แม่ๆ หลายคนต้องเจอกับความผิดหวังจากการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) ใส่ตัวอ่อนแล้วไม่ติดสมหวังดังใจ บางคนย้ายมาแล้วหลายครั้งก็ยังไม่ติด!
สาเหตุที่ทำให้ใส่ตัวอ่อนไม่ติดนั้น นอกจากเรื่องเซลล์ไข่ที่ไม่สมบูรณ์และผนังมดลูกไม่พร้อมที่เป็นสาหตุหลักแล้ว ยังรวมไปถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมน และปัญหาภายในอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่ๆ ก็เป็นสาเหตุที่อาจส่งผลต่อการขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้ค่ะ
วันนี้ครูก้อยจะพาไปศึกษาถึงสาเหตุ 5 ประการที่ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว ย้ายทีไรก็ไม่สำเร็จสีกที ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ
.
1.#คุณภาพตัวอ่อน
เมื่อมีการเก็บไข่และนำมาปฏิสนธิในห้องแล็บแล้วก็จะมีการเลี้ยงตัวอ่อนไปจนถึงระยะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป โดยอาจจะเลี้ยงถึง Day 3 (Clevage) หรือ Day 5 (Blastocyst) ขึ้นอยู่กับว่าตัวอ่อนนั้นมีคุณภาพหรือไม่ หากเลี้ยงต่อไปจะรอดหรือไม่ และยังขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอ่อนที่ได้จากการปฏิสนธิด้วย
หากได้ตัวอ่อนหลายตัวแพทย์อาจพิจารณาเลี้ยงจนถึงระยะบลาสโตซิสต์เพราะเป็นระยะที่เหมาะสมที่สุดในการฝังตัว ทำให้มีโอกาสตังครรภ์สูง แต่ถ้าได้ตัวอ่อนน้อยการเลี้ยงยาวไปก็เกิดความเสี่ยงสูงว่าอาจจะไม่มีตัวอ่อนเหลือรอด
ในด้านเกรดของตัวอ่อน จะมีการแบ่งเกรดตัวอ่อนตามหลักมาตรฐานสากลโดยหลักๆจะแบ่งเป็นเกรด A B C ซึ่งจะแบ่งย่อยลงไปอีกว่าเป็นตัวอ่อนเกรดไหนของระยะ Day ไหน กล่าวโดยสรุปคือนักวิทย์ฯที่เพาะเลี้ยงตัวอ่อนจะระบุว่าตัวอ่อนของแม่เป็นตัวอ่อน Day ไหนและเกรดไหนค่ะ โดยจะมีหลักการแบ่งเบื้องต้น ประเมินจากรูปร่างของเซลล์
ระยะการแบ่งเซลล์ของเซลล์ที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อ การแบ่งตัวของเซลล์ที่จะเจริญเติบโตไปเป็นเซลล์รก
โดยเกรดของตัวอ่อนมีความสำคัญต่อโอกาสในการติดหรือไม่ติด ตัวอ่อนที่ดีมีโอกาสติดสูงต้องเกรด A แข็งแรง คุณภาพดี
ซึ่งคุณภาพของตัวอ่อนนี้จะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของเซลล์ไข่และสเปิร์มตั้งต้นเป็นหลักค่ะ เช่น ผู้หญิงที่มีอายุมาก โครโมโซมของเซลล์ไข่ก็จะผิดปกติมากขึ้นด้วย ทำให้เมื่อเกิดการปฏิสนธิจะได้ตัวอ่อนที่คุณภาพไม่ดี หรือ ตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติ
เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น พลังงานในเซลล์ไข่จะด้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนมีประสิทธิภาพด้อยลง แบ่งเซลล์ได้ช้า ไม่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นบลาสโตซิสต์ หรือบางครั้งหยุดโตกลางทาง หรือไปหยุดการเจริญเติบโตหลังจากใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้ไม่เกิดการฝังตัวอ่อน จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์
.
