grain 2 ซ้อนพูนๆ)
* 1 ซอง ทานช่วงบ่าย แทนชา กาแฟ
* อีก 1ซอง ให้กิน Ferty + ธัญพืช แทนมื้อเย็นไปเลยค่ะ เพื่อคุมคาร์บ
4. น้ำมะเขือเทศดอยคำ + ใส่ผงผัก Pure Red 2 ช้อนชา + Pure Green 2 ซ้อนชา
(หากทำน้ำผักปันตามสูตรครูก้อยได้ ก็จะยิ่งดีค่ะ หากไม่มีเวลาใช้น้ำมะเขือเทศแทน)
5. เมล็ดฟักทอง วันละ 1 กำมือ ปั่นกับโปรตีน Ferty หรือทานแทนขนมขบเคี้ยว โรยบนข้าวหรือสลัด
6. ไข่ต้มวันละ 2 ฟอง
7. อะโวคาโด้ ราดน้ำผึ้งชันโรง ครึ่งผลทุกวัน แทนของว่าง แทนเบเกอร์รี่
8. ทานปลาวันละ 1 ฝ่ามือ งดพวกเนื้อสัตว์ติดมัน
9. ข้าวไม่ขัดสี ทานแค่ 1 ถ้วยน้ำจิ้มต่อวัน ให้ไปเน้นที่โปรตีนจากพืชมากๆ
10. น้ำเปล่าไม่เย็น 2-3 ลิตร ตลอดวัน
11. ซุปไก่ดำตังกุยสด 1 ถ้วย (ทานช่วงค่ำๆ ก็ได้ค่ะ กำลังหิวๆ)
12. ขิงดำ + น้ำผึ้งชันโรง 1 แก้ว ก่อนนอน
13. ช่วงมีประจำเดือนให้ดื่มชาดอกคำฝอย 1 หยิบมือ ชงในน้ำร้อน วันละ 1-2 แก้ว ดื่ม 7-10 วัน หยุดวันไข่ตก
** ท้องแล้ว ห้ามทาน ** ใส่ตัวอ่อนแล้ว ห้ามทาน
14. แพ็คน้ำมันละหุ่งที่หน้าท้อง ช่วงประจำเดือนหมดสนิท ทำ 2-3 วันครั้งๆ ละ 45-60 นาทีหยุดวันไข่ตก
** ท้องแล้ว ห้ามทำ ** ใส่ตัวอ่อนแล้ว ห้ามทำ
ดังนั้นการได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอ “ก่อนการตั้งครรภ์” จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ และยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนที่สมบูรณ์ และนี่คือวิธีบำรุงเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก ที่ครูก้อยได้ศึกษาและรวบรวมงานวิจัยมาฝากกันค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
Comments