โอกาสสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้ว
มีกี่ % กันนะ? ทำแล้วจะท้องไหมนะ?
คู่สมรสที่มีบุตรยากที่ต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์รักษา เทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้วเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาผู้มีบุตรยากให้มีโอกาสมีลูกได้
โดยเด็กหลอดแก้วหรือ "อิ๊กซี่" (lCSI) นั้นเป็นการปฏิสนธิภายนอก โดยการเก็บไข่จากฝ่ายหญิงและนำอสุจิของฝ่ายชายเจาะเข้ากับเนื้อไข่โดยตรง เมื่อเกิดการปฏิสนธิก็จะเลี้ยงตัวอ่อนในจานเพาะเลี้ยงจนถึงระยะที่เหมาะสม แล้วจึงย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
ซึ่งการทำ ICSI จะเหมาะคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีอายุ 35+ ไข่เริ่มน้อย ด้อยคุณภาพ ฝ่ายชายมีปัญหาสเปิร์มไม่วิ่ง หรือจำนวนตัวสเปิร์มน้อย หรือแม้เป็นหมันหลั่งออกมาไม่มีตัวสเปิร์ม ก็ทำ ICSI ได้ โดยการกรีดลูกอัณฑะแล้วเอาตัวสเปิร์มออกมา
.
👉อัตราประสบความสำเร็จตากการทำ ICSI มีกี่เปอร์เซ็นต์?
โดยทั่วไปอยู่ที่ 30-40% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเซลล์ไข่ จำนวนไข่สุกที่เก็บได้ อัตราปฏิสนธิ และคุณภาพของสเปิร์ม หัวใจสำคัญคือถ้าเราบำรุงล่วงหน้าให้ได้ไข่และสเปิร์มที่มีคุณภาพก่อนไปเข้าสู่กระบวนการ โอกาสสำเร็จก็จะสูงขึ้น
เพราะการทำ ICSI ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มคุณภาพไข่และสเปิร์ม แต่เป็นการใช้เทคโนโลยีในการจับเจาะ การเลี้ยงตัวอ่อน กรณีไข่ไม่ตก ท่อนำไข่ตันพวกนี้ท้องธรรมชาติเองไม่ได้ หรือ สามีไม่หลั่ง เป็นหมัน เชื้อตาย แบบนี้ท้องธรรมชาติไม่ได้ ต้องใช้ ICSI ช่วย
เทคโนโลยีจะช่วยคัดไข่ที่สุกมาผสมกับอสุจิที่คัดหยิบมาแล้วว่าไม่ตายเอามาเจาะให้ แต่คุณภาพของไข่และสเปิร์มต้องมาจากการบำรุง สมดุลฮอร์โมนภายในร่างกายเราที่ต้องสร้างมาก่อนค่ะ ดังนั้นหากบำรุงไปดีก็จะได้ไข่สุก เอาไปปฏิสนธิ ลุ้นได้ตัวอ่อนมากขึ้น ตัวอ่อนเลี้ยงไปถึงบลาสต์ได้
เยอะขึ้น ก็มีโอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นค่ะ
.
👉รู้ไหม? หากมีการคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้าย โอกาสสำเร็จมีสูงขึ้นอีก!
สำหรับแม่ๆ ที่อายุ 35+ สิ่งที่ควรทำก่อนย้ายตัวอ่อนคือ การคัดโครโมโซมตัวอ่อนค่ะ เป็นการคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนนั้น เนื่องจากว่าความผิดปกติทางพันธุกรรมจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการฝังตัวของตัวอ่อนซึ่งอาจทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ลดลงค่ะ
จากข้อมูลทางการแพทย์แม่ที่มีการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากขึ้นจะยิ่งเสี่ยงที่จะมีตัวอ่อนผิดปกติในลักษณะการกลายพันธุ์ของโครโมโซมสูงทำให้โอกาสการตั้งครรภ์ต่ำ หรือ บางรายพบปัญหาการแท้งซ้ำซากซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนเองค่ะ
ดังนั้นการคัดโครโมโซมตัวอ่อนจึงเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ เพราะตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติจะมีโอกาสฝังตัวที่มดลูกได้อย่างสมบูรณ์ เพิ่มโอกาสท้องมากขึ้น และลดความเสี่ยงโรคทางพันธุกรรมค่ะ
การคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายจึงเป็นการเพิ่มโอกาสสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วได้สูงถึง 75%
.
👉อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าจะคัดโครโมโซมได้ทุกเคสนะ กาคัดโครโมโซมแม่ต้องมีข้อบ่งชี้ดังนี้ค่ะ
(1) สตรีที่มีอายุมาก ( อายุกว่า 35 ปี )
(2) สตรีที่มีประวัติการแท้งบุตรหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
(3) สตรีที่เคยมีประวัติแท้งบุตรที่โครโมโมโซมผิดปกติ
(3) คู่แต่งงานที่เคยทำเด็กหลอดแก้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป
กลุ่มมารดาที่มีความเสี่ยงข้างต้นควรตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน รวมถึงกลุ่มผู้ที่มีโรคพันธุกรรมในครอบครัวที่อาจถ่ายทอดโรคดังกล่าวไปยังรุ่นลูก เป็นการลดความเสี่ยงให้กับครอบครัวที่จะมีบุตรเกิดมาพร้อมกับโรคทางพันธุกรรม
.
.
อย่างไรก็ตามถึงแม้คัดโครโมโซมแล้วก็มีโอกาสสำเร็จประมาณ 75% อีก 25% อยู่ที่ความสมบูรณ์พร้อมของผนังมดลูก และการดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อนด้วยค่ะ ดังนั้นถ้าได้ตัวอ่อนคัดโครโมโซมผ่านแล้วก็ต้องมาเตรียมผนังมดลูกต่อให้ หนา ใส สวย อุ่น ตามเกณฑ์ ทำครบสูตรแบบนี้โอกาสมีเบบี๋สูงลิ่วค่า
Commentaires