โรคอะไรมีลูกไม่ได้ หลาย ๆ คนคงสงสัยว่าโรคที่ทำให้มีลูกไม่ได้มีอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งจากที่ครูก้อยได้ลองศึกษาหาข้อมูลมา ภาวะโรคที่ทำให้ไม่สามารถมีลูกได้นั้นยังไม่มีนะคะ เพียงแต่มีภาวะทางร่างกายต่าง ๆ ที่ถ้าหากฝ่ายหญิงหรือชาย ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย มีภาวะทางร่างกายเหล่านี้อยู่ ก็จะทำให้เกิดภาวะมีลูกยากได้นั่นเองค่ะ
โรคอะไร มีลูก ไม่ได้ ไขข้อสงสัยทำไมบางคนจึงมีภาวะมีบุตรยาก
จากที่กล่าวไปค่ะว่า ในปัจจุบันนั้นหากจะกล่าวถึงตัวโรคที่มีลักษณะอาการที่ทำให้ผู้ป่วยนั้น ๆ ไม่สามารถมีลูกได้จากตัวโรคเอง ยังไม่มีให้พบค่ะ แต่ถ้าหากจะกล่าวถึงว่า ทำไมบางคนอยากมีลูก ก็มีทันใจและสมหวังได้อย่างรวดเร็ว แต่กับบางคนจะพยายามแค่ไหนก็ไม่มีสักทีนั้น ครูก้อยสามารถตอบได้ทันทีค่ะว่าปัญหาเช่นนี้เกิดจาก "ภาวะมีบุตรยาก"
"ภาวะมีบุตรยาก" คืออะไร มีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง?
หากครูก้อยจะอธิบายให้ตรง ๆ ตัวเลยก็คือ ภาวะนี้คือการที่คู่สามี-ภรรยาไม่สามารถปฏิสนธิหรือมีลูกได้ สาเหตุอาจเกิดจากฝ่ายชาย (ประมาณ 25%) หรือฝ่ายหญิง (40%) หรือเกิดจากทั้งสองฝ่าย (20%) และภาวะการมีบุตรยากนี้ยังรวมไปถึงผู้หญิงที่มีอาการแท้งบุตรตามธรรมชาติ ผู้ชายที่มีภาวะเป็นหมันก็เช่นกัน
ดังนั้นหากต้องการมีบุตรจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง
ภาวะมีบุตรยากมีกี่ชนิด?
สามารถแบ่งภาวะมีบุตรยากได้เป็น 2 ประเภท คือ
ภาวะมีบุตรยาก ชนิดปฐมภูมิ (Primary Infertility)
คือคู่สมคสที่มีบุตรยากโดยยังไม่เคยมีบุตรมาก่อน
ชนิดทุติยภูมิ (Secondary Infertility)
คือคู่สมควรที่เคยมีบุตรมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีก
สาเหตุของฝ่ายชาย การสร้างอสุจิผิดปกติ
สาเหตุของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายสามารถแบ่งออกได้หลายปัจจัยด้วยกันค่ะ เช่น
ลูกอัณฑะฝ่อ
ลูกอัณฑะไม่ลงมาในถุงอัณฑะ
โรคทางระบบต่อมไร้ท่อ
การอุดตันของท่อน้ำเชื้อ
การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
ความพิการแต่กำเนิด
การทำหมัน
ความร้อน ความเครียด หรือปัจจัยอื่น ๆ
การตรวจหาสาเหตุสำหรับฝ่ายชาย
การตรวจหาสาเหตุ สำหรับฝ่ายชาย จะมีการตรวจร่างกายทั่วไป, การตรวจเลือด, การตรวจเชื้ออสุจิเพื่อทราบจำนวนการเคลื่อนไหว และรูปร่างของตัวอสุจิ ลักษณะต่าง ๆ ของอสุจิ,จำนวนของอสุจิ เป็นต้น
สาเหตุของฝ่ายหญิง
สาเหตุของการมีบุตรยากในฝ่ายหญิงก็จะใกล้เคียงกับฝ่ายชายเช่นกันค่ะ เช่น
ความผิดปกติของการเจริญของไข่และการตกไข่
ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง
ความผิดปกติของรังไข่ เช่น ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง
ภาวะรังไข่ล้มเหลวจากการติดเชื้อ รังสี การผ่าตัดหรือ อายุ
โรคทางต่อมไร้ท่ออื่น ๆ
ความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานรวมทั้งท่อนำไข่
ท่อนำไข่อุดตันจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การทำหมัน การผ่าตัด
การตรวจหาสาเหตุสำหรับฝ่ายหญิง
ขณะที่ฝ่ายหญิง จำเป็นต้องตรวจร่างกายทั่วไป, การตรวจเลือด, การตรวจภายใน,การตรวจมะเร็งปากมดลูก และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด จะช่วยบอกความผิดปกติ เช่น เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่ ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เป็นต้นค่ะ
ในกรณีที่มีปัญหามีบุตรยากทั้ง 2 ฝ่าย
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ทั้งนี้จึงควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาสาเหตุของทั้งสองฝ่าย โดยแพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ หากเป็นฝ่ายชายส่วนมากก็จะซักประวัติส่วนตัวและตรวจเชื้ออสุจิ เพราะฉะนั้นจึงควรงดการหลั่งอสุจิประมาณ 2-7 วันก่อนมาพบแพทย์ ส่วนการหาสาเหตุในฝ่ายหญิงก็มักจะซักประวัติส่วนตัวและทำการตรวจภายใน ตรวจระดับฮอร์โมนเพศ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ต่อไปค่ะ
การรักษาอาการเบื้องต้น
การรักษาภาวะมีบุตรยากสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก ๆ ด้วยกันค่ะ คือ
รักษาจากอาการ
สำหรับการรักษาเบื้องต้นของภาวะนี้ จะเน้นการรักษาแบบทั่วไปจากภาวะร่างกายก่อนค่ะ เช่น
รักษาตามสาเหตุ เช่น ถุงน้ำช็อกโกแลต เนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่หรือกดเบียดโพรงมดลูก ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง
ไม่เครียด
รักษาสุขภาพทั่วไป
การรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ก้าวไกลไปมาก และมีวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากมากมาย ขึ้นอยู่กับอายุ ปัญหา สาเหตุของผู้มีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะร่วมกับคนไข้ในการค้นหาวิธีรักษา เช่น การรับประทานยาหรือฉีดกระตุ้นเพื่อให้มีการตกไข่ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF, ICSI) ในบางรายอาจจะต้องมีการผ่าตัด เช่น ซีสต์ เนื้องอก เลาะพังผืด แก้ไขท่อนำไข่ตัน หรือแม้แต่การผ่าตัดแก้หมัน เป็นต้น
อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญของคู่รักทุกคู่ที่อยากจะสร้างครอบครัว คือต้องคอยหมั่นสังเกตตนเองหรือแต่ละฝ่ายอยู่เสมอค่ะ เพราะอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่แสดงออกมานั้นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะมีบุตรยากทั้งสิ้น ดังนั้นไม่ควรละเลยตนเองเด็ดขาดนะคะ เพราะการที่จะมีเจ้าตัวเล็กได้นั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นรากฐานที่แข็งแรงก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อสุขภาพของเจ้าตัวเล็กด้วยนั่นเองค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
Comments