"เควอซิทีน" (Quercetin) ในน้ำมะกรูดสด กับการบำรุงเซลล์ไข่
ทำไมครูก้อยจึงแนะนำให้กระดกน้ำมะกรูด ในช่วงบำรุงไข่?
สาเหตุหลักของการทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่ประสบความสำเร็จมาจากตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ (รองลงมาคือปัญหาเรื่องผนังมดลูก)
ตัวอ่อนที่ไม่สมบูรณ์ อาจมาจากโครโมโซมผิดปกติ สืบเนื่องมาจากเซลล์ไข่มีความเสื่อมจากอนุมูลอิสระ หรือไข่ที่ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นนั่นเอง เมื่อเกิดการรวมตัวกับ DNA แล้วทำให้โมเลกุลของ DNA เปลี่ยนไป ส่งผลให้โครโมโซมเสียหาย หรือเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ชั้น lipid
ซึ่งเป็นองค์ประกอบในผนังเซลล์ทำให้เซลล์ไข่เสื่อมสภาพ (Oocyte aging)
โดยทั่วไปแล้วในร่างกายมีการสร้างอนุมูลอิสระออกมาตลอดเวลาจากกระบวนการเผาผลาญสารอาหาร อนุมูลอิสระส่วนใหญ่มีอะตอมของออกซิเจนที่ไวต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน ที่เรียกว่า “ Reactive Oxygen Species” (ROS) ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่เซลล์
หากร่างกายเรามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่จะมาจับ ROS ไม่เพียงพอ จะทำให้เซลล์ต่างๆถูกทำลายจนเสื่อมไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะ #เซลล์ไข่ซึ่งเป็นเซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย และเป็นเซลล์สืบพันธุ์ จะเซนซิทีฟต่ออนุมูนอิสระมากกว่าเซลล์อื่นๆในร่างกาย
นอกจากนี้อนุมูลอิสระจะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ไข่ได้มากยิ่งขึ้นในกระบวนการ “ทำเด็กหลอดแก้ว” เนื่องจากเซลล์ไข่ที่เก็บออกมา จะไม่มีของเหลวที่เรียกว่า “ follicular fluid” ป้องกันอยู่เหมือนในร่างกายมนุษย์ ทำให้เซลล์ไข่ถูกทำลายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้นไปอีก
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการเตรียมเซลล์ไข่ให้มีคุณภาพที่ดีที่สุด และถูกทำลายน้อยที่สุดก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Oncotarget เมื่อปี 2017 ได้มีการทดลองในหนูและค้นพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ชื่อว่า
“เควอซิทิน” (Quercetin) ที่ได้จากผลไม้ สามารถลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและช่วยในการพัฒนาของเซลล์ไข่จนไปถึงระยะบลาสโตซีสต์
รูป A แสดงตัวอย่างเซลล์ไข่ที่ถูกนำออกมาจากร่างกาย รูปบนซ้ายคือลักษณะเซลล์ไข่ที่ปกติ ส่วนอีกสามรูปที่เหลือคือเซลล์ไข่ที่เกิดความผิดปกติ (abnormal) ซึ่งมีได้หลายแบบ เช่น degenerate, fragmented หรือ activated ซึ่งเกิดจากผลของอนุมูลอิสระ
รูป B แผนภูมิแสดงเปอร์เซ็นต์ของจำนวนไข่ที่เกิดความผิดปกติ (แกน Y) เทียบกับปริมาณการใช้สารต้านอนุมูลอิสระ quercetin (แกน X) ในการเลี้ยงเซลล์ไข่ในห้องทดลองเป็นเวลา 12 ชั่วโมง
รูป C แผนภูมิแสดงเปอร์เซ็นต์ของจำนวนไข่ที่เกิดความผิดปกติ (แกน Y) เทียบกับปริมาณการใช้สารต้านอนุมูลอิสระ quercetin (แกน X) ในการเลี้ยงเซลล์ไข่ในห้องทดลองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
จาก B และ C พบว่าปริมาณ quercetin ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมงจะเห็นว่าหากไม่มีสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทินไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ (ประมาณ 10 ในล้านส่วน) จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซิสต์ได้อีกเท่าตัว
แล้วสารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทินมีมากที่ไหน?
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารInternational Journal of Food Sciences and Nutrition เมื่อปี 2009 ศึกษาพบว่า สาร”เควอซิทิน” มีมากในกลุ่มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (Citrus fruits) โดยเฉพาะผลไม้จำพวกมะกรูด (Kariff lime หรือ Citrus hystrix) ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์หลายชนิดมาก โดยตัวอย่างสดมีสารฟลาโวนอยด์รวม 1,104±74 มิลลิกรัม ต่อ มะกรูด 100 กรัม (ประมาณ 1.1 ส่วนในน้ำหนักร้อยส่วน) ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณ Antioxidant รวมที่สูงมาก และเป็นเควอซิทิน 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม โดยการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณสารเควอซิทินในผักผลไม้ชนิดต่างๆ พบว่าในมะกรูดมีสาร Quercetin สูงสุด
สารเควอซิทินลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ไข่ได้อย่างไร?
จากงานวิจัยพบว่าปริมาณ “Quercetin” ที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เปอร์เซ็นต์ความผิดปกติของเซลล์ไข่ลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะการเลี้ยงไข่ที่ 24 ชั่วโมงจะเห็นว่า หากไม่มี “สารต้านอนุมูลอิสระเควอซิทิน” ไข่จะฝ่อเสียเกือบ 80% แต่ในกรณีที่มีเควอซิทินเพียง 10 ไมโครโมลาร์ จะช่วยลดความเสียหายได้เกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในความสำเร็จจนถึงระดับบลาสโตซีสต์ได้อีกเท่าตัว
Comments