top of page
ค้นหา

วัยเจริญพันธุ์มีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร บำรุงร่างกายยังไงดี


หลายคนอาจเคยได้ยินมาก่อนว่าช่วงวัยมีผลต่อการตั้งครรภ์ ยิ่งอายุมากเท่าไหร่ โอกาสตั้งครรภ์ก็ยิ่งน้อยลงตามไปด้วย แม้ว่าจะเป็นความจริงจะเป็นเช่นนั้น แต่ยังมีเหตุผลอีกมากมายที่ทำให้โอกาสตั้งครรภ์ของคุณแม่อยากมีลูกมีน้อยลงด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่ใฝ่ฝันว่าจะมีลูกแต่ยังลังเล ไม่แน่ใจว่าควรจะมีลูกเมื่อไหร่ วันนี้คณูก้อยจะมาพูดถึงความสำคัญของการมีลูกในวัยเจริญพันธุ์ เพื่อให้คุณแม่เตรียมความพร้อมในการมีลูกในช่วงเวลาที่เหมาะสม


วัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงคืออะไร


เป็นช่วงวัยที่ผู้หญิงมีพัฒนาการทางด้านร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ช่วงอายุ 15 - 50 ปี สำหรับวัยเจริญพันธุ์แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ วัยเจริญพันธุ์ช่วงแรก (อายุ 20 - 30 ปี), วัยเจริญพันธุ์ช่วงหลัง (ตั้งแต่อายุ 30 - 40 ปี) และวัยก่อนหมดประจำเดือน หรือวัยทอง (ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป) โดยวัยเจริญพันธุ์ช่วงแรกและช่วงหลังจากมีประจำเดือนแล้วประมาณ 7 ปี จัดเป็นช่วงเวลาที่ผู้หญิงอย่างเราสามารถมีลูกได้โดยแทบไม่ต้องกังวลปัญหาสุขภาพใด ๆ เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ของระบบสืบพันธุ์มีความแข็งแรง พร้อมต่อการมีลูกเป็นอย่างมาก ทั้งในส่วนของเซลล์ไข่ที่มีจำนวนมากพอต่อการปฏิสนธิ, การผลิตฮอร์โมนเพศที่มีความต่อเนื่อง ไม่ลดลงเยอะหรือขาดช่วงเหมือนช่วงวัยหลังจากนี้ อีกทั้งมีความแข็งแรงพอที่จะมีโอกาสแท้งลูกน้อยกว่าผู้หญิงอายุเยอะ


สัญญาณเตือนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์

  • เต้านมโตขึ้น

  • สะโพกผาย เอวคอด

  • มีขนขึ้นตามจุดซ่อนเร้น

  • ส่วนสูงเพิ่มขึ้น

  • มีประจำเดือน

  • มีตกขาว

วัยเจริญพันธุ์มีผลต่อการมีลูกอย่างไร


ต้องเข้าใจก่อนนะคะว่าผู้หญิงทุกคนเกิดมาพร้อมกับไข่จำนวน 1,000,000 ใบ โดยไข่ที่ครูก้อยพูดถึงจะเป็นเซลล์สำคัญที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โดยธรรมชาติแล้วผู้หญิงจะสูญเสียไข่ไปเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้นและสารอนุมูลอิสระต่าง ๆ รอบตัว และเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นหรือวัยที่มีประจำเดือนแล้วเราจะเหลือไข่เพียง 700,000 - 200,000 ฟองเท่านั้น แต่เนื่องจากไข่เป็นเซลล์ที่เสี่ยงต่อการเสียหายง่าย ยิ่งอายุเยอะขึ้นก็ยิ่งเสียหายง่ายขึ้น เซลล์เสื่อมง่าย ส่งผลให้มีลูกยากมากขึ้นด้วยค่ะ


ควรมีลูกอายุเท่าไรดี


สำหรับช่วงวัยที่เหมาะต่อการมีลูกมากที่สุดคือช่วงอายุ 25 - 30 ปี เนื่องจากมีความพร้อมทางด้านร่างกายมากที่สุด แต่อย่าลืมนะคะว่านี่เป็นเพียงปัจจัยทางด้านร่างกายเท่านั้น เพราะในปัจจุบันมีคู่รักหลายคู่ที่อยากมีลูกแต่สภาพการเงินอาจยังไม่พร้อม ดังนั้นหากต้องการมีลูกจริง ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อฝากไข่ซึ่งเป็นวิธีรักษาคุณภาพเซลล์ไข่ผู้หญิงเอาไว้ใช้ตั้งครรภ์ในอนาคต รอวันที่พร้อมทั้งหน้าที่การงานและการเงินสามารถสนับสนุนลูกน้อยได้อย่างเต็มที่แล้วค่อยมี ครูก้อยว่าดีที่สุดเลยค่ะ


ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์

แม้ว่าโอกาสตั้งครรภ์จะมากน้อยตามช่วงวัยก็ตาม แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ที่ยากขึ้นอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในดังต่อไปนี้ค่ะ

