ตอบคำถามคาใจแม่
Coenzyme Q10 ตัวช่วยผู้หญิงอายุมาก ไข่แก่... ให้มีโอกาสเป็นแม่ ได้อย่างไร ?
แม่ๆรู้ไหม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คู่ของเรามีบุตรยาก คือ "อายุของฝ่ายหญิง" ค่ะ อายุที่มากขึ้นส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่ พลังงานในการแบ่งเซลล์ของเซลล์ไข่ลดลง อัตราความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่สูงขึ้น โดยในทางการแพทย์ช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไปเป็นช่วงขาลงของวัยเจริญพันธุ์
เซลล์ร่างกายประกอบด้วยโครโมโซมทั้งหมด 46 ชิ้นหรือ 23 คู่ การที่ทารกจะลืมตาดูโลกนั้นมีจุดเริ่มต้นจากเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิงและใายชาย
ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์นี้ก็จะนำเอาสารพันธุกรรมของพ่อและแม่ไปรวมกันเกิดขึ้นเป็นชีวิตใหม่ขึ้นมา ดังนั้นการที่แต่ละฝ่ายต้องส่งเซลล์สืบพันธุ์ไปปฏิสนธิกันให้เป็นชีวิตใหม่จะต้องส่งไปเพียง 23 ชิ้นเพื่อให้รวมกันเป็น 46 ชิ้น ซึ่งเป็นจำนวนปกติของเซลล์มนุษย์
อย่างไรก็ตามกลไกการแบ่งโครโมโซมจาก 46 ชิ้นในเซลล์ร่างกายปกติไปเป็น 23 ชิ้นในไข่นั้น ไม่ได้สมบูรณ์แบบทุกครั้งไข่บางใบอาจแบ่งโครโมโซมได้ 23 ชิ้น หรืออาจมากไปเป็น 24 ชิ้น หรืออาจขาดไปเหลือแค่ 22 ชิ้น
ดังนั้น เมื่อไข่ใบที่มีจำนวน "โครโมโซมไม่ปกติ" แม้ไปผสมกับอสุจิที่มีจำนวนโครโมโซมปกติ ตัวอ่อนที่เกิดมาจะมีจำนวนโครโมโซมไม่ปกติ คือ อาจมีโครโมโซมมากกว่าหรือน้อยกว่า 46 ชิ้น ทำให้ตัวอ่อนแสดงความผิดปกติในหลายรูปแบบ ได้แก่
ตัวอ่อนหยุดการแบ่งเซลล์ตั้งแต่ยังไม่ฝังตัว
ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้
ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่ไม่สามารถสร้างอวัยวะและเนื้อเยื่อได้ตามปกติหรือท้องลม
ตัวอ่อนฝังตัวได้แต่แท้งในระยะต่อมา
หรือตัวอ่อนเติบโตจนคลอดออกมา แต่มีความผิดปกติทางร่างกายหรือสติปัญญา
ซึ่งอัตราความคลาดเคลื่อนของโครโมโซมในไข่จะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อ "ผู้หญิงอายุมากขึ้น" ในแต่ละปี จึงทำให้ผู้หญิงที่มีอายุมากตั้งครรภ์ยากและมีโอกาสแท้งบุตรสูงขึ้น
.
อัตราความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์ไข่สัมพันธุ์กับอายุที่เพิ่มขึ้นดังนี้
โดยสถิติความผิดปกติของโครโซมของเซลล์ไข่ในแต่ละช่วงอายุปรากฏตามข้อมูล ดังนี้
อายุ 25 โครโมโซมผิดปกติ 25%
อายุ 35 โครโมโซมผิดปกติ 50%
อายุ 40 โครโมโซมผิดปกติ 85-90%
.
#อายุมากขึ้นพลังงานในเซลล์ไข่ลดลง
เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น "พลังงานในเซลล์ไข่" จะด้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้การแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนมีประสิทธิภาพด้อยลง "แบ่งเซลล์ได้ช้า" "ไม่สามารถเจริญเติบโตไปเป็นบลาสโตซิสต์" หรือบางครั้ง "หยุดโตกลางทาง" หรือไปหยุดการเจริญเติบโตหลังจากใส่เข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง ทำให้ไม่เกิดการฝังตัวอ่อน จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์
.
