ตอบคำถามคาใจแม่
อยากรู้คุณภาพรังไข่... เช็คจากอะไร ?
รังไข่เสื่อม
อยากรู้คุณภาพรังไข่...เช็คจากฮอร์โมน FSH
#ภาวะรังไข่เสื่อม คือ ภาวะที่รังไข่ทำงานลดน้อยลงหรือเหลือปริมาณไข่ในรังไข่น้อย จึงทำให้คุณผู้หญิงเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก
ผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย รังไข่จะไม่ตอบสนองต่อการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่เป็นฮอร์โมนควบคุมให้รังไข่ทำงาน ผู้หญิงเหล่านี้จะมีอาการต่างๆเหมือนสตรีในวัยหมดประจำเดือน
อาการที่พบบ่อยของรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ได้แก่
ประจำเดือนมาผิดปกติเป็นสิ่งบอกเหตุแรกๆ คือ ประจำเดือนที่เคยมาปกติจะเริ่มห่างออกเรื่อยๆ ปริมาณประจำเดือนจะลดลงจนในที่สุดจะไม่มีประจำเดือนมาอีก
มีอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนเช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว นอนไม่หลับ หงุดหงิด โมโหง่าย ช่องคลอดแห้ง เจ็บแสบช่องคลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์
สาเหตุของวัยทองก่อนวัย รังไข่เสื่อม
พฤติกรรมทำลายสมดุลฮอร์โมน
ทานอาหารไร้ประโยชน์ ไขมันสูง ติดหวาน เน้นแป้ง ไม่กินผัก โปรตีนไม่เพียงพอ
ความเครียด พักผ่อนไม่พอ กระตุ้นการอักเสบในร่างกาย ฮอร์โมนผิดเพี้ยน
ไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักมากหรือน้อยเกินไป ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่สมดุล
น้ำมะกรูดให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน กระตุ้นการไหลเวียนไปเลี้ยงรังไข่และมดลูกได้อย่างเพียงพอ
อาจเกิดในสตรีที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกซึ่งอาจมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงรังไข่ไม่ดีพอจึงทำให้รังไข่เสียการทำงาน เช่น ผู้ป่วยโรคเนื้องอกมดลูก
สตรีที่ได้รับยาเคมีบำบัดเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
สตรีที่ได้รับการฉายแสง/รังสีรักษาจากที่เป็นโรคมะเร็งของอวัยวะที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เช่น มะเร็งปากมดลูก
รังไข่เสื่อมหรือไม่เช็คได้จากฮอร์โมน FSH
FSH: Follicle Stimulating Hormone
FSH เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมากระตุ้นการทำงานของรังไข่ จะหลั่งมาเพื่อให้ไข่โตสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้น ฮอร์โมน LH (ฮอร์โมนไข่ตก) ก็จะถูกหลั่งออกมาเพื่อให้ไข่ตก ซึ่งฮอร์โมนสองตัวนี้ต้องตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน
ระดับของ FSH ในร่างกายจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรังไข่สำรองที่มีอยู่ (ovarial reserve รวมถึงคุณภาพและจำนวนของไข่ที่เหลืออยู่)
ซึ่งทำให้การตรวจวัดระดับ FSH สามารถนำมาใช้ทำนายได้ว่าแม่ๆ มีภาวะเจริญพันธุ์อยู่ในระดับใด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือฮอร์โมน FSH เป็นฮอร์โมนที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของรังไข่
เมื่อมีจำนวนไข่ลดน้อยลง และคุณภาพของไข่เสื่อมลง ร่างกายจะพยายามผลิต FSH ออกมามากขึ้นเพื่อเป็นชดเชยและจะได้กระตุ้นให้ Follicle หรือฟองไข่ มีการเจริญเติบโตมากขึ้น
การตรวจฮอร์โมน FSH จะเจาะเลือดตอนช่วงมีประจำเดือน 1-3 วันแรก โดยค่า FSH ปกติ ไม่ควรต่ำกว่า 3 และไม่ควรเกิน 10 ถ้าสูงเกินไปแสดงว่ารังไข่เริ่มเสื่อม ถ้า FSH สูงกว่า 40 และ Estradiol ต่ำกว่า 5 แสดงว่ารังไข่เสื่อมแล้วค่ะ
ด้วยเหตุนี้เอง หากพบว่ามีระดับ FSH สูงอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้ว หรือ ถ้าเกิดขึ้นในวัยที่ยังอยู่ในภาวะเจริญพันธุ์อาจหมายความว่าแม่ๆ อาจเข้าสู่วัยทองก่อนวัย
หากมีระดับ FSH ต่ำเกินไป อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ทำให้วงจรรอบเดือนหยุดชะงักไปได้
(มักจะพบในผู้หญิงที่มีอาการของภาวะ Polycystic Ovarian Syndrome หรือ PCOS)
FSH เป็นอีกหนึ่งปัจจัยมีผลต่อโอกาสตั้งครรภ์หลังการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งจะมีการตรวจ Basal FSH day 3 เป็นการตรวจฮอร์โมน FSH ในวันที่สามของรอบเดือน
ไข่ที่คุณภาพดีจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและอินฮีบินบีสูง ผลคือ ค่า FSH จะต่ำลง
หากไข่คุณภาพไม่ดีฮอร์โมนที่สร้างได้จากไข่จะมีระดับต่ำ ส่งผลให้ค่า FSH สูงขึ้น
มีรายงานว่าค่า FSH ที่มากกว่า 18 จะมีโอกาสการตั้งครรภ์น้อยมาก
อย่างไรก็ตามค่า FSH ในแต่ละเดือนไม่คงที่หากผู้ป่วยได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ โปรเจสเตอโรน เช่น ยาคุมกำเนิด อาจได้ค่าที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น ต้องระมัดระวังในการแปลผลด้วย
สรุปง่ายๆ การตรวจ FSH คือการ เช็คฮอร์โมนการทำงานของรังไข่ ซึ่งหากตัวเลขยิ่งสูงแปลว่าการทำงานของรังไข่ยิ่งเสื่อมสภาพ สามารถตรวจสอบโดยการเจาะเลือดตอนช่วงมีประจำเดือน 1-3 วันแรกค่ะ ดังนั้นแม่ๆที่เริ่มมีอาการข้างต้น ควรไปปรึกษาแพทย์หากต้องการมีบุตรควรจะตรวจเช็คฮอร์โมน เพื่อจะได้วางแผนรักษาต่อไปค่ะ