2.#โครโมโซมตัวอ่อน
ถึงแม้จะได้ตัวอ่อนเกรด A แข็งแรง ระยะบลาสโตซิสต์แต่โครโมโซมข้างในเราไม่สามารถรู้ได้ว่าโครโมโซมของตัวอ่อนนั้นปกติดีครบถ้วนหรือไม่ แน่นอนว่ากรด A แข็งแรงโอกาสติดมีสูง แต่การคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์เพราะตัวอ่อนที่มีโครโมโซมผิดปกติจะไม่ฝังตัวและไม่เจริญเติบโต หรือ เติบโตแต่มีความพิการ (ดาวน์ซินโดรม) หากส่งคัดแล้วโครโมโซมไม่ผ่านก็ไม่ต้องเสียเวลาย้ายตัวอ่อนกลับเข้าไป ดังนั้นแม่ๆ บางคนอาจจะเจอปัญหานี้แต่ไม่เคยรู้มาก่อนเพราะไม่คัดโครโมโซมตัวอ่อน
👉#การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนเหมาะกับใคร❓
🔸️สตรีที่มีอายุกว่า 35 ปี ที่ต้องการมีบุตร
🔸️สตรีที่มีประวัติการแท้งบุตรหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
🔸️สตรีที่เคยมีประวัติแท้งบุตรที่โครโมโมโซมผิดปกติ
🔸️คู่แต่งงานที่เคยทำเด็กหลอดแก้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป
👉#วิธีการคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว
🔸️ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีจะได้รับการแยกเซลล์ออกมา 1-2 เซลล์ ด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษโดยใช้เลเซอร์หรือกรด
🔸️เซลล์ที่ได้จะถูกนำมาตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยว่าเซลล์นั้นมีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ต้องการตรวจหาหรือไม่
🔸️ตัวอ่อนเฉพาะที่มีเซลล์ที่ตรวจพบว่ามีความปกติเท่านั้นที่จะได้ย้ายเข้าโพรงมดลูกตามขั้นตอนการ
ย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูกต่อไป
.
🎯อย่างไรก็ตามหากตัวอ่อนเกรด A คัดโครโมโซมผ่านแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะใส่ติด 100% แม่ๆต้องเตรียมผนังมดลูกให้พร้อมด้วยค่ะ
.
3.#ผนังมดลูกต้องสมบูรณ์พร้อมรับการฝังตัว
✔ผนังมดลูกต้องหนาพออย่างน้อย 8-10 มิล
✔ใสเป็นสุ้น
✔เรียงสวยสามชั้น (Triple lines)
✔และมดลูกต้องอุ่น ไม่เย็น
ผนังมดลูกที่พร้อมในการฝังตัวต้องไม่หนาทึบอันเกิดจากการทับถมของประจำเดือนเก่าที่คั่งค้าง ซึ่งส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้อย่างเพียงพอ ฝังตัวได้ยาก
และเยื่อบุโพรงมดลูกต้องไม่บางเกินไป โดยควรมีความหนาอยู่ที่ 8-10 มิล ในวันนัดใส่ตัวอ่อน แต่ไม่ควรหนาเกิน 14 มิล
ยิ่งไปกว่านั้นมดลูกต้องมีตัวรับฮอร์โมนยาที่ดี คือ มีตัว Receptorในมดลูกที่ตอบสนองฮอร์โมนยาโปรเจสเตอโรนหรือเอสโตรเจน ที่หมอให้ได้ดี ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถเทสตรงนี้ได้ว่าใครมีตัว Receptor ดีหรือไม่ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนหมอให้ยา 10 ก็ตอบสนองรับได้ 10 บางคนรับได้ 5 โอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนก็จะแตกต่างกันไป
.
4. #ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับมดลูก
ในเรื่องของมดลูกนั้น ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ได้แก่
👉 4.1 #เนื้องอกในโพรงมดลูก
หากมีเนื้องอกในโพรงมดลูกขนาดใหญ่ และเนื้อ
งอกนั้นอยู่ในตำแหน่งที่อาจจะขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ก่อนเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว จะต้องมีการตรวจภายในให้เรียบร้อยก่อน หากพบเนื้องอกในโพรงมดลูก แพทย์จะได้รักษาหรือผ่าตัดออกก่อนจะเข้ากระบวนการต่อไป
👉 4.2 #ผนังมดลูกพริ้ว
เกิดจากการเคลื่อนตัว หรือเกร็งตัวของมดลูก ซึ่งเกิดขึ้นได้เองตลอดเวลา ไม่สามารถบังคับหรือห้ามได้ ทำให้มดลูกมีการบีบตัว และอาจส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนได้ ในกรณีที่มีการเคลื่อนตัวมากผิดปกติ แพทย์อาจพิจารณาให้ทานยาคลายกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อรักษาก่อนใส่ตัวอ่อนค่ะ
👉 4.3 #มีภาวะความบกพร่องของการหลั่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Luteal phase defect)
ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์ต่ำเกินไป ทำให้ผนังมดลูกไม่ฟอร์มตัวหนาขึ้นพร้อมที่จะรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน ส่งผลให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้น
ในกรณีที่ฝ่ายหญิงมีผนังมดลูกไม่พร้อมเพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ แพทย์อาจต้องให้ยาฮอร์โมนเสริมให้มดลูกพร้อมก่อน การย้ายตัวอ่อนก็อาจต้องเลื่อนระยะเวลาออกไปอีกค่ะ
👉 4.4 #อุ้งเชิงกรานอักเสบ
ซึ่งเป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ได้แก่ มดลูก ปีกมดลูกและท่อนำไข่ ซึ่งหากมีการติดเชื้อที่มดลูกจะส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน หรือ การแท้งในระยะเริ่มต้น
.
