คุณแม่ยุพเยาว์
รีวิวท้องธรรมชาติ
แม่ยุพเยาว์ อายุ 43 ปี จากนครราชสีมา
เคสนี้สุดยอดมาก ฝ่าฟันมาทุกกระบวนการจนท้องธรรมชาติในวัย 43 ปี! ฟังไมาผิดค่ะ ท้องเองค่ะ ในวัย 43 ปี
ปัจจุบันคลอด “น้องโบตั๋น” แล้ว 👧🏻 สมบูรณ์ แข็งแรงค่ะ
เส้นทางกว่าจะเป็นคุณแม่
- แต่งงานช้า ตอนอายุ 38 ปี
- นับวันไข่ตก ปล่อยเองตามธรรมชาติ แต่ยังไม่ท้อง
- เคย ทำ IUI ฉีดเชื้อเข้าสู่โพงมดลูก 2 ครั้ง ไม่สำเร็จ
- ทำ ICSI ครั้งที่ 1 ตอนอายุ 39 ได้ไข่ 11 ใบ
- ถึงบลาสต์ 4 ตัว (ไม่ได้ส่งคัดโครโมโซม) แบ่งใส่ตัวอ่อนที่มี 2 รอบ
ใส่ตัวอ่อนครั้งที่ 1 จำนวน 1 ตัว ไม่ติด
ใส่ตัวอ่อนครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัว ไม่ติด
- เหลือตัวอ่อน 1 ตัว ขอฟรีซไว้ก่อน
- ทำ ICSI ครั้งที่ 2 ตอนอายุ 40 เริ่มเข้ามาศึกษาเพจครูก้อย และบำรุงตามคัมภีร์ แต่ยังไม่จริงจัง
รอบนี้เก็บไข่ได้ 5 ใบ (ทั้งจำนวนฟองไข่และคุณภาพของเซลล์ไข่จะลดลงไปมากตามอายุของฝ่ายหญิง หากตั้งใจจะทำเด็กหลอดแก้ว ไม่ควรรอนานค่ะ จะทำต้องรีบทำเพราะจำนวนฟองไข่จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามอายุ โดยเฉพาะผู้หญิงอายุ 40 ไข่จะลดลงอย่างมาก)
ได้ตัวอ่อนระยะบลาสต์ 3 ตัว (ไม่ได้ส่งคัดโครโมโซมเช่นเดียวกัน)
-ใส่ตัวอ่อนครั้งที่ 3 จำนวน 2 ตัว ไม่ติด
กำลังจะใส่ครั้งที่ 4 จำนวน 2 ตัวแต่ท้องธรรมชาติก่อน ตอนอายุ 41
- แต่แท้งไปตอนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ เพราะโครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติ ซึ่งมาจากไข่ที่แก่ตามอายุ
- ทำ ICSI ครั้งที่ 3 ตอนอายุ 42
ครั้งนี้บำรุงตามคัมภีร์จริงจัง เพราะผิดหวังมาหลายรอบ ได้ตัวอ่อน 3 ตัว (ไม่ได้คัดโครโมโซมอีกแล้ว)
ใส่ครั้งที่ 4 จำนวน 1 ตัว ไม่ติด
ใส่ครั้งที่ 5 จำนวน 1 ตัว ไม่ติด
- เหลือตัวสุดท้าย แม่ตัดสินใจไม่ใส่แล้ว เพราะไม่ได้คัดโครโมโซม ใส่ไปก็อาจไม่ติดอีก
- แต่ก็ยังบำรุงตามคัมภีร์ครูก้อยมาอย่างต่อเนื่องเกือบปี ไข่สมบูรณ์ ผนังมดลูกแข็งแรง สวย บวกกับสเปิร์มคุณพ่อแข็งแรง ไข่ตกปุ๊บติดปั๊บ ประจำเดือนขาด ปรากฏว่า ท้อง น้องมาธรรมชาติค่ะ
