"คุณภาพของไข่" วัดได้จากอะไรบ้าง?
การวางแผนตั้งครรภ์สำหรับผู้หญิงนั้น...เป็นเรื่องที่ต้องบำรุงเป็นพิเศษ...นอกจากมดลูกแล้วก็คือ "ไข่" ของเราค่ะ เพราะ”ไข่” เป็นวัตถุดิบตั้งต้นที่สำคัญที่สุดจากฝ่ายคุณแม่ที่จะนำไปสู่การเจริญเติบโตกลายเป็นเจ้าตัวน้อยที่แสนน่ารัก ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการเตรียมตัวเพื่อท้องธรรมชาติ หรือใช้วิธีการทางการแพทย์ เช่น การฉีดเชื้อ หรือทำเด็กหลอดแก้ว ก็จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบชิ้นสำคัญชิ้นนี้ค่ะ ซึ่งยิ่งไข่มีคุณภาพดีมากเท่าไหร่ อัตราความสำเร็จก็มีสูงยิ่งขึ้นมากเท่านั้น
การทำเด็กหลอดแก้วหรือ ICSI เป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยคุณแม่จะต้องเข้ากระบวนการตั้งแต่การกระตุ้นไข่ จากนั้นแพทย์ก็จะนัดมาเก็บไข่ แล้วนำไข่มาผสมกับอสุจิภายนอกตัวของคุณแม่ เลี้ยงเป็นตัวอ่อนแล้วย้ายกลับเข้าไปฝังในโพรงมดลูกแม่ๆ
ค่ะ
คำถามที่แม่ๆถามมามากที่สุดในการทำ ICSI คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าไข่ของเรามีคุณภาพดี?
ครูก้อยได้สืบค้นข้อมูลจากคุณหมอมาให้แม่ๆแล้ว..ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
ไข่ที่อยู่ในร่างกายเรานั้น ไม่สามารถตอบได้ว่ามีคุณภาพดีหรือไม่ จนกว่าแพทย์จะเห็นไข่ที่ถูกดูดออกมาเมื่อเข้ากระบวนการเก็บไข่
ถึงแม้ว่าจะมีการอัลตร้าซาวด์ดูไข่ ก็อาจจะเห็นเพียงแค่ขนาดของไข่ว่าโตหรือไม่ (ไข่ที่โตพร้อม สมบูรณ์ดี ควรมีขนาด 20 มิล ในวันนัดเก็บไข่) แต่ไข่ที่อ้วนโตก็ไม่ได้หมายความว่าเนื้อไข่จะเป็นไข่ที่มีคุณภาพเสมอไปค่ะ
ในทางการแพทย์เมื่อดูดไข่ออกมาแล้ว แพทย์สามารถประเมินคุณภาพของไข่โดยดูจากกล้องจุลทรรศ์ ซึ่งสามารถวัดได้จาก 4 หลักเกณฑ์ดังนี้ค่ะ
1. ดูจากความหนาของเปลือกไข่ ถ้าเปลือกไข่หนาเกินไปจะไม่ดี เพราะสเปิร์มจะเจาะยาก อัตราปฏิสนธิจะน้อย
2. ดูจากผิวของไข่ ว่าเนื้อเนียน หรือเนื้อหยาบ ถ้าผิวเนียนแสดงว่าเป็นไข่ที่มีคุณภาพดี
3. ดูตัว Polar body ที่เป็นตัวชี้ว่า "ไข่สุก" ถ้าไข่อ่อนอยู่จะไม่มีตัว Polar body ค่ะ
4. ดูช่องว่างระหว่างเปลือกไข่กับเนื้อไข่ ซึ่งไม่ควรมีมากเกินไป ถ้ามีช่องว่างมากไปจะมีการแตกเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ค่ะ
หากไข่ของแม่ๆสมบูรณ์และมีคุณภาพตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว โอกาสในการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนที่มีคุณภาพและฝังตัวติดง่ายนำไปสู่การตั้งครรภ์ก็ยิ่งมีโอกาสสูงมากขึ้นค่ะ
แล้วเราสามารถบำรุงไข่ให้มีคุณภาพได้อย่างไร?
