งานวิจัยเผย! 8 อาหารเร่งไข่ตก
เพิ่มโอกาสท้อง
แม่ๆจ๋า อยากมีน้องต้องรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์นะคะ แม่ๆหลายคนอาจกำลังประสบปัญหามีบุตรยาก ทำมาแล้วทุกวิถีทางแต่เจ้าตัวน้อยก็ไม่มาสักที การปรับเปลี่ยนเรื่องการรับประทานอาหารเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดที่แม่ๆอาจมองข้ามไปก็ได้ค่ะ ซึ่งเรื่องอาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยบำรุงสุขภาพ ความสมบูรณ์ของแม่ในองค์รวม ยิ่งไปกว่านั้นในอาหารบางชนิดยังให้วิตามิน แร่ธาตุ หรือสารอาหารที่จำเป็นในการบำรุงไข่ ปรับสมดุลฮอร์โมน ช่วยให้วงจรการตกไข่ปกติอีกด้วยค่ะ
วันนี้ครูก้อยสืบค้นข้อมูลอาหารที่ช่วยบำรุงไข่ ทำให้ไข่สมบูรณ์ พร้อมตกในทุกรอบ หมั่นรับประทานตามนี้ โอกาสตั้งครรภ์ก็อยู่ไม่ไกลแล้วค่ะ
1. ถั่วต่างๆ
ถั่วมีโปรตีนสูง ไม่ว่าจะเป็นอัลมอนด์ วอลนัท ถั่วเหลือง หรือถั่วลูกไก่ ถือว่าเป็นโปรตีนจากพืช หรือ Plant-
Based Protein ที่ให้โปรตีนเทียบเท่ากับการทานเนื้อสัตว์ได้เลยค่ะ
📚มีงานวิจัยจาก Harvard School of Public Health พบว่าผู้หญิงกินโปรตีนจากสัตว์จำนวนถึง 39% จะประสบปัญหาภาวะที่มีบุตรยากมากกว่าผู้หญิงที่กินโปรตีนจากพืช
ดังนั้นอยากจะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้หันมากินโปรตีนจากพืชโดยรับประทานถั่วในมื้ออาหารเพิ่มกันนะคะ
.
2. เมล็ดฟักทอง
เมล็ดฟักทองเป็นแหล่งธาตุสังกะสี หรือ Zinc การขาดธาตุสังกะสีจะทำให้ร่างกายผลิตไข่ที่มีคุณภาพได้ช้า
📚จากงานวิจัยที่ได้นำเสนอที่งานสัมมนา American Physiological Society annual meeting at Experimental Biology 2018 in San Diego.
ได้อธิบายความสำคัญของ Zinc ไว้ว่า ผู้หญิงเราเกิดมา
พร้อมเซลล์ไข่ประมาณ 2 ล้านเซลล์ (oocytes) ซึ่งเซลล์ไข่แต่ละใบจะมีชั้นเซลล์พี่เลี้ยงเรียกว่า somatic ห่อหุ้มอยู่ เมื่อถึงภาวะเจริญพันธุ์ร่างกายก็ต้องมีกระบวนการเตรียมเซลล์ไข่ให้สมบูรณ์ สุก พร้อมที่จะตกลงมาเพื่อรับการปฏิสนธิ
จากการศึกษาพบว่าปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ไข่สุกและตกลงมาพร้อมรับการปฏิสนธิอย่างเป็นปกติ คือ การที่ร่างกายได้รับสารอาหารและแร่ธาตุในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่ง แร่ธาตุที่สำคัญหนึ่งในนั้นคือ Zinc นั่นเองค่ะ
โดยผลการทดลอง พบว่า หากร่างกายขาดแร่ธาตุ Zinc จะส่งผลทางลบต่อระบบการทำงานของรังไข่ การผลิตไข่ และการพัฒนาเติบโตของเซลล์ไข่ในระยะเริ่มต้น (Zinc deficiency can negatively affect the early stages of egg development.)
นอกจากนี้ยังส่งผลให้ความสามารถในการแบ่งตัวของเซลล์ไข่ และความพร้อมในการปฏิสนธิลดลง (Reducing the ability of the egg cells to divide and be fertilized.) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ในอนาคต
ดังนั้น Zinc จึงมีความจำเป็นอย่างมากต่อการผลิตไข่
(Zinc is vital in the production of mature eggs) #ช่วยทำให้ไข่สุกพร้อมที่จะรับการปฏิสนธิค่ะ
.