ในเซลล์ไข่นั้นจะมี "ไมโตคอนเรีย"
(Mitochondria) ซึ่งไมโตคอนเดรียนี้ทำหน้าที่ในการ "ผลิตพลังงานให้กับเซลล์ไข่" โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์
ซึ่งเปรียบเสมือน "โรงงานไฟฟ้า" ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น และทำให้เซลล์ไข่มีพลังในการแบ่งตัวได้อย่างเป็นปกตินั่นเอง
.
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology amd Endocrinology เมื่อปี 2018
ศึกษาพบว่า...เมื่อผู้หญิงอายุเพิ่มมากขึ้นประสิทธิภาพในการทำงานของ Mitocondria ลดลง ทำให้เซลล์ไข่ไร้พลัง เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงอายุมากมีบุตรยาก
#เราจะเพิ่มพลังงานในเซลล์ไข่ได้อย่างไร
มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2009
ศึกษาพบว่า... Co-enzyme Q10 ช่วยเพิ่ม "ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่" ทำให้ "ไข่มีคุณภาพมากขึ้น" โดยได้ทำการทดลองในหนูทดลองที่มีอายุมาก และสรุปผลว่า การทาน Co-enzyme Q10 อาจช่วยเพิ่มคุณภาพของเซลล์ไข่ของผู้หญิงที่มีอายุมาก
อีกงานวิจัยหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Biology and Endocrinology เมื่อปี 2018 ทำการทดลองให้ผู้หญิงที่รังไข่เสื่อมได้รับ Coenzyme Q10 เป็นเวลา 60 วัน ก่อนเข้ากระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว ( IVF, ICSI)
ศึกษาพบว่า...ผู้หญิงที่ได้รับ Q10
รังไข่ตอบสนองดีขึ้น
เก็บไข่ได้มากขึ้น
อัตราปฏิสนธิสูงขึ้น
ตัวอ่อนมีคุณภาพมากกว่า
โดยกลุ่มที่ไม่ได้รับ Q10 มีอัตราการย้ายตัวอ่อนไม่ได้เพราะตัวอ่อนไม่มีคุณภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับ Q10
และเมื่อย้ายตัวอ่อนแล้ว กลุ่มที่ได้รับ Q10 มีอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงกว่า
.
อีกงานวิจัยอีกหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Fertility and Sterility เมื่อปี 2020 ได้ทำการทดลองให้ผู้หญิงอายุมาก (อายุ 38-46 ปี)
ศึกษาพบว่า...การรับประทาน Q10 ช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่รวมถึง ลดอัตราการแบ่งเซลล์และโครโมโซมผิดปกติของเซลล์ไข่อีกด้วย
.
Coenzyme Q10 คืออะไร
CoQ10 คือสารที่มีคุณสมบัติคล้ายวิตามินซึ่งร่างกายสามารถผลิตเองได้ในปริมาณหนึ่ง พบในทุกเซลล์ของร่างกาย โดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย
Co-enzyme Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง และพบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึง "เซลล์ไข่ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์"
ไมโตคอนเดรียมีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างพลังงาน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย มีคุณสมบัติ "ช่วยเพิ่มพลังงาน" ซึ่ง Co-enzyme Q10 ทำงานโดยช่วยเพิ่มพลังให้กับ Mitocondria ของเซล์ไข่นั่นเองค่ะ
.
จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Free radical Biology and Medicine เมื่อปี 2019
ศึกษาพบว่า...ระดับ Q10ในร่างกายจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผู้ญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์หรือเตรียมตัวเข้าสู่กระบวนการทำเด็กหลอดแก้วควรได้รับ Q10 ในปริมาณที่เพียงพอเพื่อทำให้ไมโตคอนเดรียทำงานได้ดียิ่งขึ้นซึ่งปัจจุบันสามารถหาทานได้จากวิตามินเสริม
.
ดังนั้นแม่ๆที่มีอายุมาก โดยเฉพาะวัย 35+
ต้องเพิ่มพลังงงานให้กับเซลล์ไข่ได้แบ่งตัวอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจากงานวิจัยการได้รับ Q10 เสริมให้เพียงพอ ส่งผลต่อคุณภาพของเซลล์ไข่
Q10 ช่วยเพิ่มพลังงานให้เซลล์ไข่แบ่งตัวได้อย่างสมบูรณ์ เป็นการเพิ่มโอกาสได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพและส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นค่ะ