top of page
ค้นหา

How to ปรับประจำเดือนให้มาปกติ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

อัปเดตเมื่อ 4 ส.ค. 2564



ประจำเดือนอยู่คู่กับผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ การที่ประจำเดือนมาเป็นปกติทุกเดือนเป็นสัญญาณให้เห็นว่าระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศหญิงยังทำงานได้เป็นปกติ หากประจำเดือนขาดหาย รอบสั้น-ยาวผิดปกติ หรือไม่มาเป็นปี เป็นอาการที่เริ่มส่งสัญญาณถึงความผิดปกติแล้วค่ะ


🔴 รอบเดือนตามปกติควรมีกี่วัน❓


รอบเดือนที่ปกติควรมี 28 วัน หรืออาจบวกลบขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและช่วงอายุอยู่ที่ 21-35 วัน

#การนับรอบเดือน ให้นับวันที่มีประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ 1 และวันสุดท้ายคือวันก่อนวันแรกของประจำเดือนรอบถัดไป


🔴 ในแต่ละรอบประจำเดือนควรมากี่วัน❓


ในแต่ละรอบเดือนควรมีประจำเดือน 3-7 วัน หากมาเกิน 7 วันและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มามาก มาเป็นลิ่มเลือด ปวดท้อง อาจเป็นอาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกโพรงมดลูก มะเร็งปากมดลูก หรือ มะเร็งรังไข่


🔴 ประจำเดือนขาดหายเกิดจากสาเหตุใด?

หากยังมีประจำเดือนมาอยู่ แต่มาไม่สม่ำเสมอ อาจเป็นเพราะฮอร์โมนไม่สมดุล แต่หากประจำเดือนขาดหายไป ประจำเดือนไม่มาเป็นปี อันดับแรกต้องเช็คก่อนว่าตั้งครรภ์หรือไม่ หากไม่ได้ตั้งครรภ์ อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติ ดังนี้ค่ะ


1. ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งต้องพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุอย่างละเอียดว่าเกิดจากสาเหตุใด อาจเกิดจากรังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย หรือ มีโรคอย่างอื่นเช่น ไทรอยด์


2. มีภาวะถุงน้ำในรังไข่ หรือ PCOS "หรือภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง" ซึ่งเป็นภาวะที่ผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป มีอาการอ้วนลงพุง ขนดก หน้ามัน เป็นสิว ทำให้ผู้หญิงที่อยู่ในภาวะนี้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ


หลายเดือนมาที หรือประจำเดือนขาดหายไปเลย ทำให้ไข่ไม่ตก


3. น้ำหนักเพิ่มหรือลดมากเกินไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดมากเกินไปอาจเกิดอาการประจำเดือนไม่มา โดยผู้ที่น้ำหนักตัวลดลงมากอย่างรวดเร็วนั้นมักรับประทานอาหารน้อย ทำให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนมากนั้น จะทำให้ร่างกายผลิตเอสโตรเจนมากซึ่งส่งผลต่อรอบเดือน และทำให้ประจำเดือนไม่มา


4. ออกกำลังกายมากเกินไป การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้ร่างกายออกแรงหนักหน่วง จะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับรอบเดือน เนื่องจากร่างกายสูญเสียไขมันมากเกินไปจากการหักโหมทำกิจกรรมดังกล่าว ส่วนใหญ่นักกีฬามักจะประสบปัญหานี้ค่ะ


5. ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดอาจส่งผลต่อรอบเดือน เพราะฮอร์โมนความเครียดจะหลั่งออกมารบกวนฮอร์โมนเพศ ทำให้ประจำเดือนมามาก มาน้อย เกิดอาการปวดท้องรุนแรงเมื่อมีรอบเดือน หรือประจำเดือนไม่มาเลย


🔴 ประจำเดือนขาดหาย ประจำเดือนผิดปกติ มีโอกาสท้องหรือไม่❓


แน่นอนว่าเมื่อรอบเดือนผิดปกติ เกิดมาจากฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน ระบบสืบพันธุ์ทำงานไม่เป็นปกติ วงจรการตกไข่ก็แปรปรวน การตั้งครรภ์ตามธรรมชาติจึงมีโอกาสน้อย


