top of page
ค้นหา

ใส่ตัวอ่อนทีไรก็ไม่ติด อาจเป็นเพราะแม่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง



มีแม่ๆ หลายเคสมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือ SLE ต้องเจอกับปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัว ย้ายตัวอ่อนหลายครั้งแต่ไม่ติด แม่ๆ หลายรายมีภาวะนี้แต่ไม่มีอาการ แต่เจอปัญหาย้ายตัวอ่อนไม่ติด สามารถเจาะเลือดเพื่อเช็คค่า ANA เพื่อรู้ความเสี่ยงจากปัจจัยนี้ได้


วันนี้เรามาทำความรู้จักค่า ANA กันค่ะ



การตรวจ Antinuclear antibody (ANA) เป็นการตรวจพื้นฐานที่ช่วยประเมินโรคแพ้ภูมิตัวเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ทั้งร่างกาย และเป็นหนึ่งในการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค Systemic lupus erythematosus (SLE) ซึ่ง SLE เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคพุ่มพวง ถือเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองโรคหนึ่งที่มีปัญหากับการตั้งครรภ์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย แทนที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา กลับทำลายเซลส์ของตัวเอง จนเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหาร กระดูกและข้อ ไต หัวใจ ปอด ระบบโลหิต และระบบประสาท เป็นต้น


จากงานวิจัยเรื่อง Investigation of the impact of antinuclear antibody on the outcome of in vitro fertilization/intracytoplasmic sperm injection treatment ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Obstetrics and Gynocology เมื่อปี 2015 ศึกษาถึงผลกระทบของหญิงที่มีค่า ANA สูงต่อผลสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว พบว่า...


ค่า ANA พบในหญิงกลุ่มที่มีประวัติมีบุตรยาก เมื่อตรวจเลือดพบค่า ANA สูง


โดยค่า ANA ที่สูงขึ้นส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ที่ลดลง และมีอัตราการแท้งในระยะเริ่มต้นสูงหลังจากมีการย้ายตัวอ่อน


.


มีภาวะ SLE ตั้งครรภ์ได้ไหม?


ผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์ได้เหมือนคนปกติ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาก่อนการตั้งครรภ์เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์



การอนุญาตให้ตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณาผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป ขึ้นกับอาการความรุนแรงของโรค และระยะเวลาที่โรคสงบ เนื่องจากความผิดปกติของอวัยวะในมารดา บางระบบจะส่งให้เกิดการกำเริบของโรคในขณะตั้งครรภ์ได้ และยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษา อาจส่งผลให้เกิดความพิการในทารกได้ค่ะ


.


.


สาเหตุการใส่ตัวอ่อนไม่ติดยังมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย อาจเป็นปัญหาจากความผิดปกติทางโครโมโซมของตัวอ่อนเอง ความสมบูรณ์ของผนังมดลูก การไหลเวียนของเลือดและการดูแลหลังใส่ตัวอ่อน หากใส่ตัวอ่อนไม่ติดหลายครั้งแพทย์จะพิจารณาตรวจอย่างละเอียด เพื่อทำการรักษาต่อไปค่ะ

ดู 52 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page