ตอบคำถามคาใจแม่
แท้งแล้ว... ไม่ท้อ ไปต่ออย่างไร ?
แม่ๆหลายคนอาจตัองเจอกับฝันร้ายที่สุดของคนเป็นแม่...คือ การแท้ง วันนี้เรามาทำความเข้าใจสาเหตุของการแท้งกันค่ะ การแท้งมันเป็นภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน
ครูก้อยอยากให้แม่ๆ อย่าจมกับความเสียใจ หรือ คิดโทษตัวเอง...แต่ให้มองในแง่ที่ว่า เราแท้งได้ แสดงว่าเราท้องได้ ดังนั้นมาเริ่มกันใหม่ได้ค่ะ
การแท้งถือเป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยการแท้งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์
สัญญาณการแท้งมีอาการอย่างไร
สัญญาณของการแท้งบุตรที่พบได้บ่อย คือ
มีเลือดออกทางช่องคลอด โดยอาจไหลออกมาเพียงเล็กน้อยเป็นหยด ๆ สีน้ำตาลหรือสีแดงสด ซึ่งอาการเลือดออกนี้อาจเป็น ๆ หาย ๆ อยู่หลายวัน
อย่างไรก็ตาม การมีเลือดไหลทางช่องคลอดยังเป็นอาการที่พบได้ทั่วไประหว่างการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก หลายคนอาจเรียกว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” ซึ่งเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนส่งผลให้เลือดที่เคยคั่งค้างอยู่ที่เยื่อบุโพรงงมดลูกหลุดลอกออกมาได้
การมีเลือดออกจึงไม่ได้หมายความว่ามีการแท้งเกิดขึ้นเสมอไป
ทั้งนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการที่อาจแสดงถึงการแท้งต่อไปนี้เกิดขึ้น
• มีเลือดออกจากช่องคลอด โดยจากที่ออกแต่น้อยจะค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้น
• มีเนื้อเยื่อถูกขับออกมาทางช่องคลอด
• มีเมือกขาวอมชมพูออกจากช่องคลอด
• เกิดตะคริวอย่างรุนแรง
• ปวดเกร็งช่องท้องส่วนล่าง ปวดหลัง
• อ่อนล้า ไม่มีแรง มีไข้
• ไม่มีอาการแพ้ท้อง หรืออาการเคยเป็นเริ่มหายไปเช่น คลื่นไส้ อาเจียน หรือคัดตึงเต้านมอีกต่อไป
การแท้งเกิดจากสาเหตุใด
1. การแท้งบุตรที่เกิดจากทารก กว่า 60% ของการแท้งทั้งหมด มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางด้านโครโมโซมของทารกในครรภ์ โดยอาจจะมีลักษณะที่ไม่พบตัวอ่อนในถุงการตั้งครรภ์เลย เรียกว่า “ภาวะไข่ฝ่อ”
(blighted ovum) หรือท้องลม หรือบางเคสอาจเห็นตัวอ่อนในถุงการตั้งครรภ์แล้ว แต่ไม่มีการทำงานของหัวใจ
2. การแท้งที่มีสาเหตุจากมารดา
•การติดเชื้อต่างๆไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เป็นการติดเชื้อทั่วร่างกาย หรือเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่
• โรคประจำตัวของมารดา เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ SLE เป็นต้น
• การรักษาโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะด้วยการฉายแสง หรือยาเคมีบำบัด ก็เพิ่มโอกาสการแท้งบุตรได้
• การผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ ก่อนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์
• ภาวะทุพโภชนาการ ไม่ว่าจะอ้วนเกินไป หรือผอมเกินไป
• การใช้ยาหรือวัคซีนบางชนิด
• การมีลักษณะมดลูกผิดปกติ เช่น เนื้องอกมดลูก มีผนังกั้นภายในมดลูก เป็นต้น
แท้งแล้วสามารถท้องเร็วที่สุดได้ตอนไหน
การที่จะกลับมาตั้งครรภ์ได้อีกหลังจากแท้งบุตรนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยและสาเหตุของการแท้ง รวมถึงการรักษาหรือการทำหัตถการของคนท้องค่ะ เช่น หากมีการแท้งสมบูรณ์ โดยไม่ได้มีการขูดมดลูก ก็สามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้เลย
อย่างไรก็ตาม แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำว่าควรเว้นช่วงการตั้งครรภ์ไปก่อนประมาณ 1-3 เดือน แล้วค่อยมีบุตรใหม่ค่ะ
ในกรณีที่มีการขูดมดลูก แพทย์จะแนะนำให้คุณแม่เว้นช่วงการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ไปอีก 3 เดือน หากมีการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกที่ต้องผ่าผ่านผนังมดลูกเข้าไป
อาจทำให้มีแผลที่กล้ามเนื้อมดลูก ดังนั้น แพทย์จะแนะนำให้ เว้นช่วงการตั้งครรภ์ครั้งใหม่ไปอีก 6-12 เดือนก่อนค่ะ