3. ผักใบเขียว
การกินผักใบเขียวเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงที่ต้องการเตรียมตัวตั้งครรภ์ ในผักใบเขียวมีวิตามินอี ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการตกไข่ และยังอุดมไปด้วยคลอโรฟิลล์ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้เลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดี ส่งผลให้มดลูกแข็งแรง เพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน
📚มีงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Human Reproduction เปิดเผยว่า ผู้หญิงที่กินผักผลไม้น้อยมีความเสี่ยงมีบุตรยากถึง 29% ดังนั้นแม่ๆอยากเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ต้องหันมาทานผักกันนะคะ
.
4. งาดำ
งาดำให้ธาตุเหล็กสูง โดยธาตุเหล็กที่ได้จากพืช
จะดูดซึมได้เร็วกว่าธาตุเหล็กจากสัตว์ ซึ่งเราจะพบธาตุ
เหล็กจากพืช เช่น เมล็ดฟักทอง หน่อไม้ฝรั่ง ถั่ว เป็นต้น โดยผู้หญิงหลายคนจะมีภาวะขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการบำรุงเลือดเพราะธาตุเหล็กจะอยู่ในเม็ดเลือดแดงในส่วนที่เรียกว่า ฮีม ที่เป็นส่วนช่วยในการจับกับออกซิเจนและส่งไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆของร่างกาย หากเราขาดธาตุเหล็กร่างกายก็จะขาดสมดุลในองค์รวม เลือดไหลเวียนได้ไม่ดีค่ะ ส่งผลต่อสมดุลฮอร์โมนและวงจรการตกไข่ได้ค่ะ
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Obstetrics and Gynecology ศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่ขาดธาตุเหล็กจะประปัญหาภาวะมีบุตรยาก การได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงภาวะไม่ตกไข่ได้ (anovulation)
.
5.นมแพะ
สำหรับแม่ๆที่วางแผนตั้งครรภ์ครูก้อยแนะนำให้ดื่มนมแพะแทนนมวัวค่ะ เพราะ นมแพะมีโปรตีนและไขมันอ่อนนุ่มย่อยง่ายกว่านมวัว ดื่มสบายท้องไม่ก่อให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อเหมือนการดื่มนมวัว
อุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญในการบำรุงร่างกายได้แก่วิตามินเอ อี ซี บี6 ที่ช่วยป้องกันร่างกายติดเชื้อ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน และวิตามินดีที่ช่วยทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ดีขึ้น
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Current Microbiology and Applied Sciences เมื่อปี 2017 ศึกษาคุณสมบัติของนมแพะเปรียบเทียบกับนมวัวพบว่าในนมวัวมีน้ำตาลแลคโตสสูงกว่านมแพะจึงเสี่ยงต่อภาวะ PCOS ไข่ไม่ตกเรื้อรัง แถมยังโมเลกุลใหญ่ ย่อยยาก ตกค้างในลำไส้ มีโปรตีนที่ก่อให้เกิดการแพ้น้อยกว่านมวัวถึง 89% #และเมื่อตั้งครรภ์ก็อาจเสี่ยงต่อลูกแพ้นมวัวได้
ดังนั้นวางแผนท้อง อยากบำรุง เราจะไม่ดื่มนมวัวกันนะคะแม่ๆ🚫🐄
.
