top of page
ค้นหา

รวมทุกสัญญาณเตือนท้องลม คุณแม่ไม่ควรมองข้าม



หนึ่งในสิ่งที่คุณแม่อยากมีลูกไม่อยากเจอมากที่สุดอย่างหนึ่งคือภาวะท้องลม ซึ่งเป็นภาวะที่มีอาการคล้ายกับคนท้อง แต่กลับไม่ได้ท้องอย่างที่หวังไว้ แล้วภาวะดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่ ส่งผลต่อการมีลูกครั้งต่อไปหรือเปล่า แล้วมีสัญญาณเตือนท้องลมมีอะไรบ้าง ครูก้อยมีข้อมูลมาฝากค่ะ


ท้องลมคืออะไร


เป็นภาวะการตั้งครรภ์ผิดปกติประเภทหนึ่งที่เกิดการปฏิสนธิแต่ไม่มีตัวอ่อนหรือตัวอ่อนอาจเกิดการฝ่อและสลายตัวไปเองในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เหลือเพียงถุงตั้งครรภ์อย่างเดียว ท้องลมสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกช่วงอายุ แต่ยิ่งมีอายุมากขึ้น (อายุ 35 ปีขึ้นไป) ความเสี่ยงก็มากขึ้นตามไปด้วย แม้จะเป็นภาวะที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ส่วนใหญ่ที่ตรวจพบมักเกิดจากโครโมโซมผิดปกติ, ไข่มีสภาพไม่สมบูรณ์ รวมถึงการดูแลสุขภาพร่างกายของคุณแม่ไม่ดีพอ เช่น พักผ่อนน้อย สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ฯลฯ


สัญญาณเตือนท้องลมที่คุณแม่ควรรู้


แม้ว่าภาวะท้องลมจะมีอาการคล้ายคนท้องทั่วไป เนื่องจากมีการสร้างฮอร์โมน HCG (Human chorionic gonadotropin) บริเวณรกเหมือนการการตั้งครรภ์ทั่วไป แต่ระดับฮอร์โมน HCG นั้นจะต่ำกว่าค่าปกติ จึงสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่อท้องลมได้จากอาการต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ที่ไม่รุนแรงเท่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไป เช่น คลื่นไส้น้อย ไม่ค่อยคัดตึงเต้านมเท่าไหร่นัก เป็นต้น แต่สัญญาณที่ครูก้อยกำลังจะพูดถึงต่อจากนี้อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่าอาจเป็นสัญญาณเตือนท้องลมได้ในเบื้องต้น ได้แก่


1.ท้องไม่ขยายใหญ่ขึ้นตามอายุครรภ์


โดยทั่วไปแล้วคุณแม่ตั้งครรภ์จะมีขนาดหน้าท้องที่โตขึ้นในช่วงเดือนที่ 4-7 (ไตรมาสที่ 2) แต่เนื่องจากตัวอ่อนจะหลุดไปเองในช่วง 1-6 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ หากเข้าสู่ไตรมาส 2 แล้วหน้าท้องของคุณแม่ไม่ขยาย อาจมีสิทธิ์ว่าคุณแม่กำลังท้องลมได้เช่นกันค่ะ


2. มีเลือดไหลออกมาอย่างผิดปกติจากช่องคลอด


หากคุณแม่มีภาวะท้องลม อาจพบเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์ หรือช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ได้ด้วยเช่นกัน แต่หากถุงตั้งครรภ์หลุดในช่วงระยะกลาง (7-12 สัปดาห์) อาจเป็นการแท้งคุกคามและเกิดภาวะแทรกซ้อนนั่นคืออาการปวดท้องน้อยก่อนมีเลือดไหลออกมาจากช่องคลอดนั่นเองค่ะ


3. ประจำเดือนมามากกว่าปกติ


หากคุณแม่วางแผนมีลูกมาแล้ว จะรู้ว่าช่วงเวลาไหนที่ประจำเดือนจะมาบ้าง ดังนั้นจึงควรเก็บรายละเอียดของประจำเดือนด้วยว่า ก่อนตั้งครรภ์มีประจำเดือนมามากกว่าปกติมั้ย เพราะประจำเดือนก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยเช็กให้คุณรู้ว่าตัวเองกำลังท้องลมหรือไม่ หากมีมากกว่าปกติ อาจหมายถึงว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะท้องลมได้ค่ะ