ดูแลตัวเองหลังแท้งบุตรอย่างไร
• หมั่นสังเกตตัวเอง โดยปกติเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอดจะลดลงเรื่อยๆ และหยุดไหลภายใน 1-2 สัปดาห์ อาการปวดท้องน้อยจะค่อยๆ บรรเทาลง หากพบว่าเลือดไม่หยุดไหล และมีชิ้นเนื้อหลุดปนออกมาทางช่องคลอด มีอาการปวดท้อง มีไข้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดจากการติดเชื้อขึ้นได้
• คุณแม่ควรเข้ารับการตรวจภายในและตรวจมะเร็งปากมดลูกและดูสุขภาพโดยรวม หลังการแท้งบุตร 2 สัปดาห์
•ตรวจร่างกายและเจาะเลือดเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ หากพบความผิดปกติควรรีบรักษาให้หายเป็นปกติก่อนมีการตั้งครรภ์
•งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือหากเกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกให้งดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ
•ฟื้นฟูสุขภาพจิตใจให้ดี หลีกเลี่ยงสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการทำงานหนักติดต่อกัน
• ในกรณีของผู้ที่แท้ง 2 ครั้งขึ้นไปหรือมีการแท้งซ้ำ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุของการแท้ง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกายหรือการตรวจภายใน ตรวจเลือด ถ่ายภาพเอกซเรย์ ตรวจอัลตราซาวนด์ หรือการส่องกล้องเข้าไปตรวจในโพรงมดลูกเพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น ปากมดลูกขยายตัวผิดปกติหรือไม่ หาพบความผิดปกติ ควรรีบรักษาก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป หลีกเลี่ยงการแท้งลูกที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
และที่สำคัญ อย่าลืมหันมาให้ความใส่ใจในเรื่องของโภชนาการ เตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นใหม่นั้น...เป็นการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุด
#วิธีดูแลตัวเองหลังแท้ง #สูตรครูก้อย
(แท้งครบ หรือ ขูดมดลูก หรือ ท้องนอกมดลูก)
*** ให้คุมกำเนิดสัก 3 รอบเดือนนะคะ ค่อยปล่อยท้อง ให้มดลูกฟื้นตัวก่อน ระหว่างนี้ทานโฟลิกต่อเนื่องนะคะ เพื่อลดภาวะตัวอ่อนพิการแต่กำเนิด ซึ่งคือสาเหตุหลักของการแท้งในไตรมาสแรก
เสริมด้วยโฟลิค และมัลติวิตามิน ตัวนี้ค่ะ (OvaAll วิตามินบำรุงไข่ตัวจบ สยบทุกปัญหาท้องยาก)
#เริ่มบำรุงกันตาม step เลยค่ะ
(1) ซุปไก่ดำตังกุยสด + โปรตีน Ferty ทานบำรุงได้เลยทันทีนะคะ **ผู้หญิงที่ขูดมดลูกทานได้เลยค่ะ ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ ให้ทานโปรตีนวันละ 2 ซอง
**เช๊คน้ำเปล่า หรือนมอัลมอนด์ไม่เย็นนะคะ (ใส่งาดำ + ธัญพืช Good Grain ธัญพืชพร้อมชง ได้เลย)
ส่วนซุปไก่ดำตังกุยสดตุ๋นเครื่องยาจีน เวฟร้อนๆ
ทานวันละ 2 ถ้วยเลยค่ะ บำรุงเลือด บำรุงมดลูก ช่วยขับเลือดตกค้าง
(2) น้ำมะกรูด รอให้เลือดที่ออกเยอะๆ หยุดก่อนค่ะ ค่อยดื่ม และเริ่มวันละ 1 SHOT ไปจนท้องใหม่
(3) แนะนำให้ดื่มชาดอกคำฝอย เพื่อขับล้างลิ่มเลือดค้างด้วยค่ะ เพื่อเคลียร์ผนังมดลูกให้สะอาด เริ่มดื่มเมื่อเลือดเยอะๆหนุดค่ะ ช่วงที่ออกกระปริบกระปรอยเริ่มได้เลย ดื่มยาวไปสัก 14 วัน ดื่มทั้งน้ำเคี้ยวทั้งดอก
(4) เริ่มทำ Castor oil pack เมื่อเลือดหมดสนิทเพื่อบำบัดดีท็อกซ์มดลูก แทนการอยู่ไฟ (หากอยู่ไฟร่วมด้วยได้จะดีค่ะ) ช่วงแรกของการแท้งทำสัก 5 ครั้งติดๆกันทุกวันค่ะ จากนั้นเว้นระยะ 2-3 วัน หนไปเรื่อยๆ สัก 3 เดือน (คุมกำเนิด 3 เดือน อย่าเพิ่งปล่อย)
(5) ดื่มขิงดำ + น้ำผึ้งชันโรง 1 แก้ว ก่อนนอนทุกคืน ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดี ลดการอักเสบติดเชื้อในมดลูก
(6) เมล็ดฟักทองทานวันละ 1 กำมือค่ะ มี Zinc และวิตามิน E จากธรรมชาติสูง ลดอัตราการแท้งในช่วงแรกของการฝังตัว
เมื่อผ่านจากเหตุการณ์แท้งไป 1 เดือน ก็เข้าสูตรการบำรุงตามคัมภีร์ตามปกติได้เลยค่ะ
ให้ทานตามคัมภีร์ค่ะ อาหาร 70% วิตามิน 30%
บำรุงไข่ 3 เดือนตามคัมภีร์ (สามีบำรุงสเปิร์มร่วมด้วย)