6.แฟล็กซีด
แฟล็กซีดเป็นธัญพืชที่ให้โอเมก้า 3 สูงมาก โดยโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันดีที่ช่วยเสริมฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนเพศสมดุล ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ปรับวงจรการตกไข่ให้เป็นปกติ
และยังส่งผลดีต่อการสร้งสมองและระบบสายตาของทารกในครรภ์
โอเมก้า 3 พบในปลาทะเลน้ำลึก เช่น แซลมอน หรือ ทูน่า และยังพบมากในแฟล็กซีดซึ่งให้โอเมก้า 3 ชนิดเดียวกับ fish oil จนได้รับขนานนามว่าเป็นโอเมก้า 3 บนดิน
ซึ่งการทานจากธัญพืชให้ความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนมากกว่าทานจากปลาที่อาจปนเปื้อนสารเคมี เช่น ปรอท และเหมาะกับผู้ที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ก็สามารถได้แหล่งโอเมก้า 3 จากแฟล็กซีด
โดยแฟล็กซีด 100 กรัม ให้โอเมก้า 3,6 ถึง 28.73 กรัม
แฟล็กซีดให้โอเมก้า 3 ชนิด Alpha-Linolenic Acic (ALA) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่
ได้ ต้องรับประทานจากอาหารเข้าไปเท่านั้น
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016
ศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูงมีส่วนในการ " #ช่วยลดภาวะไข่ไม่ตก"
#นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมรับการตั้งครรภ์
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of food and Nutrition เมื่อปี 2009
ศึกษาพบว่า แฟล็กซีดเหมาะกับผู้ที่มีบุตรยากเพราะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS ) ที่สาเหตุหนึ่งมาจากภาวะดื้ออินซูลิน เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป Flaxseed มีไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายในน้ำ (Insoluble Fiber) ที่ช่วยทำให้การปล่อยน้ำตาลเข้ากระแสเลือดช้าลง ดีต่อผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย
📚และอีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2011 พบว่า ผู้หญิงที่รับประทานโอเมก้า 3 มีความเสี่ยงเรื่องภาวะไข่ไม่ตกลดลง นอกจากนี้โอเมก้า 3 ยังช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้ผนังมดลูกฟอร์มตัวหนาขึ้น พร้อมรับการฝัง
ตัวของตัวอ่อน
.
7.คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน
ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carb) หรือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ขัดสี เช่นพวกข้าวกล้อง ถั่ว ธัญพืช งาดำ เมล็ดฟักทอง ขนมปังโฮลวีต อาหารเหล่านี้จะให้คาร์บเชิงซ้อนที่ร่างกายจะใช้เวลาย่อยนานกว่าพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว หรือ คาร์โบไฮเดรตที่ขัดสี (Refined Carb) เช่น ข้าวขาว แป้ง น้ำตาล ขนมปัง เบเกอรี่ เมื่อใช้เวลาย่อย
นานกว่า จะให้พลังงานนานกว่า ไม่ทำให้หิวโหย ให้ไฟเบอร์สูง และไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว (glucose) การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกิน จะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนสืบพันธุ์ และมีผลกับประจำเดือน
ร่างกายจะเปลี่ยนกลูโคสที่มีมากเกินไปให้กลายเป็นไขมัน ดังนั้นคนที่พยายามลดความอ้วน หากลดการทานคาร์บได้ก็จะส่งผลต่อน้ำหนักที่ลดลงได้นั่นเองค่ะ
📚มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อปี 2017
ศึกษาพบว่าการทานอาหารแบบลดคาร์บประเภท Refined Carb ลง (Low Carbohydrate Diets) ช่วยลดระดับอินซูลิน ส่งผลต่อ ฮอร์โมนที่สมดุล วงจรการตกไข่เป็นปกติขึ้นทำให้มีอัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่รับประทานอาหารตามปกติ อีกทั้งยังลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย
.
8. น้ำมะกรูดคั้นสด
น้ำมะกรูดเป็นสมุนไพรไทยที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระช่วยบำรุงเซลล์ในร่างกาย
รวมไปถึงเซลล์สืบพันธุ์ ช่วยให้ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงทำงานได้ดีขึ้น ผลิตไข่ที่มีคุณภาพ
ซึ่งในน้ำมะกรูดมีงานวิจัยศึกษาพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก โดยสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า "เควอซิทีน" ที่ช่วยปกป้องเซลล์ไข่ ลดอัตราไข่ฝ่อได้
📚จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี 2017
ศึกษาพบว่า...สารเควอซิทินช่วยลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ โดยปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก
โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง
จะเห็นว่าหากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทิน” ไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว
นอกจากนี้น้ำมะกรูดคั้นสดยังมี "ไบโอฟลาโวนอยด์" ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ปรับสมดุลฮอร์โมน ทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอและดึงรอบวงจรการตกไข่ให้เป็นปกติค่ะ
.
.
รู้อย่างนี้แล้ว ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานให้ถูกหลักโภชนาการ ทานตามนี้ไข่สวย ฮอร์โมนดี ไข่ตก เพิ่มโอกาสท้องค่ะ
Comments