🔴 How to ปรับประจำเดือนให้มาปกติ🩸🩸🩸


สาเหตุหลักๆ เกิดจากฮอร์โมนที่ไม่สมดุลซึ่งมีที่มาจากปัจจัยหลายอย่างตามที่กล่าวข้างต้น ดังนั้นเรามาปรับพฤติกรรม เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนกันค่ะ


✔ 1. #พักผ่อนให้เพียงพอ #ไม่เครียด


การนอนน้อยส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม เมื่อเครียดฮอร์โมนความเครียด หรือ ที่เรียกว่า "คอร์ติซอลจะถูกหลั่งออกมามากเกินไป และมันก็จะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศผิดเพี้ยน แปรปรวน


📚 จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และ ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย


โดยในผู้หญิงนั้น การนอนไม่เพียงพอในระยะยาวส่งผลโดยตรงต่อการสร้าง Luteinizing Hormone (LH) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ มีผลทำให้รังไข่ปล่อยไข่ออกมาเพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเองค่ะ


📚 ส่วนในผู้ชายนั้น มีงานวิจัยของ Boston University School of Public Health เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าการนอนที่เพียงพอนั้นควรนอนหลับ 7-8 ชม.ต่อวัน ผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือ นอนมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือน


💗 ดังนั้นคู่ไหนอยากมีลูกต้องชวนกันนอนพักผ่อน


ให้เพียงพอนะคะ


✔ 2. #ออกกำลังกาย #ควบคุมน้ำหนัก


น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผิดเพี้ยน ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไข่ไม่ตกได้ค่ะ


สำหรับเคสที่อ้วน หรือ น้ำหนักเกิน มีข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน #ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า‼


😰 อ้วนไป❓คือ แค่ไหน วัดอย่างไร❓


ความอ้วนสามารถวัดได้ตามหลักของการวัดค่าดรรชนีมวลกายดังนี้


🎯 วิธีการหาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า "ดัชนีมวลกาย" หรือ "บีเอ็มไอ" (BMI - Body Mass Index) มีสูตรคือ


"BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / ส่วนสูงเป็นเมตร x


ส่วนสูงเป็นเมตร"


👉 ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 169 เซนติเมตร ต้องนำส่วนสูงมาคิดเป็นเมตรก่อน คือ 169 เซนติเมตร จะเท่ากับ 1.69 เมตร แล้วนำมาคูณด้วยส่วนสูงที่คิดเป็นเมตรอีกครั้ง คือ 1.69 x 1.69 = 2.856 จากนั้นให้เอาน้ำหนักคือ 58 กิโลกรัม เป็นตัวตั้ง แล้วจึงหารด้วยค่าส่วนสูงที่คำนวณได้คือ 2.856 ก็จะได้ค่า BMI เท่ากับ 20.308


🎯 ซึ่งผู้ที่มีค่า BMI อยู่ในระหว่าง 18.5-24.9 (มาตรฐานสากล) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ


🔸️ ถ้าน้อยกว่า 18.5 ก็ถือว่าผอมไป

🔸️ ถ้ามากกว่า 24.9 คือมีค่า 25.0 ขึ้นไปก็จะถือว่าอ้วน

🔸️ แต่สำหรับมาตรฐานคนเอเชียแล้วเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9


👉 ความอ้วนทำให้ท้องยากได้อย่างไร❓


ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศ


หญิงอาจเกิดความผิดปกติ

🔸️ ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่

🔸️ ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย

🔸️ ประจำเดือนขาดหายไป


👉 กรณีที่ผอมไปล่ะ❓


สังเกตุมั้ยคะ คนที่ผอมไป ลีนเกินไป หรือนักกีฬา เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายต่ำเกินไปจะท้องยาก เพราะไขมันเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมนเพศค่ะ (แต่เน้นไขมันดีนะ ไม่ใช่พวกทรานส์แฟท หรือ คอเลสเตอรอลที่สูงเกินไป) นายแพทย์ Robert จาก Corado for Reproductive Medicine เผยว่า ผู้หญิงที่สุขภาพดีและมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากกว่าหากมีค่า body fat อยู่ที่อย่างน้อย 17-19 อันนี้คือดูที่ body fat นะคะ ไม่ใช่ค่า BMI บางครั้งเราดูที่ค่า BMI โอเค แต่ body fat สูงหรือ ต่ำไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพค่ะ