5 Keys to success...
เพิ่มโปรตีน
ลดคาร์บ
งดหวาน
ทานกรดไขมันดี
เน้นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (มากกกๆๆๆๆๆ)
เสริมวิตามินบำรุง
หลักการคือ = อาหาร 70% + วิตามิน 30%
งดหวานเด็ดขาด(ขนม เบเกอร์รี่ ผลไม้รสหวาน)
ลดคาร์บ ลดแป้ง
ลดเค็ม ของปรุงรสเยอะ
งดของแปรรูป
งดของสุกๆดิบๆ
งดไขมันทรานส์
งดชา กาแฟ คาเฟอีน น้ำอัดลม
งดแอลกอฮอล์
งดนมวัวแลคโตสสูง
งดอาหารกลูเต็น
นอนไม่เกิน 4 ทุ่ม
น้ำ 2-3 ลิตร (ไม่เย็น ดื่มเรื่อยๆ ตลอดวัน)
ออกกำลังกายด้วยการเดิน / โยคะ ไม่เวทหนัก
แท้งแล้วมีโอกาสแท้งอีกหรือไม่
ผู้ที่เคยแท้งเองมาก่อนจะมีโอกาสแท้งได้ในครรภ์ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเคยแท้งติดต่อกันตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ดังนั้น การตั้งครรภ์ครั้งต่อไป คุณแม่ควรรีบไปฝากครรภ์เสียแต่เนิ่นๆ และพักผ่อนให้มาก ส่วนผู้ที่เคยแท้งติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไป เรียกว่าภาวะแท้งซ้ำซากซึ่งมักจะมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของมดลูก หรือ เซลล์ไข่ไม่มีคุณภาพ หรือ ตัวอ่อนผิดปกติทางโครโมโซมควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขก่อนที่จะตั้งครรภ์ต่อไปค่ะ
อย่างไรก็ตาม การแท้งมักมีโอกาสเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หญิงที่เคยแท้งบุตรมาแล้วจึงยังสามารถตั้งครรภ์และคลอดได้สำเร็จในครั้งต่อไป และมีเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ที่แท้งบุตรติดต่อกัน 2 ครั้ง ส่วนการแท้งอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้งขึ้นไปนั้นมีอัตราการเกิดเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
ส่วนในกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุของการแท้งอย่างต่อเนื่องก็อย่าเพิ่งหมดหวังในการมีบุตร เพราะประมาณ 60-80 เปอร์เซ็นต์ของหญิงที่เผชิญปัญหานี้สามารถตั้งครรภ์ที่แข็งแรงได้ในที่สุดเช่นกันค่ะ
แม่ๆ คะการแท้งเกิดขึ้นได้ เมื่อแท้งแล้ว เราสามารถดูแล บำรุงร่างกายให้แข็งแรงพร้อมตั้งครรภ์ใหม่ได้ค่ะ อย่าเพิ่งท้อใจ สาเหตุหนึ่งจากการแท้งอาจมาจากเซลล์ไข่ที่ด้อยคุณภาพ หรือ โครโมโซมผิดปกติ ซึ่งแม่ๆ สามารถบำรุงไข่ให้แข็งแรงได้ด้วยโภชนาการที่ถูกต้อง ยิ่งไปกว่านั้นการทำเด็กหลอดแก้วก็เป็นทางหนึ่งที่ลดความเสี่ยงแท้งได้ค่ะ เพราะสามารถคัดโครโมโซมตัวอ่อนก่อนใส่กลับเข้าโพรงมดลูก เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ค่ะ
ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์
ผู้ก่อตั้ง BaByAndMom.co.th
เพจให้ความรู้ผู้มีบุตรยาก