แฟล็กซีดมีโอเมก้า 3
ลดความเสี่ยง "ภาวะไข่ไม่ตก"
นักวิจัยจาก Harvard Medical School และ Harvard T.H. Chan School of Public Health ได้ทำการศึกษาและพบว่าการทานอาหารส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ (Diet and Fertility : A review, 2017) โดยหนึ่งในผลการศึกษาพบว่าไขมันดีอย่างโอเมก้า 3 มีประโยชน์ต่อภาวะการเจริญพันธุ์ของผู้หญิง
เราจะทานโอเมก้า 3 ได้จากแหล่งใดบ้าง❓
หากพูดถึงโอเมก้า 3 แน่นอนว่ามีมากในปลาทะเลน้ำลึก ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล
แต่รู้หรือไม่คะว่า #ธัญพืชเมล็ดจิ๋วที่ชื่อว่า #แฟล็กซีด (Flaxseed ) อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 จนถูกขนานนามว่าเป็น "โอเมก้า 3 บนดิน"
ซึ่งการทานจากธัญพืชให้ความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนมากกว่าทานจากปลาที่อาจปนเปื้อนสารเคมี เช่น ปรอท และเหมาะกับผู้ที่ไม่ทานเนื้อสัตว์ก็สามารถได้แหล่งโอเมก้า 3 จากแฟล็กซีด
โดยแฟล็กซีด 100 กรัม ให้โอเมก้า 3,6 ถึง 28.73 กรัม
แฟล็กซีดให้โอเมก้า 3 ชนิด Alpha-Linolenic Acic (ALA) ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ ต้องรับประทานจากอาหารเข้าไปเท่านั้น
มีงานวิจัยชื่อว่า Dietary fat intake and reproductive hormone concentrations and ovulation in regularly menstruating women ตีพิมพ์ในวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition เมื่อปี 2016
ศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูงมีส่วนในการ " #ช่วยลดภาวะไข่ไม่ตก"
#นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการทำให้มดลูกหนาตัวเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วย
นอกจากนี้แฟล็กซีดยังเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชชั้นดี ( Plant-Based Protein) เหมาะกับคนวางแผนตั้งครรภ์ที่ต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอและควรเลือกทานโปรตีนจากพืชมากกว่าโปรตีนจากสัตว์ มีงานวิจัยงานวิจัยจาก Harvad School of Public Health พบว่าผู้หญิงกินโปรตีนจากสัตว์จำนวนถึง 39% จะประสบ
ปัญหาภาวะที่มีบุตรยากมากกว่าผู้หญิงที่กินโปรตีนจากพืช
แฟล็กซีดเหมาะกับผู้ที่มีบุตรยากเพราะไข่ไม่ตกเรื้อรัง (PCOS ) ที่สาเหตุหนึ่งมาจากภาวะดื้ออินซูลิน เนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป Flaxseed มีไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายในน้ำ (Insoluble Fiber) ที่ช่วยทำให้การปล่อยน้ำตาลเข้ากระแสเลือดช้าลง ดีต่อผู้ป่วยเบาหวานอีกด้วย โดยมีงานวิจัยศึกษาไว้ชื่อว่า Effect of flaxseed gum on reduction of blood glucose and cholesterol in type 2 diabetic patients ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of food and Nutrition เมื่อปี 2009
แฟล็กซีดมี "ลิกแนน" สูงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันเซลล์มะเร็ง ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง มีการศึกษาพบว่าแฟล็กซีดมีลิกแนนสูงมากกว่าพืชชนิดอื่นถึง 800 เท่า
มีงานวิจัยเรื่อง Flaxseed and Its Lignan and Oil
Components: Can They Play a Role in Reducing the Risk of and Improving the Treatment of Breast Cancer? ตีพิมพ์ในวารสาร Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism เมื่อปี 2013
ศึกษาพบว่าผู้หญิงที่ทานแฟล็กซีดจะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมลดลง
ทานแฟล็กซีดอย่างไรให้ได้ประโยชน์❓
#การทานแฟล็กซีดควรทานแบบบดให้ละเอียดเพราะถ้าทานไปทั้งเมล็ดร่างกายจะไม่ย่อยและดูดซึมไม่ได้ นอกจากนี้การทานแบบบดยังดีกว่าการทานน้ำมันแฟล็กซีดเพราะจะได้รับลิกแนนสูงกว่า
Comentários