  • ภาวะความเครียดสะสม ทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) รบกวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์และการตกไข่ผิดปกติ หรือแม้แต่การฝังตัวอ่อนที่ยากขึ้น

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง ทำให้ระบบฮอร์โมนต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระยะเวลาการตกไข่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม เยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ โอกาสมีลูกลดลงมากถึง 50%

  • สูบบุหรี่เป็นประจำ ทำให้ร่างกายสะสมสารพิษที่มีผลไปลดประสิทธิภาพของมดลูกในการฝังตัวอ่อน นอกจากนี้ยังทำให้สาว ๆ ถึงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) เร็วกว่าคนทั่วไปมากถึง 2 ปี

  • น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ เช่น อาหารขยะ กาแฟ น้ำอัดลม ฯลฯ บวกกับละเลยการออกกำลังหรือออกกำลังน้อยครั้ง ทำให้ไขมันที่สะสมตามส่วนต่าง ๆ ไม่ได้ถูกกำจัดออกจากร่างกายและนำมาสู่ภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานและทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ การตกไข่จึงผิดปกติ ไม่มีการตกไข่ ประจำเดือนมาน้อยลง ท้องยากขึ้น

  • วิถีชีวิตของแต่ละคน หลายคนอาจติดซีรีส์หรือติดเกมข้ามคืน หลายคนอาจทำงานกะดึกซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายต้องพักผ่อน ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายเสียสมดุลและทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วยค่ะ

มีลูกยาก ป้องกันได้ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี


1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันชนิดไม่ดี


หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนว่าอาหารที่เราทานโดยทั่วไปนั้นมีทั้งไขมันดีและไม่ดี โดยเฉพาะไขมันชนิดไม่ดีพบได้ในอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงอย่างเนื้อสัตว์ หนัง ติดมัน น้ำมันสัตว์ เบเกอรี่ ฟาสต์ฟู๊ด รวมถึงไขมันทรานที่อยู่ในขนมอบอีกด้วย นอกจากนี้จะต้องงดหรือรับประทานนาน ๆ ทีแล้ว ครูก้อยขอแนะนำให้คุณแม่เลือกทานอาหารที่มีไขมันดีเป็นประจำในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อลดปริมาณไขมันไม่ดีในร่างกายให้น้อยลง เสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ไม่ให้ถูกรบกวนโดยไขมันชนิดไม่ดีที่มีผลต่อการตกไข่ปกติ รวมถึงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนมีลูกยากขึ้นด้วยค่ะ


อ่านรายละเอียเพิ่มเติม: คลิก


2. พักผ่อนให้เพียงพอ


หลายคนอาจไม่คุ้นชินกับการนอนไว ครูก้อยแนะนำปรับอุณหภูมิภายในห้องให้พอดี ปรับตำแหน่งเตียงให้รู้สึกว่านอนง่าย ส่วนหมอนรองคอควรมีความสูงประมาณ 4 - 6 นิ้ว โดยจะต้องหนุนต้นคอจนถึงหัว เพราะหากหมอนไม่พอดีกับหัวอาจทำให้แรงดันในหลอดเลือดสูง ทำให้ปวดหัวหรือปวดต้นคอเมื่อตื่นนอนได้ด้วยค่ะ


3. ผ่อนคลายความเครียด


ทุกคนคงมีความเครียดกับสิ่งที่เจอมาในแต่ละวันกันทั้งนั้น แต่ทั้งนี้หากคุณอยากมีลูกจริง ๆ ครูก้อยขอแนะนำให้ปล่อยวางและยอมรับในผลลัพธ์ที่ผ่านมา เต็มที่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในทุก ๆ วัน แต่หากยังเครียดอยู่ ครูก้อยอยากให้ลุกจากเก้าอี้แล้วไปทำงานอดิเรกที่คุณชอบหรือสิ่งที่คุณสนใจแต่ไม่มีเวลาทำสักที นั่งอ่านหนังสือ วาดรูป เล่นโยคะ ฟังเพลงดนตรีบำบัดอารมณ์ ก็ดีต่อใจไม่น้อยเลยค่ะ


4. ออกกำลังกายเป็นประจำ


การออกกำลังกายอย่างพอดี ไม่หักโหมหรือทิ้งช่วงนานเกินไป ล้วนแต่เป็นผลดีต่อร่างกายทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ช่วยปรับอารมณ์เครียดให้น้อยลง มีแรงทำในสิ่งที่เรารักอีกมากมาย และอื่น ๆ อีกมาก แต่ทั้งนี้ครูก้อยขอแนะนำให้ออกกำลังกายง่าย ๆ อย่างการเดิน, เล่นโยคะ, ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือบอดี้เวทวันละ 30 - 45 นาที หรือ 150 นาทีต่อสัปดาห์ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ส่งผลให้ฮอร์โมนเพี้ยน ไข่ไม่ตก อย่างเช่นวิ่งมาราธอน, ชกมวย, กระโดดเชือก, ไตรกีฬา, เวทเทรนนิ่งหนัก ๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพตามมาในระยะยาวค่ะ


บทความที่น่าสนใจ

ดู 37 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page