สำหรับแม่ๆ ที่มีปัญหาเรื่องมีลูกยากและตรวจพบว่าตัวเองมีภาวะฮอร์โมนเพศไม่สมดุล อาจกำลังสงสัยอยู่ว่าภาวะนี้คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราจะสังเกตอาการและเตรียมรับมือ รวมถึงป้องกันภาวะดังกล่าวอย่างไรได้บ้าง วันนี้ครูก้อยจะมาอธิบายให้ฟังกันค่ะ
ฮอร์โมนเพศไม่สมดุลคืออะไร
เป็นภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนเพศภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone), ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) และฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งในด้านรูปลักษณ์ภายนอกและนิสัยใจคอ หากฮอร์โมนเหล่านี้ขาดสมดุลเป็นเวลานาน อาจมีผลทำให้เจ็บป่วยง่าย ร่างกายทรุดโทรม สภาพจิตใจย่ำแย่ หรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังตามมาในอนาคต โดยทั่วไปแล้วภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน (อายุ 45 - 55 ปี โดยประมาณ) แต่ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ที่มีภาวะดังกล่าวมากขึ้นอันเนื่องมาจากภาวะวัยทองก่อนวัยอันควรค่ะ
สาเหตุที่ทำให้ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล
อายุมากขึ้น
ภาวะความเครียดสะสมและรบกวนระบบการทำงานของฮอร์โมนเพศ
เลือกรับประทานอาหารทำร้ายฮอร์โมนเป็นประจำ โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันไม่ดี รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย
พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อยกว่า 7 - 8 ชั่วโมงต่อวัน
มีภาวะความเครียดสะสมเป็นเวลานาน
รักษาโรคด้วยยาบางชนิดที่มีผลต่อฮอร์โมนเพศ เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคมะเร็ง
จะรู้ได้ไงว่าฮอร์โมนเพศไม่สมดุล
ผิวพรรณแห้งกร้าน เล็บเปราะ หักง่าย
หงุดหงิดบ่อย เครียดง่าย อารมณ์แปรปรวนบ่อย
นอนหลับยาก คุณภาพการนอนลดลง
สมาธิสั้น ความจำลดลง
ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่มาติดต่อกันนานถึง 12 เดือน
ปวดประจำเดือนมากจนรู้สึกทนไม่ไหว
มีสิวขึ้นมากกว่าแต่ก่อนเนื่องจากต่อมไร้ท่อ, ต่อมไขมันบริเวณเซลล์ผิวหนัง และรูขุมขนทำงานผิดปกติ
อ่อนเพลียง่าย รู้สึกไม่สดชื่นเหมือแต่ก่อน
รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากช่องคลอดแห้ง ส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลงเพราะระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนลดลง
บางรายอาจมีขนาดหน้าอกที่เล็กลงเนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงลดลง
กระดูกเปราะง่าย สังเกตได้จากอาการปวดหลังจากยกของหนักหรือล้มลง
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อฮอร์โมนเพศไม่สมดุล
ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทองหรือมีภาวะวัยทองก่อนวัยอันควร
ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวเกินหรือต่ำกว่ามาตรฐาน
ผู้ที่มีสภาพร่างกายผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ทานแต่อาหารเมนูเดิมเป็นประจำ
ผู้ที่ละเลยการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือวันละ 20 - 30 นาที
ผู้ที่ได้รับสารเคมีปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายเป็นประจำ เช่น ผู้ที่ทำงานหรืออยู่อาศัยใกล้โรงงานอุตสาหกรรม
ผู้ที่รักษาโรคด้วยยาบางชนิดที่มีผลต่อความผิดปกติของฮอร์โมนเพศ
ผู้ที่นอนไม่เป็นเวลา เช่น ทำงานกะดึก เล่นเกมหรือติดดูซีรี่ย์ก่อนนอนเป็นประจำ
ผู้ที่ไม่สามารถจัดการภาวะความเครียดและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ฮอร์โมนเพศไม่สมดุล มีผลต่อการมีลูกอย่างไร
เนื่องจากภาวะดังกล่าวมีผลต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย รวมถึงระบบสืบพันธุ์ด้วยนะคะ หากฮอร์โมนเพศผิดปกติไปจากเดิม ก็จะทำให้ระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ทำงานผิดเพี้ยนไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนที่มาไม่ปกติหรือไม่มาติดต่อกันนานถึง 12 เดือน เนื่องจากไข่ไม่ตก, หิวบ่อยขึ้นเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จึงไปกระตุ้นความอยากอาหารให้มากขึ้น และเมื่อเราทานอาหารมากขึ้น ร่างกายก็เก็บสะสมไขมันมากขึ้น ยิ่งถ้าไม่ได้ออกกำลังกายร่วมด้วยแล้วล่ะก็ นอกจากจะเสี่ยงต่อน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานและเจ็บป่วยง่ายแล้ว อาจเสี่ยงต่อภาวะไขมันสะสมจนไปรบกวนการทำงานของระบบสืบพันธุ์จนไปลดโอกาสการตั้งครรภ์ให้น้อยลงตามด้วยค่ะ
ตรวจฮอร์โมนไม่สมดุลได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีตรวจสมดุลของฮอร์โมนหลากหลายวิธีอย่างการตรวจฮอร์โมนจากน้ำลาย แต่วิธีที่นิยมกันมากที่สุดคือการตรวจระดับฮอร์โมนจากเลือดค่ะ เพราะเป็นวิธีที่ตรวจได้ทั้งฮอร์โมนเพศอย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) นอกจากนี้ยังตรวจฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cotisol) และฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีผลต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายที่สำคัญไม่แพ้ฮอร์โมนเพศเลยค่ะ
ฮอร์โมนไม่สมดุล รักษายังไง
โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่อาจเสี่ยงต่อความผิดปกติของฮอร์โมนด้วยการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันในปริมาณมาก, พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายประมาณ 7 - 8 ชั่วโมง, หากิจกรรมทำแก้เครียดเมื่อรู้สึกตัวว่าความเครียดมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากเกินไป, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ นอกจากจะทำให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ร่างกายแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายแต่พอดี ไม่หักโหมเกินไปยังช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ สำหรับการออกกำลังกายปรับสมดุลฮอร์โมนที่ครูก้อยขอแนะนำได้แก่ การเล่นโยคะ, การคาร์ดิโอ, แอโรบิกแดนซ์ เป็นต้น
นอกจากการดูแลสุขภาพร่างกายเป็นประจำแล้ว ครูก้อยยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมนเพศอย่าง Ferti 9 Oil By KruKoy เฟอร์ติ ไนน์ ออยล์ บาย ครูก้อย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันดีทั้ง 9 ชนิด ได้แก่ น้ำมันดอกทานตะวัน, น้ำมันอะโวคาโด, น้ำมันมะกอก, น้ำมันสาหร่ายทะเล และอื่น ๆ อีกมากที่ช่วยบำรุงเยื่อบุโพรงมดลูก, เพิ่มคุณภาพเซลล์ไข่และกระตุ้นการตกไข่, ปรับสมดุลและเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยลดและต้านการอักเสบของร่างกาย จึงช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคุณแม่และคุณพ่อที่มีปัญหามีบุตรยาก, อยู่ในช่วงเตรียมมีลูกทั้งแบบธรรมชาติหรือผู้ที่เตรียมเข้าสู่กระบวนการ IUI, IVF, ICSI (เด็กหลอดแก้ว) ผู้ที่ต้องการบำรุงสุขภาพร่างกายตัวเองให้แข็งแรงอีกด้วยค่ะ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: Ferti 9 Oil By KruKoy
Comments