😴การนอนเป็นสิ่งที่จำเป็นมากต่อระบบการทำงานของร่างกาย การนอนส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตโดยรวมทั้งหมด สำคัญที่สุดคือเรื่องสุขภาพซึ่งรวมไปถึงภาวะเจริญพันธุ์ด้วย เพราะการนอนหลับที่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของสมองและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ปรับสมดุลฮอร์โมนของร่างกายรวมไปถึงควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเพศที่เป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างสเปิร์มที่มีคุณภาพของคุณผู้ชายด้วยค่ะ
😴รู้ไหม? การนอนไม่พอส่งผลต่อฮอร์โมนสืบพันธุ์ไม่สมดุล
📚จากงานวิจัยเรื่อง
Sleep, Circadian Rhythms, and Fertility ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย
สมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เราหลับ หรือ ตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน และ คอติซอล เป็นสมองส่วนที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วยเช่นกัน ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และ ฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับด้วย
😴รู้ไหม?นอนน้อย หรือ นอนดึกไป ทำลายคุณภาพสเปิร์ม
📚จากงานวิจัยเรื่อง Sleep Deprivation and Late Bedtime Impair Sperm Health Through Increasing Antisperm Antibody Production: A Prospective Study of 981 Healthy Men
ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Medical Science Monitor เมื่อปี 2017
ศึกษาผู้ชายชาวจีนจำนวน 981 คน โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่มตามเวลาที่ให้เข้านอนและจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับโดยศึกษาต่อเนื่องนาน 3 เดือน
🔸️กลุ่ม A นอนช่วงเวลา 20.00-22.00 น.
🔸️กลุ่ม B นอนช่วงเวลา 22.00-24.00 น.
🔸️กลุ่ม C นอนหลัง 24.00 น.
โดยกำหนดระยะเวลาในการนอนดังนี้
🔸️กลุ่ม 1 นอนน้อยกว่า 6 ชม.
🔸️กลุ่ม 2 นอน 7-8 ชม.
🔸️กลุ่ม 3 นอนมากกว่า 9 ชม.
จากผลการศึกษาได้วิเคราะห์คุณภาพสเปิร์มตามเวลาการเข้านอนและจำนวนชั่วโมงที่นอนดังนี้
1. Sperm Count (จำนวนสเปิร์ม) จากการศึกษาพบว่า จำนวนสเปิร์มลดลงอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่มที่นอนหลังเที่ยงคืนและนอนน้อยกว่า 6 ชม. เมื่อเทียบกับกลุ่มที่เข้านอนเร็ว (20.00-22.00) และนอนน้อยกว่า 6 ชม.เหมือนกัน
(C1 vs. A1) เช่นเดียวกับ (C2 vs. A2) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเวลาในการเข้านอนส่งผลต่อจำนวนสเปิร์ม
2. Sperm Motility (เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหวของสเปิร์ม)
จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่อยู่ในกลุ่ม A1, A3, B1, B3 และ C1 มีเปอร์เซ็นต์ของสเปิร์มที่เคลื่อนไหวลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ซึ่งสรุปได้ว่าในด้านการเคลื่อนไหวของสเปิร์ม ผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม. หรือ นอนมากกว่า 9 ชม. ส่งผลต่อ sperm motility
3.Sperm survival rate (อัตราการมีชีวิตของสเปิร์ม
จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายในกลุ่ม A1, A3, B1, B3 และ C1 มีค่าการมีชีวิตของสเปิร์มลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ซึ่งก็เป็นกลุ่มที่นอนน้อยกว่า 6 ชม. หรือมากกว่า 9 ชม.นั่นเอง
งานวิจัยนี้ได้สรุปว่า จำนวนชั่วโมงในการนอน และ การนอนดึกส่งผลต่อคุณภาพสเปิร์ม ทั้งในด้านจำนวน เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว และอัตราการมีชีวิตของสเปิร์ม
📚ปิดท้ายด้วยงานวิจัยเรื่อง Sleep Can Affect Male Fertility ของ Boston University School of Public Health เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าการนอนที่เพียงพอนั้นควรนอนหลับ 7-8 ชม.ต่อวัน ผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือ นอนมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือน
โดยนักวิจัยแนะนำว่าควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชม.ต่อวันจึงจะส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ค่ะ
ดังนั้นว่าที่คุณพ่ออยากมีลูกเร็วๆต้องใส่ใจการนอนด้วยนะคะ ควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชม.ต่อวันก็จะส่งผลดีต่อคุณภาพของสเปิร์มค่ะ นอกจากนี้ต้องรู้จักบำรุงสเปิร์มด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ รัยรองว่าน้องอ๊อดแข็งแรง ฟิตปั๋ง มีเจ้าตัวน้อยไม่นานเกินรอค่ะ ครูก้อยรวบรวมคัมภีร์อาหารบำรุงสเปิร์มมาให้แล้ว ศึกษาและทำตามนะคะ สู้ๆค่ะ💪
Comments