top of page

ตอบคำถามคาใจแม่

ประจำเดือนแบบไหน เสี่ยงโรค ?

6 สัญญาณ ผิดปกติ
ประจำเดือนแบบไหน เสี่ยงโรค

#ประจำเดือนเป็นเรื่องที่อยู่คู่กับผู้หญิง
ยิ่งแม่ๆ ที่วางแผนตั้งครรภ์ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับประจำเดือนเป็นพิเศษ เพราะประจำเดือนสามารถบอกถึงความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกายของเรา ความปกติของวงจรการตกไข่ การทำงานของรังไข่หรือของมดลูกได้

ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นสังเกตประจำเดือนว่ามาปกติหรือไม่ สีเป็นอย่างไร มามากหรือมาน้อย เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถบอกถึงสาหตุของโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงได้ค่ะ

ลักษณะประจำเดือนแบบไหนที่บ่งบอกสัญญาณอาการเสี่ยงของการเป็นโรคใดบ้าง เราไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ

1. #ประจำเดือนมีสีผิดปกติ

ปกติแล้วประจำเดือนของเรานั้นควรมีสีแดงสด แต่หากบางคนที่ประจำเดือนมีสีผิดเพี้ยนไป เช่น สีน้ำตาลเข้มคล้ายช็อคโกแลตหรือสีแดงจาง รวมถึงยังมีปริมาณน้อย และอาจมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียมากกว่าปกติตอนมีประจำเดือนร่วมด้วย อาจเป็นไปได้ว่านี่คือสัญาณของโรคโลหิตจางค่ะ

2. #ประจำเดือนมีกลิ่นผิดปกติ

หากประจำเดือนมีกลิ่นเหม็นผิดปกติและมาพร้อมอาการคัน หรือเจ็บแสบในช่องคลอด และมีตกขาวด้วย คุณอาจกำลังเสี่ยงติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ช่องคลอด หรือมดลูก มีพยาธิในช่องคลอด หรืออุ้งเชิงกรานอักเสบค่ะ

3. #ประจำเดือนเป็นลิ่มเลือด

ประจำเดือนออกมาเป็นลิ่มเลือดคล้ายเลือดหมู มีเลือดออกภายในค่อนข้างมาก อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังอุ้งเชิงกรานอักเสบ

4. #ประจำเดือนมามาก

ประจำเดือนมามากจนมีอาการซีด ควรไปพบแพทย์ ไม่ควรนิ่งนอนใจ ถ้าเลือดที่ออกมามีกลิ่นเหม็น และมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้วย ต้องระวังเรื่องปีกมดลูกอักเสบค่ะ

ประจำเดือนมามากร่วมกับมีอาการปวดประจำเดือน หรือรู้สึกเจ็บเวลาร่วมเพศ และคลำพบก้อนที่ท้องน้อยอันนี้ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะอาจจะเป็นเนื้องอกในมดลูกได้

5. #ประจำเดือนมาน้อย

ประจำเดือนมาน้อยและมีอาการอ่อนเพลีย เฉื่อยเนือย เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนที่อวัยวะเพศร่วง อาจจะเคยตกเลือดอย่างรุนแรง หรือเป็นลมขณะคลอดบุตร ควรพบแพทย์ เพื่อตรวจหาโรคซีแฮน หรือโรคที่ต่อมใต้สมองขาดเลือด ทำให้ทำงานน้อยลงและทำให้รังไข่ทำงานน้อยลงด้วย

6. #ประจำเดือนมานาน

ประจำเดือนมานานผิดปกติเกินกว่า 7 วัน อาจเป็นตอนหลังคลอดใหม่ ๆ หรือหลังใส่ห่วงคุมกำเนิดก็ถือเป็นเรื่องปกติ ทำนองเดียวกับประจำเดือนที่ขาด ๆ หาย ๆ แล้วพอมาก็มามาก แต่ก็ไม่มีผิดปกติอื่น ๆ และไม่ได้ตั้งครรภ์ มักจะเป็นในช่วงที่อ้วนเกินไป เครียด ออกกำลังกายมากเกินไป

ผู้หญิงทุกคนจึงควรสังเกตประจำเดือนของเราให้ดี หากพบความผิดปกติก็อย่านิ่งนอนใจนะคะ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไปค่ะ ยิ่งผู้หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ความผิดปกติของประจำเดือนส่อให้เห็นถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมนและความผิดปกติของการทำงานของระบบสืบพันธุ์ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากค่ะ

ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page