top of page
ค้นหา

รู้เท่าทันภาวะมดลูกโต ภัยร้ายที่ทำให้ใครหลายคนมีลูกยาก

โดยทั่วไปแล้วมดลูกที่ปกติควรมีความสูงอยู่ที่ 7-8 เซนติเมตร (3-4 นิ้ว) ความกว้างอยู่ที่ 4-5 เซนติเมตร (1.5-2 นิ้ว) และความหนาอยู่ที่ 3-4 เซนติเมตร (1.2 นิ้ว) แต่หากเกิดภาวะมดลูกโตผิดปกติอาจเสี่ยงต่อภาวะอื่นแทรกซ้อนจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาว จนนำมาสู่ภาวะมีลูกยากอีกด้วย แล้วภาวะดังกล่าวเกิดจากอะไร มีวิธีรับมืออย่างไรบ้าง วันนี้ครูก้อยจะมาเล่าให้ฟังค่ะ



ภาวะมดลูกโตคืออะไร


เป็นภาวะที่มดลูกขยายตัวมากกว่าปกติ เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยมีรู้สึกไม่สบายตัว หนักบริเวณช่องท้องส่วนล่าง แม้ว่าภาวะมดลูกโตจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง แต่หากมีอาการอื่นร่วมด้วยอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาภายหลัง เช่น เลือดออกบริเวณช่องคลอด, ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ฯลฯ


สาเหตุของมดลูกโต


ภาวะมดลูกโตเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่น การตั้งครรภ์ที่ทำให้มดลูกขยายตัวขึ้น โดยทั่วไปแล้วมดลูกจะมีขนาดประมาณเท่าลูกแอปเปิ้ล 1 ลูก แต่เมื่อเกิดการตั้งครรภ์อาจทำให้มดลูกขยายตัวจนมีขนาดเท่าลูกแตงโม แต่แม่ๆ ไม่ต้องเป็นห่วงไปนะคะ เพราะหลังจากคลอดลูกประมาณ 1 เดือน มดลูกจะหดตัวกลับสู่สภาพเดิม ส่วนสาเหตุอื่น เช่น เนื้องอกในมดลูก, มะเร็งในระบบสืบพันธุ์ รวมถึงเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) หรือภาวะเนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญ หรือแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจนเกิดการอักเสบเรื้อรังและเกิดพังผืดในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้มดลูกขยายกลายเป็นภาวะมดลูกโต ส่งผลให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีอาการตามมาแตกต่างกันตามแต่ละบุคคลทางที่ดีหากพบว่ามดลูกโตจากสาเหตุข้างต้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป


เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีปริมาณน้อยลงเมื่อคุณแม่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือหากคุณแม่เคยผ่านการผ่าคลอดมาก่อนก็มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้การมีก้อนเนื้องอกในโพรงมดลูกยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แม่ๆ มีลูกยากอีกด้วย เนื่องจากเนื้องอกที่เจริญเติบโตอยู่ในโพรงมดลูกนั้นขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนนั่นเอง ขณะเดียวกันภาวะดังกล่าวยังเพิ่มโอกาสให้แท้งลูกง่ายขึ้น เนื่องจากเนื้องอกส่งผลให้โพรงมดลูกผิดรูป


เนื้องอกมดลูกกับมดลูกโตเป็นโรคเดียวกันหรือไม่


แม่ๆ หลายคนอาจไม่รู้จักภาวะมดลูกโต หรืออาจสับสนว่าเนื้องอกมดลูกกับมดลูกโตใช่โรคเดียวกันหรือไม่? ความจริงแล้วทั้ง 2 โรคนี้เป็นคนละโรคกันค่ะ ดังนั้นหากพบว่าประจำเดือนมากผิดปกติ หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ออกมา อาจเป็นสัญญาณของโรคมดลูกโต แต่ความเป็นจริงนั้นแม่ๆ อาจมีภาวะมดลูกโตได้เช่นกันแม้จะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม

.

ที่สำคัญคือโรคมดลูกโตนั้นไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด หากผู้ป่วยมีกรรมพันธุ์หรือเคยทำการผ่าตัดเกี่ยวกับมดลูกอาจทำให้เป็นโรคมดลูกโตได้ นอกจากนี้การหมุนเวียนของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายของผู้หญิงที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอาจส่งผลให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้หญิงที่หมดประจำเดือนหรือผู้หญิงที่ตัดมดลูกทิ้งจึงหมดโอกาสเป็นโรคมดลูกโต

.

สังเกตภาวะมดลูกโตจากอาการต่างๆ ดังนี้


  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ

  • ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ จนถึงขั้นทนไม่ไหว

  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่เท่าลูกปิงปองออกมาขณะมีประจำเดือน

  • เลือดออกจากช่องคลอด

  • มีอาการคล้าย ๆ ตกเลือดขณะมีประจำเดือน

  • ปวดเชิงกรานและช่องท้อง

  • รู้สึกแน่นและหน่วงบริเวณช่องท้องส่วนล่าง

  • รู้สึกเจ็บมากขณะมีเพศสัมพันธ์

  • ท้องอืดหรือท้องผูกง่ายขึ้น เพราะมดลูกโตจนเบียดลำไส้

  • มดลูกเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย

  • ปวดหลัง, ปวดกระดูกเชิงกราน, เป็นตะคริวบริเวณท้อง

  • มีบุตรยากเนื่องจากการตั้งครรภ์ไม่สมบูรณ์


การตรวจวินิจฉัยมดลูกโต


ขั้นแรก สูตินรีแพทย์จะซักประวัติคุณแม่อย่างละเอียดและทำการตรวจภายในด้วยการอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดหรือทวารหนัก หากผู้ป่วยไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน หรือตรวจ MRI ช่องท้องส่วนล่าง (MRI Lower Abdomen) ในกรณีที่ต้องการยืนยันและประเมินความรุนแรงของโรคว่า ส่งผลให้เกิดพังผืดต่ออวัยวะข้างเคียงหรือไม่


ดูแลรักษามดลูกโต


หากมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สูตินรีแพทย์จะรักษาตามอาการและความรุนแรงของโรค

  • ทานยาพอนสแตน (Ponstan) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) บรรเทาอาการปวดและการอักเสบ

  • ใช้ Progestin Only Hormone หรือยาคุมกำเนิดเพื่อบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้ยังช่วยให้รอบเดือนมาน้อยลง และชะลอการเติบโตของพังผืดในกล้ามเนื้อมดลูก

  • หากอาการรุนแรง สูตินรีแพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้องขั้นสูง (MIS - Advanced Minimal Invasive Surgery) ซึ่งไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กเพียง 5 - 10 มม. ที่สำคัญเสียเลือดน้อยและช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจนถึงขั้นติดเชื้อ นอกจากนี้ยังช่วยให้ฟื้นตัวเร็วชึ้น เพียง 1 - 2 วัน สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 1 สัปดาห์ ลดความกังวลในการเข้ารับการรักษาอีกด้วย


ป้องกันมดลูกโต


แม้ว่าภาวะมดลูกโตที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นั้นไม่มีสาเหตุแน่ชัด แต่คุณแม่ควรดูแลตัวเองไม่ให้น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน, ตรวจเช็กร่างกายและตรวจภายในกับสูตินรีแพทย์เป็นประจำทุกปี และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกตามช่วงวัย เพื่อให้ทราบถึงความผิดปกติของมดลูกและหาทางรับมือได้อย่างทันท่วงที


บทความที่น่าสนใจ

ดู 5,169 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Kommentare


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page