ในร่างกายเราประกอบด้วยเซล์ เป็นล้านล้านเซลล์ **ไข่** จัดเป็นเซลล์หนึ่งของร่างกายเช่นกัน และ #เป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายเสียด้วย และบอบบางมากกว่าเซลล์อื่นๆ รวมทั้งยังมีความเสื่อมถอยเร็ว และตัวแปรหลักในความเสื่อมนี้ขึ้นอยู่กับอายุของฝ่ายหญิง
เราสามารถบำรุงไข่ เช่นเดียวกับการบำรุงร่างกายโดยองค์รวม ได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีโภชนาการสูง โดยเน้นไปที่กลุ่มอาหารที่ให้โปรตีนสูง จากแหล่ง
โปรตีนชั้นดี เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ไข่ นมแพะ และเน้นไปที่โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลูกไก่ ธัญพืชต่างๆที่ให้โปรตีนสูง เช่น เมล็ดฟักทอง งาดำ เมล็ดแฟล็ก
นอกจากนี้ต้องรับประทานผักผลไม้สดเพื่อเพิ่มวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการช่วยบำรุงและปกป้องเซลล์ไข่จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระต่างๆ ที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญระดับเซลล์ในร่างกายตามปกติ หรือจากมลภาวะภายนอก
ผักผลไม้ที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น แครอท บีทรูท มะเขือเทศ ทับทิม มะนาว มะกรูด ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูง โดยเฉพาะมะกรูด ที่นอกจากมีวิตามินซีสูงแล้ว...ยังมีไบโอฟลาโวนอยด์ และสารเควอซิทีนสูงสุด ซึ่งมีงานวิจัยล่าสุดรายงานว่า...เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดภาวะไข่ฝ่อในระหว่างทำเด็กหลอดแก้วได้ถึง 80%
ยิ่งไปกว่านั้นเราสามารถทานวิตามินที่ช่วยบำรุงไข่ ได้แก่ Co-Q10 กรดโฟลิก และวิตามินอี ซึ่งต้องทานเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อรักษาร่างกายไว้ให้สมบูรณ์พร้อมอยู่ตลอดเวลาค่ะ
โดยเฉพาะ "โปรตีน" นั้นซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงและซ่อมแซมเซลล์และยังเป็น ตัวสร้างฮอร์โมนทุกชนิด ทั้งยังช่วยบาลานซ์ฮอร์โมนเพศให้สมดุล สร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงสร้างเอนไซม์ แม่ๆต้องกินให้ถึง‼
ครูก้อยจึงย้ำเสมอว่า แม่ๆที่วางแผนท้องต้องกินโปรตีนให้เพียงพอ เพราะโปรตีนจะเข้าไปช่วยบำรุงเซลล์ไข่ของแม่ๆค่ะ
แล้วเราต้องทานโปรตีนมากแค่ไหนถึงจะพอ⁉️
คนทั่วไป ต้องทานโปรตีน 1 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (หรือประมาณ 50 กรัมต่อวัน)
คนท้อง ต้องทานโปรตีน 1.3 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
คนวางแผนท้อง โดยเฉพาะคนที่ต้องกระตุ้นไข่ ต้องทานโปรตีนมากกว่านั้น (1.5 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)
สำหรับแม่ๆที่วางแผนทำเด็กหลอดแก้ว ต้องทานโปรตีนบำรุงไข่เตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้ากระบวนการนะคะ เพราะการบำรุงต้องใช้เวลา เราเอาวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพไป เสียเวลา เสียเงินเปล่าๆค่ะ เตรียมตัวให้พร้อม บำรุงไข่ให้มีคุณภาพ มีโอกาสลุ้นรอบเดียวติดค่ะ
Comments