👉หากผู้หญิงอายุเกิน 35 ต้องคัดโครโมโซมตัวอ่อนเท่านั้น!! ตัวอ่อนที่คัดผ่านเท่านั้นจึงย้ายกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูก เพราะอายุที่มากขึ้นจะส่งผลให้ตัวอ่อนมีความผิดปกติมากขึ้นซึ่งมีความผิดปกติมาตั้งแต่เซลล์ไข่
• ผู้หญิง 35 ไข่จะมีความผิดปกติทางโครโมโซมแล้ว 50%
• ผู้หญิงอายุ 37-38 ไข่จะมีความผิดปกติแล้วประมาณ 60%
• ผู้หญิงอายุ 40 ไข่จะมีความผิดปกติแล้ว 90%
ดังนั้นในเคสของแม่ยุพเยาว์อายุ 40 กว่าไข่มีความผิดปกติกว่า 90% ยกตัวอย่างเช่น ถ้าได้ตัวอ่อนระยะบลาสต์ 10 ตัว แล้วส่งคัดโครโมโซม ก็จะมีโอกาสคัดผ่านแค่ 1 ตัวเท่านั้น
แต่แน่นอนว่าตัวอ่อนระยะบลาสต์ของแม่ไม่ถึง 10 ตัว แน่นอน เพระคุณแม่เริ่มต้นมาที่ไข่น้อย เพียงแค่ 5-6 ใบห้าหกฟองต่อรอบในวัย 40
ดังนั้นโอกาสที่จะเจอตัวอ่อนที่ปกติน้อยกว่า 10% หากเราใส่ลุ้นไปเรื่อยๆ แบบไม่คัด เก็เท่ากับว่าใส่ตัวอ่อนที่ผิดปกติไปเรื่อยๆ จนเสียเวลา และอาจเสียกำลังใจ
ต้องทำให้จบทีละ step คือต้องคัดตัวอ่อนให้ผ่านก่อน แล้วค่อยใส่ คัดไม่ผ่านไม่ต้องใส่ให้กระตุ้นไข่ต่อเลย จะได้ไม่เสียเวลาเตรียมผนังมดลูก เสียเวลานอนพักหลังใส่ตัวอ่อน เพราะเราไม่รู้เลยว่า..ตัวอ่อนที่เราใส่ไปนั้น…ปกติหรือไม่?
หากตัวอ่อนผิดปกติ มันก็จะไม่ติดอยู่แล้วหรือถ้าติดก็จะหลุดฝ่อหรือแท้งไปในไตรมาสแรก ดังนั้นที่ผ่านมาแม่เสียเวลามายาวนานหลายปีเพราะไม่ได้คัดโครโมโซมตัวอ่อนแล้วเข้าสู่กระบวนการการใส่ตัวอ่อนเลย ทำซ้ำๆ แบบนี้จนท้อใจ เป็นการทำที่ผิดสเต็ป
แม่ยุพเยาว์ รู้ตระหนักถึงข้อนี้จึงตั้งใจเอาใหม่ บำรุงใหม่ แล้วรอบนี้จะคัดตัวอ่อนก่อนใส่ แต่ปรากฎว่า...น้องมาธรรมชาติเสียก่อนค่ะ 👶 มาแบบไม่ทันรู้ตัวเลย😊
จนกลายมาเป็นน้องโบตั๋น สาวน้อยที่เป็นโซ่ทองคล้องใจให้ครอบครัว
ที่ผ่านมาแม่เข้ากระบวนการทำลูกมายาวนาน หลายรอบ แต่ลืมโฟกัสที่ตัวเอง
ไม่เคยบำรุงไข่ไปก่อน แต่พอได้มารู้เพจครูก้อย ก็หันมาให้ความสำคัญกับ #การบำรุงไข่ และ #การเตรียมผนังมดลูก เตรียมตัวเองไปให้พร้อมก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทย์
💜เคสคุณแม่ยุพเยาว์ เคยให้สัมภาษณ์สดไว้ในรายการ #สักวันฉันจะเป็นแม่ EP.51