ปัญหานี้แม่ๆ อาจส่งสัยว่ามันจะเกี่ยวกับการฝังตัวของตัวอ่อนอย่างไรใช่มั้ยคะ เพราะท่อนำไข่อุดตันอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องธรรมชาติไม่ได้ เพราะท่อนำไข่คือที่พบกันของไข่และสเปิร์ม หากท่อนำไข่ตันเมื่อมีไข่ตกลงมาที่ท่อนำไข่สเปิร์มก็ไม่สามารถว่ายเข้ามาผสมได้
แต่การทำ ICSI เป็นการปฏิสนธิภายนอก จึงไม่ต้องใช้ท่อนำไข่
แต่ประเด็นอยู่ตรงนี้ค่ะ! หากแม่ๆ มีท่อนำไข่อุดตัน หรือ ท่อนำไข่บวมน้ำ จะมีของเหลวในท่อนำไข่เรียกว่า (hydrosalpinx fluid) หรือ HF ซึ่งเหมือนเป็นน้ำขังเก่าๆ มีสภาวะที่ toxic ต่อสภาพแวดล้อมในการฝังตัวของตัวอ่อนที่โพรงมดลูก
เพราะหากมีการการไหลย้อนกลับของน้ำภายในท่อนำไข่ที่บวมนี้เข้าสู่โพรงมดลูก ทำให้น้ำไปพัดพาตัวอ่อน ยับยั้งตัวอ่อนจากการฝังตัว และอาจมีการหลั่งสารอักเสบบางตัว ทำให้โพรงมดลูกรับการฝังตัวของตัวอ่อนน้อยลง
อีกทั้งพิษของน้ำที่ขังในท่อนำไข่ มีผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ทำให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตไม่ดี
ซึ่งมันมีผลต่อการมีบุตรยากไม่ว่าจะด้วยวิธีธรรมชาติ หรือการทำ ICSI มากถึง 50%
สภาวะของร่างกายที่มีท่อนำไข่อุดตัน หรือ ท่อนำไข่บวมน้ำจึงมีผลเกี่ยวข้องกับการฝังตัว จึงควร
รักษาตรงนี้ให้หายก่อนทำการย้ายตัวอ่อน อาจเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสฝังตัวค่ะ
.
นอกจาก 5 เหตุผลที่กล่าวมาแล้วยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลที่อาจทำให้ตัวอ่อนไม่ฝังตัว เช่น
👉มีโรคประจำตัวที่ยังไม่ได้รับการรักษาซึ่งมีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง มะเร็งปากมดลูก ฮอร์โมนไทรอยด์ (TSH) สูง
👉การดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อน
โดยแม่ที่ใส่ตัวอ่อนนั้นใน 7 วันแรกเป็นช่วงเวลาที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัว แม่ๆควรงดการเคลื่อนไหวเร็ว ไม่ยกของหนัก งดการออกกำลังกาย ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องเสีย และท้องผูก
นอกจากนี้ต้องใช้ยาตามหมอสั่งอย่างเคร่งครัด และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย
👉การสัมผัสกับสารเคมี การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมี เช่น ยารักษาสิว การใช้ยารุนแรงหรือสารเสพติด หรือ อุบัติเหตุที่ไม่สามารถควบคุมได้
.
📍ดังนั้นถึงแม้ว่าคัดโครโมโซมผ่าน ได้ตัวอ่อนเกรด A ไม่ได้หมายความว่าจะติด 100% ถ้าคัดผ่านมีโอกาสติด 70% อีก 30 % ก็เป็นปัจจัยอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ
.
.
การบำรุงล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มโอกาสค่ะ ทั้งการบำรุงเซลล์ไข่และสเปิร์มให้สมบูรณ์เป็นการเพิ่มโอกาสให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพ รักษาโรคต่างๆ ติ่งเนื้อหรือเนื้องอก หรือท่อนำไข่อุดตัน หรือบวมน้ำที่เป็นอุปสรรคก่อนการย้ายตัวอ่อน
#สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการ "เตรียมบำรุงผนังมดลูก" ให้หนาตามเกณฑ์พร้อมก่อนใส่ตัวอ่อน ประกอบกับปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อนก็จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวได้ค่ะ
Comments