top of page

ตอบคำถามคาใจแม่

เป็นโรคอะไรบ้าง ที่ทำให้ท้องยาก ?

งานวิจัยเผย! เช็คให้ดี เป็น 4 โรคนี้
ท้องยาก!

แม่ๆที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ต้องตรวจสุขภาพเพื่อให้ทราบว่าเรามีโรคต่างๆ ที่ขัดขวาง หรือ เป็นอุปสรรคต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ หากมีโรคประจำตัวเหล่านี้อาจส่งผลให้ "ท้องยาก" ขึ้นและอาจเป็น "อันตรายต่อทารกในครรภ์"

ดังนั้นแม่ๆ ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาก่อนตั้งครรภ์ หรือถ้าตั้งครรภ์แล้วก็จะได้อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดค่ะ

วันนี้ครูก้อยสืบค้นความรู้เกี่ยวกับ 4 โรคที่ส่งผลต่อการ "มีลูกยาก" มาฝาก มีโรคอะไรบ้าง ไปศึกษาพร้อมกันเลยค่ะ
.
.

1. #โรคอ้วน

"อ้วน" จัดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินและจัดอยู่ใน "ภาวะอ้วน" ต้องวัดจากค่าดัชนีมวลกาย

โดยข้อมูลทางการแพทย์เปิดเผยว่าคนอ้วนจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่และการมีประจำเดือน #ทำให้ท้องยากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ ถึง 2 เท่า ความอ้วนสามารถวัดได้ตามหลักของการวัดค่าดรรชนีมวลกายดังนี้ค่ะ

.
.

วิธีการหาค่าดัชนีความหนาของร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า "ดัชนีมวลกาย" หรือ "บีเอ็มไอ" (BMI - Body Mass Index) มีสูตรคือ

"BMI = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม / ส่วนสูงเป็นเมตร x ส่วนสูงเป็นเมตร"

.

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 58 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 169 เซนติเมตร ต้องนำส่วนสูงมาคิดเป็นเมตรก่อน คือ 169 เซนติเมตร จะเท่ากับ 1.69 เมตร แล้วนำมาคูณด้วยส่วนสูงที่คิดเป็นเมตรอีกครั้ง คือ 1.69 x 1.69 = 2.856 จากนั้นให้เอาน้ำหนักคือ 58 กิโลกรัม เป็นตัวตั้ง แล้วจึงหารด้วยค่าส่วนสูงที่คำนวณได้คือ 2.856 ก็จะได้ค่า BMI เท่ากับ 20.308

ซึ่งผู้ที่มีค่า BMI อยู่ในระหว่าง 18.5-24.9 (มาตรฐานสากล) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ถ้าน้อยกว่า 18.5 ก็ถือว่าผอมไป
ถ้ามากกว่า 24.9 คือมีค่า 25.0 ขึ้นไปก็จะถือว่าอ้วน
แต่สำหรับมาตรฐานคนเอเชียแล้วเกณฑ์ปกติจะอยู่ที่ 18.5-22.9

.

ความอ้วนทำให้ท้องยากได้อย่างไร

ความอ้วนมีส่วนทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนผิดปกติ โดยเฉพาะการอ้วนลงพุง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนผลิตจากไขมัน เมื่อไขมันมากเกินไป การสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ควบคุมการตกไข่ในเพศหญิงอาจเกิดความผิดปกติ

ส่งผลให้ไม่มีการตกไข่

ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริดกะปรอย

ประจำเดือนขาดหายไป
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากค่ะ

.
.
ดังนั้นแม่ๆ วางแผนท้องต้องหันมาดูแลควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ผอม หรือ อ้วนเกินไป ด้วยการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และทานอาหารที่มีโภชนาการสูง "เน้นโปรตีน" เพราะโปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระตุ้นการเผาผลาญ และช่วยให้ลดความอยากอาหารลงได้ เน้นทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน งดของมันของทอด ไขมันทรานส์ค่ะ ดูแลตัวเองให้ดี เบบี๋ก็จะมาในเร็ววันค่า

.
.

2. #โรคเบาหวาน

โรคเบหวานส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย สำหรับเพศชายที่เป็นโรคเบหวานจะส่งผลต่อ "คุณภาพของสเปิร์ม"

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร London Journal of Primary Care เมื่อปี 2015 ศึกษาเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากในผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานพบว่า...โรคเบาหวานจะเกี่ยวพันกับ "ภาวะ PCOS" ซึ่งมีสาเหตุหนึ่งมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือ "ภาวะดื้ออินซูลิน" ส่งผลให้ฮอร์โมนเพศหญิงไม่สมดุล มีฮอร์โมนเพศชายสูง ส่งผลให้ "ประจำเดือนขาดหาย" และ "ไข่ไม่ตกเรื้อรัง"

นอกจากนี้หากแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวานจะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้มาก ซึ่งอาจมีความอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตทั้งตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว โดยมีผลกระทบดังนี้

เสี่ยงต่อการแท้งบุตร และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะสูง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้

ทำให้ทารกที่คลอดออกมามีความพิการ และอาจมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ

ทารกอาจเสียชีวิตทันทีหลังคลอดได้ไม่นาน แม้จะคลอดตามกำหนดก็ตาม
.
.
ดังนั้นหากแม่ๆเป็นเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อนตั้งครรภ์นะคะ เพื่อติดตามอาการและรักษาให้อยู่ในจุดที่ปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ที่สุดค่ะ
.
.

