ตามกฎหมายการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของไทยในปัจจุบัน คู่สมรสสามารถใช้สเปิร์มบริจาคได้ ในกรณีที่สเปิร์มของสามีมีข้อบ่งชี้ที่เข้าหลักเกณฑ์ควรได้รับอสุจิบริจาคค่ะ
วันนี้ครูก้อยจะพาไปศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้กันค่ะ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ ประกาศแพทยสภาที่ 95(9)/2558 และ ที่ 95(7)/2558 ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ดังนี้
●ผู้บริจาค
1. มีอายุระหว่าง 20-45 ปี
2. ผ่านการตรวจประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อม
3. กรณีผู้บริจาคมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
4. สามารถบริจาคอสุจิได้เมื่อมีการตั้งครรภ์แล้วไม่เกิน 10 ครอบครัว
.
●ผู้รับบริจาค
1. เป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย
2. มีข้อบ่งชี้ในการใช้อสุจิบริจาค เช่น สามีไม่มีอสุจิ หรือ อสุจิผิดปกติอย่างรุนแรง สามีมีความเสี่ยงในการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม สามีมีโรคติดต่อที่ไม่อาจรักษาให้หายได้
3. เกณฑ์การตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิเป็นไปตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก
4. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ให้บริการในการใช้อสุจิบริจาคต้องต้องแจ้งข้อมูล ขั้นตอน ความเสี่ยงแก่คู่สามีภริยาและต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนใช้สเปิร์มบริจาค
.
● ต้องการรับบริจาคอสุจิต้องทำอย่างไร?
ปัจจุบันคู่สมรสสามารถเข้าปรึกษาแพทย์ได้ที่คลินิกผู้มีบุตรยากทั่วไป โดยต้องเป็นคลินิกหรือสถานพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีการเก็บสเปิร์มบริจาคตามเงื่อนไข ขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอสุจิที่รับบริจาคนั้นให้เก็บไว้อย่างน้อย 6 เดือน
คู่สมรสที่ประสงค์จะใช้อสุจิบริจาค จะสามารถใช้อสุจิบริจาคได้หรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กล่าวข้างต้นด้วย จะต้องมีการตรวจความสมบูรณ์ของอสุจิ ตรวจโรค ตรวจร่างกายของฝ่ายชาย และกรณีของฝ่ายหญิงที่มีหมู่เลือดอาร์เอชลบ และต้องมีการลงนามยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรณ์
.
●อยากรับบริจาคอสุจิไปที่ไหน?
ร.พ.ใหญ่มีที่ ธนาคารอสุจิ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยค่ะ โดยสามารถเข้สไปปรึกษาทั้งเรื่อง
(1) ฝากอสุจิ กรณีต้องการฝากไว้ก่อนเพราะต้อง
รักษาโรค หรือฝากไว้เมื่อพร้อมมีลูกแล้วจึงนำมาใช้
(2) บริจาคอสุจิ
(3) รับบริจาคอสุจิ
ทั้งนี้ก็ต้องเข้าไปพบแพทย์ ซักประวัติ ตรวจร่างกายเพื่อดำเนินการต่อไปค่ะ
_____________________________________________
ชมรายการ Research Talk EP. 3 การบริจาคไข่บริจาคอสุจิ และบริจาคตัวอ่อน ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางกฎหมายอย่างไร
คลิกชมเลยค่ะ → https://youtu.be/iOaS8SbLqes
อง