top of page
ค้นหา

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป ภัยแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้จากการกระตุ้นไข่

คุณแม่บางคนอาจมีอาการท้องอืด, บวมน้ำ ,เวียนหัว หรือหายใจไม่ออกหลังจากฉีดยากระตุ้นไข่ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แล้วภาวะนี้มีวิธีการรักษาอย่างไร ครูก้อยมีคำตอบค่ะ


ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินคืออะไร


เป็นภาวะที่สารน้ำรั่วซึมออกจากกระแสเลือดเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นช่องท้อง, ช่องปอด, เนื้อเยื่อแขนขา และอื่นๆ ทำให้รังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่มากเกินไป สาเหตุของภาวะนี้เกิดจากการกระตุ้นไข่ในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว หรืออาจเกิดจากการกระตุ้นไข่ในการฉีดเชื้อผสมเทียมเนื่องจากมีสารเคมีบางตัวออกมาทำให้เกิดรูรั่วของเส้นเลือด ทำให้น้ำในกระแสเลือดไหลออกข้างนอก


ระดับความรุนแรงของภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน

  • ระดับน้อย - รังไข่มีขนาดน้อยกว่า 8 ซม. มีอาการปวดท้อง, ท้องอืด, แน่นท้อง

  • ระดับปานกลาง - ตรวจพบน้ำในช่องท้อง รู้สึกปวดท้องท้องอืดมากขึ้น, คลื่นไส้, อาเจียน

  • ระดับรุนแรง - รังไข่มีขนาดมากกว่า 12 ซม. มีอาการท้องอืดมากชัดเจน รอบเอวใหญ่ขึ้น, น้ำหนักเพิ่มขึ้น, ความเข้มข้นเลือดเพิ่มขึ้น, ปัสสาวะลดลง ควรเข้ารับการรักษาอย่างใกล้ชิด หรืออาจต้องรักษาที่โรงพยาบาล


ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน

  • อายุน้อย

  • น้ำหนักตัวน้อย ผอมแห้ง

  • ภาวะที่มีฟองไข่จำนวนมากในรังไข่ (PCOS)

  • ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน ขณะกระตุ้นไข่มากเกิน 3,500

  • มีจำนวนฟองไข่มาก

  • ตั้งครรภ์ขณะมีภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน


อาการของโรคโดยทั่วไป

  • มีน้ำในช่องท้อง ทำให้ท้องอืด ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอึดอัด หายใจลำบาก ทานอาหารน้อยลง

  • น้ำท่วมในช่องเยื่อหุ้มปอด ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก

  • ภาวะไตวาย ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะลดลง ไตทำงานแย่ลง หากขาดเลือดมาก อาจทำให้ไตไม่ทำงานและไตวายในที่สุด

  • มีภาวะเลือดข้น เกิดเป็นก้อนเลือดอุดตันตามเส้นเลือดในร่างกาย

  • สีปัสสาวะเข้ม ปัสสาวะออกน้อย


อาการของโรคเมื่อตรวจจากห้องปฏิบัติการ

  • จำนวนเม็ดเลือดขาว มีเกล็ดเลือดมากขึ้น

  • ความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย

  • ครีตินินขึ้นสูง ค่าการทำงานของไตผิดปกติ

  • ค่าการทำงานของไตผิดปกติ


วิธีการรักษา

  • รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย โดยคำนวณจากปริมาณปัสสาวะต่อวัน, น้ำหนักตัว, ระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง, ความยาวเส้นรอบเอว และปริมาณน้ำเข้า-ออกของร่างกาย

  • ทานยาแก้ปวดพาราเซตตามอล, อะเซตามีโนเฟน ไม่ควรใช้ยากลุ่ม NSAID

  • การให้สารน้ำทดแทนปริมาณน้ำเลือดที่ขาดเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงไตและอวัยวะสำคัญอื่นๆ หรือให้สาร เช่น สารอัลบูมิน (Human albumin) เป็นโปรตีนที่ช่วยดูดน้ำจากส่วนต่างๆ ของร่างกายกลับเข้าสู่เส้นเลือด

  • เจาะดูดน้ำออกเพื่อลดอาการอึดอัดและหายใจลำบากของผู้ป่วย โดยคุณหมอจะดูดน้ำทางหน้าท้องหรือช่องคลอด ทั้งนี้ไม่ควรหาซื้อยาขับปัสสาวะมาใช้เอง

  • บางรายที่มีรังไข่บิดขั้ว หรือรังไข่แตก จะต้องรับการผ่าตัดฉุกเฉิน


ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกิน

  • งดการมีเพศสัมพันธ์เพราะอาจทำให้รู้สึกเจ็บท้อง

  • ออกกำลังกายเบาๆ เช่น โยคะ จ็อกกิ้ง

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงเยอะ หรือมีผลกระทบสูงบริเวณช่องท้อง

  • หมั่นสังเกตตัวเองด้วยการเช็กน้ำหนักและวัดรอบท้องทุกวัน เพื่อแจ้งให้คุณหมอทราบหากมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นผิดปกติ


บทความที่น่าสนใจ

ดู 431 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page