ท้องลมจะรู้ตอนกี่เดือน


แม้ว่าตัวอ่อนจะหลุดไปในช่วง 1-2 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ แต่จะตรวจพบได้ในช่วง 6-7 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เนื่องจาก 2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์นั้นยังมีอาการคล้ายคนท้องทั่วไป อีกทั้งเป็นช่วงที่ท้องยังไม่ขยายขนาดมากนัก จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่แม่ ๆ อาจเข้าใจได้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่


ป้องกันท้องลมได้อย่างไรบ้าง


แม้ว่าปัญหาท้องลมจะเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ขึ้นไปและไม่สามารถป้องกันได้แบบ 100% แต่การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณแม่เตรียมท้องทุกคน เพราะหากมีโอกาสท้องขึ้นมาแต่สุขภาพไม่แข็งแรง ก็อาจเสี่ยงต่อการท้องลมหรือแท้งบุตรได้ง่ายขึ้นด้วยนะคะ สำหรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพฉบับครูก้อยมีดังนี้ค่ะ


1. รับประทานอาหารบำรุงร่างกาย


เมื่อคุณแม่ตัดสินใจที่จะมีลูกแล้ว จึงควรเตรียมความพร้อมให้ร่างกายด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศ และควบคุมอาหารจำพวกไขมันไม่ให้ทานมากเกินไป เพราะไขมันจะเข้าไปรบกวนฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์โดยตรง สำหรับอาหารที่ครูก้อยแนะนำจะต้องมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ อาหารจำพวกโปรตีนจากถั่วและธัญพืช, ธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามิน B จากข้าวโอ๊ต, สารต้านอนุมูลอิสระและกากใยอาหารจากผลไม้ตระกูลเบอร์รี, โอเมก้า 3 จากปลาทะเล, แคลเซียมจากนมสด รวมถึงไขมันดี (HDL: High Density Lipoprotein) จากน้ำมันพืชทั้ง 9 ชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำไขมันเลว (LDL: Low Density Lipoprotein) หรือคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีออกจากหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อเพื่อส่งไปให้ตับกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยลดโอกาสเกิดโรคร้ายอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วยค่ะ



2. ออกกำลังกายเป็นประจำ


นอกจากจะช่วยให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อน เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นโดรฟิน (Endorphine) ซึ่งจะช่วยลดคลายความวิตกกังวล ลดความเครียด อีกทั้งบรรเทาอาการเจ็บปวด อีกทั้งช่วยลดน้ำหนักตัวให้ร่างกายมีน้ำหนักไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้นและมีโอกาสแท้งน้อยลงค่ะ


3. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ


ข้อนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่แม่ ๆ ไม่ควรละเลย เพราะการนอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมงจะช่วยฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากคุณแม่ทั้งหลายยังติดนิสัยนอนน้อยเพียงวันละ 5 ชั่วโมงหรือต่ำกว่านั้นเป็นประจำจะทำให้เมลาโทนิน (Melatonin) มีปริมาณน้อยลง เป็นผลทำให้โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดลง ส่งผลให้ไขต่กช้า ประจำเดือนไม่ปกติ เซลล์ไข่มีคุณภาพถดถอยลง และที่สำคัญยังทำให้โครโมโซมผิดปกติและเพิ่มโอกาสท้องลมง่ายขึ้นด้วยค่ะ


ส่วนตัวครูก้อยขอแนะนำ Night Shot วิตามินบำรุงช่วยการนอนหลับเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยปรับสารสื่อกระแสประสาทที่รบกวนการนอนหลับเพื่อการปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล อีกทั้งช่วยบำรุงสมอง ช่วยในการการเรียนรู้และประสิทธิภาพการทำงาน โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีผลข้างเคียงในระยะยาว สูตรเฉพาะระดับพรีเมี่ยมสำหรับคนเตรียมตั้งครรภ์ และผู้ที่มีปัญหาด้านการนอนหลับโดยเฉพาะ



บทความที่น่าสนใจ

ดู 5,098 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page