3. #ไขมันในเลือดสูง

แม่ๆที่มีไขมันในเลือด หรือ "คอเลสเตอรอลสูง" เสี่ยงท้องยากคะ มีงานวิจัยศึกษาพบว่าการมีระดับคอเลสเตอรอลสูงส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ค่ะ

จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในThe Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism เมื่อปี 2014

นักวิจัยจาก National Institues of Health, the University at Buffalo (New York) และ Emory University in Atlanta, USA เปิดเผยว่า คู่สามีภรรยาที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูงจะใช้เวลานานกว่าในการที่จะตั้งครรภ์

และถึงแม้ฝ่ายหญิงมีคอเลสเตอรอลสูงฝ่ายเดียว โดยฝ่ายชายมีระดับคอเลสเตอรอลปกติก็ยังส่งผลต่อการตั้งครรภ์ที่ยากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคู่สมรสที่ทั้งคู่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ

ผลการศึกษาพบว่า...คู่สมรสที่ตั้งครรภ์ช้า หรือ ใช้เวลานานกว่าที่จะตั้งครรภ์ได้นั้นเป็นคู่สมรสที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการมีบุตรยากแล้วยังส่งผลต่อความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

.
.

ดังนั้นหากวางแผนจะมีเบบี๋ต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการรับประทานอาหารที่เน้นโปรตีน คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน และอาหารที่ให้กรดไขมันดี เช่น งาดำ เมล็ดฟักทอง ปลาแซลม่อน เป็นต้น

นอกจากนี้การดื่มน้ำมะกรูด ชาดอกคำฝอย และน้ำขิงดำสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือดได้ค่ะ และอย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ

.
.

4. #ไทรอยด์เป็นพิษ

หรือ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรือ ภูมิคุ้มกันบกพร่องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นหากมีการตรวจฮอร์โมนไทรอยด์แล้วพบค่าผิดปกติ อาจเป็นสาหตุหนึ่งของการมีบุตรยากได้ค่ะ

ผู้หญิงบางคนอาจจะไม่รู้ว่า "ฮอร์โมนไทรอยด์" เป็นฮอร์โมนสำคัญที่สุด ที่จะทำให้คุณตั้งท้องได้เพราะ ต่อม Thyroid อวัยวะสืบพันธ์ของเพศหญิง และ ต่อม Adrenal นั้นเชื่อมต่อกันอยู่ ถ้ามีสิ่งผิดปกติไม่ว่าจะกับส่วนไหนก็ตาม การตั้งครรภ์อาจจะยากมาก

การตรวจระดับของฮอร์โทนไทรอยด์ แพทย์จะใช้ค่านี้เพื่อคัดกรองการมีบุตรยากเบื้องต้นเพราะถ้ามีค่าสูงผิดปกติจะ "มีผลต่อการตกไข่" ค่ะ

ฮอร์โมนนี้สารมารถตรวจในช่วงไหนของรอบเดือนก็ได้ โดยค่าฮอร์โมนไทรอยด์ควรอยู่ที่ 0.4-4.0 ถ้าพบค่าต่ำหรือสูงผิดปกติหมออาจจะพิจารณาให้ตรวจเพิ่มเติมค่ะ

นอกจากนี้ "ไทรอยด์เป็นพิษ" อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการตั้งครรภ์ มีดังนี้

เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด และอาจแท้งได้

อาจเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ

อาจทำให้ทารกในครรภ์ มีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
.
.
โรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ในขณะตั้งครรภ์ เพราะต้องใช้วิธีการกลืนแร่รังสีและการผ่าตัดในการรักษา ดังนั้นหากต้องการมีลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษให้อยู่ในระยะที่สงบก่อนค่ะ

ครูก้อย.jpg

คุยกับครูก้อย/ทีมงาน

ครูก้อยเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นเจ้าของเพจ BabyAndMom.co.th (เพจให้ความรู้สำหรับผู้มีบุตรยาก) ครูก้อยยินดีอย่างยิ่งที่จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ตรงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ท่านใดที่ต้องการคุยกัน สามารถทัก LINE@ เข้ามาได้เลยนะคะ โดยจะมีครูก้อยและทีมงานคอยให้การต้อนรับค่ะ

bottom of page