✔ 3. #ทานอาหารบำรุงเลือด เพิ่ม blood flow🩸🩸


พฤติกรรมการทานอาหารของเราส่งผลต่อสุขภาพที่เรามีค่ะ อยากมีสุขภาพดีต้องทานอาหารดีๆ You are what you eat เคยได้ยินกันใช่มั้ยคะแม่ๆ อาหารช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนได้ หากกินแต่อาหารไขมันสูง


น้ำตาล ของหวาน แอลกอฮออล์ เหล่านี้ส่งผลต่อฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน ดังนั้นแม่ๆที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนต้องหันมาทานอาหารที่ช่วยบำรุงเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนกันค่ะ ได้แก่


🍋 น้ำมะกรูด มี "ไบโอฟลาโวนอยด์" สูง ช่วยให้เลือดสูบฉีดไหลเวียนดีมาก มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "เควอซิทีน" สูง


📚 จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Ovarian Research ปี 2020 ศึกษาพบว่า

"เควอซิทีน"ช่วยลดระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย และช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญในการสืบพันธุ์ รอบเดือน และการตั้งครรภ์


🍵 น้ำขิง น้ำขิงคือยาอายุวัฒนะ มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "จินเจอรอล" สูงช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสื่อม ขิงช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ดื่มก่อนนอน เลือด flow ช่วยให้นอนหลับลึกด้วยค่ะ


🏵 ชาดอกคำฝอย ดอกคำฝอยมีฤทธิ์ขับลิ่มเลือด ช่วยขับเลือดประจำเดือนเก่าคั่งค้าง ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ประจำเดือนมาดี สีแดงสด ไม่ดำคล้ำ แถมยังช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วยค่ะ


✔ 4. #ทานวิตามินช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน 💊💊


จากที่กล่าวข้างต้นแม่ๆ ที่ประจำเดือนขาดหาย ส่วนใหญ่มาจากภาวะ PCOS ที่ส่งผลให้ประจำเดือนผิดปกติ ไข่ไม่ตก ปัจจุบันการรักษา เยียวยาภาวะนี้สามารถทานวิตามินที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ปรับวงจรการตกไข่ และไม่มีผลข้างเคียง ได้แก่ กรดโฟลิก + อิโนซิทอล ค่ะ


📚 มีงานวิจัยศึกษาการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับอิโนซิทอลที่เยียวยาภาวะ PCOS ได้ และเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง นักวิจัยเสนอให้ใช้เป็นแนวทางการรักษาผู้มีบุตรยากอันเนื่องมาจากภาวะ PCOS โดยงานวิจัยฉบับนี้ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Endocrinology เมื่อปี


2016 ของประเทศ Germany ได้ทำการศึกษากับผู้หญิงที่มีบุตรยาก 3,602 คน โดยให้ทานกรดโฟลิกและอิโนซิทอลเป็นเวลา 2-3 เดือน


💊 ปริมาณที่ให้ทานคือ โฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัม ต่อวัน


🎯 ผลการศึกษาพบว่า

✔ 70% ของผู้หญิงที่ทำการทดลอง มีการตกไข่กลับมาเป็นปกติ 545 คนตั้งครรภ์ คิดเป็น 15.1%

✔ ฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนลดลง

✔ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูงขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนจำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ช่วยให้ผนังมดลูกฟอร์มตัวหนาขึ้น พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน



📚 อีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the Turkish-German Gynecological Association เมื่อปี 2018 ได้รวบรวมผลการศึกษาการเยียวยาผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS โดยการให้ทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมร่วมกับอิโนซิทอล


1. ทดลองกับผู้หญิง 92 คนที่มีปัญหาเรื่องประจำเดือนขาด ประจำเดือน มาน้อย หรือมาห่างกันเกิน 35 วัน (oligomenorrhea) และมีภาวะ PCOS


