หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้คู่รักหลายคู่มีลูกยากก็คือการเลือกอาหารการกินที่ไม่เหมาะสำหรับการตั้งครรภ์ วันนี้ครูก้อยจะมาแนะนำอาหารคนท้องที่ทั้งหาทานง่ายและบำรุงร่างกายไปพร้อมๆ กัน ว่าแต่จะมีอะไรบ้าง ตามมาอ่านกันเลยค่ะ
1. โปรตีน
โปรตีนสำคัญในการช่วยบำรุงเซลล์และซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอ ผู้หญิงเตรียมตั้งครรภ์ควรทานโปรตีนให้เพียงพอเพื่อบำรุงเซลล์ไข่ให้อ้วนโต สร้างผนังมดลูกให้แข็งแรง โดยแหล่งโปรตีนที่มีประโยชน์ ได้แก่ โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง, งาดำ, ควินัว และโปรตีนจากสัตว์ เช่น ไข่, ปลา, นมแพะ, อกไก่ไม่ติดมัน เป็นต้น
2. ผักใบเขียว
ไม่ว่าจะเป็น ผักโขม, ผักคะน้า, บรอกโคลี ล้วนอุดมไปด้วยกรดโฟลิกช่วยสร้างและป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทของตัวอ่อน อีกทั้งช่วยซ่อมแซมพันธุกรรม, สร้างกรดอะมิโนที่ใช้แบ่งเซลล์, สร้างเม็ดเลือดแดงและขาวในไขกระดูกของลูกน้อย แคลเซียมมีส่วนช่วยป้องกันคุณแม่สูญเสียมวลกระดูกเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาโครงสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ และวิตามิน E ช่วยเร่งและเพิ่มอัตราไข่ตก, บำรุงครรภ์ อีกทั้งช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญควรทานวันละไม่ต่ำกว่า 400 กรัม หรือ 8/10 ส่วน ในรูปแบบกินเพียวๆ ทำเป็นยำ หรือปั่นเป็นน้ำผลไม้ เพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อการกินผักมากเกินไปและทำให้ร่างกายได้รับวิตามินที่เพียงพอต่อความต้องการด้วยนะคะ
3. อาหารทะเล
ปลาทะเล
เป็นแหล่งโปรตีนที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมอง, ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ได้ดี อีกทั้งสร้างสมดุลฮอร์โมนเพศอีกด้วย
หอยนางรม
อุดมไปด้วยสังกะสีและวิตามิน C, D, B12, ธาตุเหล็ก, เซเลเนียม และทองแดง ช่วยกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่สำหรับการตั้งครรภ์ ถ้าอยากให้เห็นผลควรทานก่อนวันตกไข่ 1 สัปดาห์ ทั้งนี้ควรนำมาปรุงสุกก่อน
4. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์สืบพันธุ์เสียหาย ช่วยชะลอความแก่ของเซลล์ทำให้ผิวดูเปล่งปลั่ง อีกทั้งช่วยให้ภาวะเจริญพันธุ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังช่วยป้องกันท้องผูกและป้องกันทารกมีภาวะสมองผิดปกติขณะตั้งครรภ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น สตรอว์เบอร์รี่, ราสเบอร์รี่
5. ถั่วเหลือง
อุดมไปโปรตีนชั้นดีจากถั่วเหลืองซึ่งช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อภายในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ผิวพรรณสดใส นอกจากนี้ยังบำรุงสมอง เพิ่มความจำ และเสริมโปรตีนให้ทารก ลดโอกาสเสี่ยงต่อการแพ้นมวัวต่อเด็กที่คลอดออกมาอีกด้วย นอกจากนี้ยังเพิ่มความสมบูรณ์ในความต้องการทางเพศของแม่ๆ และฟื้นฟูการผลิตไข่ให้กลับมาแข็งแรงมากขึ้น
แต่ที่ว่าคุณแม่มือใหม่หลายคนอาจเคยได้ยินความเชื่อผิดๆ ไม่ว่าจะเป็นการทานถั่วเหลืองมากๆ จะทำให้ได้รับสารอาหารครบตามต้องการแต่ที่จริงแล้วควรทานวันละ 25 กรัม (นมถั่วเหลือง 240 มล. หรือเต้าหู้ 90 กรัม) ก็เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตามคำแนะนำขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา หรือแม้แต่ความเชื่อที่ว่าการทานถั่วเหลืองอาจทำให้เป็นหมัน ในความจริงสารเจนิสตินที่มีอยู่ในถั่วเหลืองนั้นมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงน้อยมาก จึงไม่มีผลการตั้งครรภ์ทั้งก่อนและขณะตั้งครรภ์แต่อย่างใด
6. ข้าวกล้องและขนมปังจำพวกไม่ขัดสี
อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ผ่านการขัดสี ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดี เมื่อทานเข้าไปแล้วร่างกายจะใช้เวลาในการย่อยและดูดซึมนานกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่ผ่านการขัดสี ระดับน้ำตาลในเลือดจึงคงที่ ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่อง ช่วยให้อิ่มง่าย ไม่รู้สึกหิวง่าย อีกทั้งช่วยให้การทำงานของระบบย่อยอาหารและขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ได้แก่ ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลวีต และธัญพืช ทั้งนี้ควรเลือกและควบคุมปริมาณในการทานแต่ละครั้งให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
อีกเหตุผลสำคัญที่คุณแม่มือใหม่หลายคนควรรู้ คือการหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่ผ่านการขัดสีเป็นสิ่งจำเป็น เพราะคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้ถือว่าเป็นชนิดไม่ดี เพราะจะเพิ่มหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินเกณฑ์ ส่งผลไปรบกวนระบบการทำงานของฮอร์โมนเพศ
7. กล้วยหอม
อุดมไปด้วยน้ำตาลกลูโคส, ฟรุคโตส, ซุกโคส, กรดอะมิโน, ธาตุเหล็ก, เกลือแร่, โพแทสเซียม, เส้นใยอาหาร และวิตามิน B6 ซึ่งช่วยเสริมระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ไข่ของผู้หญิงแข็งแรงขึ้นและลดโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งลูก นอกจากนี้ยังเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงและอิ่มนาน ทั้งนี้ไม่ควรทานก่อนทานอาหารมื้อหลักเพราะจะทำให้ทานอาหารได้ไม่เยอะ ทำให้ลดโอกาสการรับสารอาหารต่างๆ ในมื้ออาหารอีกด้วย และควรทานทุกเช้าเพียงวันละ 1-2 ลูกเท่านั้น เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้ท้องอืดง่าย
8. มะเขือเทศ
อุดมไปด้วยวิตามิน C, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส รวมถึงไลโคปีนที่มีส่วนช่วยในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความหมองคล้ำ ทำให้ผิวพรรณสดใส อีกทั้งปรับสมดุลของร่างกายในการบำรุงไข่ให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์มากขึ้น นอกจากนี้หากทานในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย, บำรุงกระดูก, ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และป้องกันครรภ์เป็นพิษจากการติดเชื้อในกระแสเลือดเพราะปัญหาความดันโลหิตสูงจนทำให้คลอดก่อนกำหนดอีกด้วย แถมยังมีกากใยสูงช่วยย่อยอาหารและทำให้ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น
9. เมล็ดฟักทอง
อุดมไปด้วยวิตามิน A, B3, B6, E, เส้นใยอาหาร, โปรตีน, แคลเซียม และธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับมดลูก โดยธาตุเหล็กของเมล็ดฟักทองได้มาจากพืช จึงดูดซับได้ดีกว่าธาตุเหล็กจากสัตว์ ส่วนแร่ธาตุสังกะสียังช่วยบำรุงรังไข่ ทำให้ไข่พร้อมต่อการปฏิสนธิ, มีกรดไขมันดีที่ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศ และป้องกันปัญหาแท้งลูกในระยะเริ่มต้นของการตั้งครรภ์อีกด้วย
10. น้ำมะกรูด
หนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยบำรุงสุขภาพภายในของผู้หญิงที่มีมาตั้งแต่โบราณก็คือน้ำมะกรูดนั่นเอง ซึ่งน้ำมะกรูดอุดมไปด้วยสารเควอซิทิน ป้องกันภาวะไข่ฝ่อ แถมยังลดไขมันในเส้นเลือด, ฟอกเลือด, บำรุงเลือด, กำจัดเชื้อโรคหรือสารพิษภายในเลือด ส่วนวิตามิน C ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อทานน้ำมะกรูดเป็นประจำจะช่วยปรับให้แม่ๆ มีประจำเดือนมาเป็นปกติ และมีอาการปวดประจำเดือนน้อยลงด้วย ทำให้รังไข่และมดลูกแข็งแรง จึงผลิตไข่ที่มีประสิทธิภาพออกมาและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีสาร Bioflavonoids หรือวิตามิน P ช่วยป้องกันเซลล์ต่างๆ ขณะเตรียมฝังตัวอ่อนเพื่อทำ IUI, ICSI หรือ IVF
อย่างไรก็ตาม หากทานอาหารตามที่ครูก้อยแนะนำแล้วยังไม่ท้องสักที อาจเข้าข่ายภาวะมีบุตรยาก ชะล่าใจนะคะ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองการมีบุตรยาก เพื่อที่จะได้ทราบปัญหาและรักษาต่อไป การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้มีบุตรยากมีโอกาสได้มีเบบี๋สมใจนะคะ ที่สำคัญต้องกลับมาบำรุงก่อนเข้ากระบวนการทางการแพทย์ล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือน ก็จะเพิ่มโอกาสสำเร็จได้ด้วยค่ะ
บทความที่น่าสนใจ
Σχόλια