งานวิจัยเผย น้ำมะกรูดสดมีสารเควอซิทีน สูงที่สุด!
ตัวช่วยบำรุงไข่ ลดไข่ฝ่อ เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
เควอซิทีน เป็นหนึ่งในสารพฤกษเคมี หรือ ไฟโตนิวเทรียนท์ หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช สารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว
เควอซิทีน เป็นสารที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ เป็นสารที่ให้ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่นสูงที่สุด ให้ฤทธิ์ในการป้องกันดังนี้
ป้องกันการอักเสบของเซลล์
ป้องกันแบคทีเรียและไวรัส
ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค
ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน
ช่วยป้องกันอาการแพ้
ป้องกันการแข็งตัวของเลือด
ป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นในหลอดเลือด
ป้องกันหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน
ป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด
มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านเซลล์มะเร็ง
ยังยับยั้งวงจรชีวิตเซลล์ หยุดการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
ยับยั้งการเกิดเกิดอะพ็อพโทซิส (apoptosis) หรือการตายหรือเสื่อมของเซลล์
วันนี้ครูก้อยนำข้อมูลงานวิจัย 10 อันดับ พืชผักทั่วโลกที่ให้สารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า “เควอซิทีน” สูงสุด (ต่อปริมาณ 100 กรัม)มาฝากค่ะ ตัวไหนเยอะสุดไปดูกันเลย!!!
อันดับ 10 ลูกแพร์ มีปริมาณสารเควอซีทีน 4.5 mg
อันดับ 9 แอปเปิ้ลแดง มีปริมาณสารเควอซีทีน 4.7 mg
อันดับ 8 บลูเบอรี่ มีปริมาณสารเควอซีทีน 5.1 mg
อันดับ 7 ผักเคล มีปริมาณสารเควอซีทีน 7.7 mg
อันดับ 6 พริกเขียว มีปริมาณสารเควอซีทีน 15 mg
อันดับ 5 แครนเบอรี่ มีปริมาณสารเควอซีทีน 15 mg
อันดับ 4 หอมใหญ่ มีปริมาณสารเควอซีทีน 21 mg
อันดับ ดับ 3 หอมแดง มีปริมาณสารเควอซีทีน 33 mg
อันดับ 2 เอลเด้อเบอร์รี มีปริมาณสารเควอซีทีน 42 mg
อันดับ 1 มะกรูด มีปริมาณสารเควอซีทีน 44 mg
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารInternational Journal of Food Sciences and Nutrition เมื่อปี 2009 ศึกษาพบว่า สาร”เควอซิทิน” มีมากในกลุ่มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (Citrus fruits) โดยเฉพาะผลไม้จำพวกมะกรูด (Kariff lime หรือ Citrus hystrix) ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิดมาก โดยตัวอย่างสดมีสารฟลาโวนอยด์รวม 1,104±74 มิลลิกรัม ต่อ มะกรูด 100 กรัม (ประมาณ 1.1 ส่วนในน้ำหนักร้อยส่วน) ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณ Antioxidant รวมที่สูงมาก และเป็นเควอซิทิน 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม โดยการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารเควอซิทินในผักผลไม้ชนิดต่างๆ พบว่าในมะกรูดมีสาร Quercetin สูงสุด
มะกรูดเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้อย่างไร?
จากการศึกษาเรื่องสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) กับการชะลอการเสื่อมของเซลล์ไข่สำหรับผู้มีบุตรยาก ผลการศึกษาพบว่าหนึ่งในสาเหตุหลักของภาวการณ์มีบุตรยากของเพศหญิง คือการที่อนุมูลอิสระ (Oxidant หรือ Free Radical) เข้าไปทำลายระบบต่างๆ ภายในเซลล์ไข่ เช่น การรวมตัวกับ DNA แล้วทำให้โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้โครโมโซมเสียหาย หรือการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ชั้นลิพิด (Lipid) ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ไข่ทำให้เซล์ไข่เสื่อมสภาพ (Oocyte aging)
โดยทั่วไปแล้วในร่างกายมีการสร้างอนุมูลอิสระออกมาตลอดเวลาจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร อนุมูลอิสระส่วนใหญ่มีอะตอมของออกซิเจนที่ไวต่อการทำปฏิกริยาออกซิเดชัน หรือเรียกว่า Reactive Oxygen Species (ROS) ซึ่งสร้างความเสียหายแก่เซลล์ หากร่างกายเรามีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ที่จะมาจัดการกับ ROS ไม่เพียงพอจะทำให้เซลล์ต่างๆถูกทำลายจนเสื่อมไปเรื่อยๆ
ในด้านระบบสืบพันธ์ของเพศหญิงนั้น อนุมูลอิสระจะเข้าไปทำลายเซลล์ไข่ ทำให้เซลล์ไข่เสื่อม และยังทำให้รังไข่ทำงานไม่เป็นปกติ ผลิตไข่ที่ด้อยคุณภาพ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และกระทบต่อความสมดุลของฮอร์โมน
การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะช่วยปกป้องเซลล์จากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระชะลอความเสื่อมถอยของการทำงานของระบบสืบพันธุ์ และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายในองค์รวมค่ะ
สารเควอซิทีนลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ได้อย่างไร?
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget ในปี 2017 ที่ทดลองในหนู ศึกษาพบว่าปริมาณสารต่อต้านอนุมูลอิสระ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมากโดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมง จะเห็นว่าหากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระ เควอซิทีน” ไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว
สารเควอซิทีนช่วยบาลานซ์ฮอร์โมนเพศ
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารJournal of Ovarian Research เมื่อปี 2020 ศึกษาเกี่ยวกับสารเควอซิทีนที่ส่งผลต่อ “ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง” (PCOS) พบว่า สารเควอซิทีนช่วยบาลานซ์ฮอร์โมนเพศหญิง เควอซิทีนช่วยปรับระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน และฮอร์โมนแอนโดรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย และช่วยเสริมการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และ เอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญในการสืบพันธุ์ และการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังช่วยปรับระดับฮอร์โมน LH ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ ซึ่งผู้ที่อยู่ในภาวะ PCOS จะมีฮอร์โมนตัวนี้สูงเกินไป ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่เป็นปกติ
Comments