💊 โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า


✔ มีอัตราไข่ตกเพิ่มขึ้น

✔ น้ำหนักลดลง

✔ ฟองไข่เจริญเติบโตดีขึ้น

✔ ไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้น


2. ทดลองในผู้หญิง 25 คนที่มีภาวะประจำเดือนขาดหาย หรือ ขางรายไม่มีประจำเดือนเลยตั้งแต่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ (amenorrhea) และมีภาวะ PCOS


💊 โดยให้ทานโฟลิก + อิโนซิทอล อย่างละ 4 กรัม ต่อวันเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า


✔ รอบเดือนเริ่มกลับมาเป็นปกติขึ้น

✔ สมรรถภาพของรังไข่ดีขึ้น

✔ ฮอร์โมนเพศชาย เทสโทสเตอโรนลดลง


3. ทดลองในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ 42 คน (ช่วงอายุ 18-40 ปี) ที่มีภาวะ PCOS


💊 โดยให้ทานโฟลิก 400 ไมโครกรัม + อิโนซิทอล 4 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 12-16 สัปดาห์ พบว่า


✔ ระดับอินซูลินและฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนลดลง

✔ ช่วยเพิ่มค่าความทนต่อน้ำตาล (glucose tolerance) ซึ่งส่งผลดีต่อการลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน


🟣 OvaAll วิตามินบำรุงไข่ตัวจบ สยบทุกปัญหาท้องยาก รวมมาให้ครบทุกวิตามินที่จำเป็นต่ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ ได้แก่

💊 โฟลิก

💊 วิตามินและแร่ธาตุรวม

💊 Q10

💊 Fish Oil

➕ อิโนซิทอล วิตามิน D3 และ ธาตุเหล็ก


🟣 OvaAll รวมมาให้จบ ครบ ทาน OvaAll ล่วงหน้า 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน บำรุงไข่ บำรุงเลือด เป็นเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ🤰


💗 ดังนั้นในการปรับประจำเดือนให้มาปกติแม่ๆ ต้องหัน


มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องหันมาออกกำลังกายควบคุมน้ำหนัก พักผ่อนให้เพียงพอและปรับการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามผ่อนคลายจัดการกับความเครียด เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนกลับมาสมดุล การทำงานของระบบสืบพันธุ์ปกติก็เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ


อย่างไรก็ตาม หากมีปัญหาประจำเดือนขาดหายเลย แม่ๆ ต้องเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาหตุอย่างละเอียดค่ะ เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูก หรือ โรคภายในสตรี หรือ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ เพื่อจะได้ให้แพทย์ตรวจวินินิจฉัยและรักษาต่อไปค่ะ


 

📱 ชมครูก้อย live เป็น PCOS ไข่ไม่ตกเรื้อรัง ท้องได้ไหม? (คลิกชมเลยค่ะ) 👇👇👇👇


📱 ชมรายการ Reseach Talk งานวิจัยเผยความวางแผนท้องต้องทาน Folic และ Multivitamins

👇👇👇👇 (คลิกชมเลยค่ะ)


📱 ชมรายการ Research Talk งานวิจัยเผย "อิโนซิทอล" บำรุงไข่ เยียวยา PCOS

👇👇👇👇 (คลิกชมเลยค่ะ)


📱 ชม Live เปิดตัว OvaAll วิตามินบำรุงไข่ตัวจบ

👇👇👇👇 (คลิกชมเลยค่ะ)

💓 ศึกษาการบำรุงไข่ บำรุงมดลูก ปรับสมดุลฮอร์โมนให้ท้องธรรมชาติ

👇👇👇👇


🟣 ศึก​ษาข้อมูล​รายละเอียด​ OvaAll วิตามิน​ตัวจบ สยบ​ทุก​ปั​ญหาท้องยาก​ วิตามิน​บำรุงไข่​ที่ครบที่สุด เพื่อผู้​มีบุตรยาก​👇👇👇👇 (คลิกอ่านเลยค่ะ)


▶️ 🆔 ปรึกษา/สั่งผลิตภัณฑ์บำรุงแบบครูก้อย ที่ Line Official

คลิกลิ้งค์นี้เลย 👉 https://lin.ee/fBa4xkz


📞 Call Center : 083-4395882 (ในวัน-เวลาทำการค่ะ)


#ครูก้อยBabyandMom


 

ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของบทความไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต


ดู 150 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page